ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วิจัยวัคซีนโควิด-19 ขององค์การเภสัชฯและมหิดล ฉีดระยะ 2 ในอาสาสมัคร 18 คน

วิจัยวัคซีนโควิด-19 ขององค์การเภสัชฯและมหิดล ฉีดระยะ 2 ในอาสาสมัคร 18 คน Thumb HealthServ.net
วิจัยวัคซีนโควิด-19 ขององค์การเภสัชฯและมหิดล ฉีดระยะ 2 ในอาสาสมัคร 18 คน ThumbMobile HealthServ.net

องค์การเภสัชกรรมร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล วิจัยวัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 รวม 460 คน ประเดิมฉีดเข็มแรกในอาสาสมัครกลุ่มแรกก่อน 18 คน คาดปี 65 ยื่นขอทะเบียนตำรับและผลิตในระดับอุตสาหกรรม

วิจัยวัคซีนโควิด-19 ขององค์การเภสัชฯและมหิดล ฉีดระยะ 2 ในอาสาสมัคร 18 คน HealthServ

ฉีดวัคซีนโควิด19 เชื้อตายในมนุษย์ 18 คน

องค์การเภสัชกรรมร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล วิจัยวัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 รวม 460 คน ประเดิมฉีดเข็มแรกในอาสาสมัครกลุ่มแรกก่อน 18 คน คาดปี 65 ยื่นขอทะเบียนตำรับและผลิตในระดับอุตสาหกรรม
 
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 22 มี.ค.  ที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล  องค์การเภสัชกรรม(อภ.) ร่วมคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จัดงานแถลงข่าววัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตายขององค์การเภสัชกรรม เริ่มวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1-2 พร้อมให้กำลังใจอาสาสมัครที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกในการวิจัย
 
ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม  หัวหน้าโครงการวิจัย ศูนย์วัคซีน  คณะเวชศาสตร์เขตร้อน กล่าวว่า สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด19 ชนิดเชื้อตายในอาสาสมัครครั้งนี้เป็นการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 1 และ2 โดยเริ่มทดลองกลุ่มแรก 18 คน และในวันนี้(22 มี.ค.) ได้ฉีดในอาสาสมัคร 4 คน แบ่งเป็นช่วงเช้า 2 คน และช่วงบ่าย 2 คน โดยก่อนฉีดในอาสาสมัครมีการคัดเลือกตามเกณฑ์ต่างๆ อาทิ ไม่เคยป่วยโควิด19 ไม่ตั้งครรภ์ ฯลฯ โดยเมื่อฉีดวัคซีนแล้ว 30 นาทีแรกจะตรวจอาการข้างเคียง 1 รอบก่อน จากนั้นสังเกตอาการอีก 4 ชั่วโมงก่อนกลับบ้าน 

องค์การเภสัชกรรมพร้อมที่จะผลิตวัคซีนในทันทีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คาดว่าภายในปี 2565 จะขอรับทะเบียนตำรับและเริ่มผลิตวัคซีนได้ กำลังการผลิต 25-30 ล้านโดสต่อปี เบื้องต้นจากการทดลองในหลอดทดลองพบว่ารับรับสายพันธุ์ต่างๆ ได้ และได้ผลดีในสายพันธุ์แอฟริกาใต้
 
เมื่อถามถึงกรณีวัคซีนโควิดเชื้อตาย จะครอบคลุมเชื้อกลายพันธุ์แอฟริกาใต้หรือไม่  ศ.พญงพรรณี กล่าวว่า กำลังวิจัยอยู่ และต้องตรวจหาภูมิต้านทานที่กระตุ้นต่อวัคซีนนี้ จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันอย่างไร อย่างไรก็ตาม โดยโครงสร้างเราเชื่อว่า จะสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานกว้างขึ้น

Hfocus
21 มีนาคม 64

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด