ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สรุปแผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประเทศไทย ศบค.20 เมย 64

สรุปแผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประเทศไทย ศบค.20 เมย 64 Thumb HealthServ.net
สรุปแผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประเทศไทย ศบค.20 เมย 64 ThumbMobile HealthServ.net

จากสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 64 ซึ่ง คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมนี้ โดยเนื้อหาข้อ 3 เกี่ยวกับแผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการให้บริการวัคซีนฯ ดังนี้

สรุปแผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประเทศไทย ศบค.20 เมย 64 HealthServ
 

1) แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประเทศไทย พ.ศ. 2564

1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 2,500,000 โดส (เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2564)

1.1) จำนวน   200,000 โดส วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564*
1.2) จำนวน   800,000 โดส วันที่ 27 มีนาคม 2564*
1.3) จำนวน 1,000,000 โดส วันที่ 10 เมษายน 2564*
1.4) จำนวน 500,000 โดส ปลายเดือนเมษายน 2564*
 

2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 26,000,000 โดส (เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564)

2.1) จำนวน   6,000,000 โดส เดือนมิถุนายน 2564*
2.2) จำนวน 10,000,000 โดส เดือนกรกฎาคม 2564*
2.3) จำนวน 10,000,000 โดส เดือนสิงหาคม 2564*
 

3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 35,000,000 โดส (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564)

3.1) จำนวน 10,000,000 โดส เดือนกันยายน 2564*
3.2) จำนวน 10,000,000 โดส เดือนตุลาคม 2564*
3.3) จำนวน 10,000,000 โดส เดือนพฤศจิกายน 2564*
3.4) จำนวน 5,000,000 โดส เดือนธันวาคม 2564 *

* ช่วงเวลาที่วัคซีนถึงประเทศไทย

2) การจัดสรรจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19

ให้หน่วยบริการ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 2564 รวมจำนวน 1,043,589 โดส โดยได้จัดส่งวัคซีนของบริษัท Sinovac จำกัด ถึงหน่วยบริการเป้าหมายใน 77 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว จำนวน 957,429 โดส และจัดส่งวัคซีนของบริษัท AstraZeneca จำกัด ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 86,160 โดส

3) การให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19

ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ 77 จังหวัด  มีจำนวนยอดสะสมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 2564 รวมทั้งสิ้น 586,032 โดส จำแนกเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 510,456 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 75,576 ราย โดยจำแนกตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ ดังนี้
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19
รวมสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 15 เม.ย. 2564
เข็มที่ 1 เข็มที่ 2
1) บุคลากรสาธารณสุข (ราย) 206,250 33,521
2) เจ้าหน้าที่อื่น ๆ (ราย) 49,454 6,939
3) ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป (ราย) 26,256 13
4) ผู้ที่มีโรคประจำตัว (ราย) 22,545 5,046
5) ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง (ราย) 205,951 30,057
รวม (ราย) 510,456 75,576
 

4) แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19

ให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย ภายในปี 2564 (สามารถดาวน์โหลดตารางได้ที่เอกสารแนบไฟล์) 

5) ข้อเสนอแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด - 19 (Sinovac) จำนวน 1,000,000 โดส ในเดือนเมษายน 2564


เป้าหมาย การกระจายวัคซีน
1) ควบคุมการระบาดในพื้นที่สีแดง การกระจายวัคซีน 100,000 โดส
2) พื้นที่ 77 จังหวัด  
2.1) ประชาชนที่มีโรคประจำตัว การกระจายวัคซีน 147,200 โดส
2.2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน การกระจายวัคซีน 599,800 โดส
2.3) ตำรวจและทหารปฏิบัติงานด่านหน้า การกระจายวัคซีน54,320 โดส
3) สำรองส่วนกลาง การกระจายวัคซีน 98,680 โดส
รวม 1,000,000 โดส

6) ความเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ดังนี้

1) ควรเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ให้ครอบคลุมประชากรของ ประเทศและพิจารณาจัดหาวัคซีนทางเลือกชนิดอื่นเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด – 19) สายพันธุ์กลายพันธุ์จากต่างประเทศซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในหลายประเทศ เช่น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์บราซิล เป็นต้น รวมทั้งควรเตรียมความพร้อมระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการแพร่ระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2) ควรให้ความสำคัญในการชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับ
การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) วัคซีนที่ให้บริการในประเทศไทยมีคุณภาพและมีความปลอดภัย และ (2) การให้ประชาชนได้รับทราบแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 ที่ชัดเจน

3) ให้กระทรวงสาธารณสุขหาแนวทางในการให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการกระจายและฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน โดยอาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน หรือการให้องค์การเภสัชกรรมเป็นตัวแทนในการนำเข้าวัคซีนทางเลือก เพื่อให้โรงพยาบาลหรือหน่วยงานภาคเอกชนได้นำไปใช้ รวมถึงการขึ้นทะเบียนวัคซีนให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย
 

7)  ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 และรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาในการดำเนินงานตามแผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19

ทำเนียบรัฐบาล
20/4/2564

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด