ปัสสาวะรดที่นอน
ปัสสาวะรดที่นอนหายได้เองหรือไม่
ปัสสาวะรดที่นอนเป็นโรคที่พบบ่อยและหายได้เอง
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
ㆍมีอาการปัสสาวะผิดปกติช่วงกลางวัน เช่น ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ㆍมีประวัติความผิดปกติของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
ㆍมีอาการผิดปกติอื่นร่วม เช่น ดื่มน้ำเยอะผิดปกติ น้ำหนักลด
ㆍพัฒนาการช้า
เมื่อไหร่ถือว่าปัสสาวะรดที่นอนผิดปกติในเด็ก
ㆍ อายุมากกว่าเท่ากับ 5 ปี
ㆍ ปัสสาวะรดที่นอนมากกว่า 1 ครั้ง/เดือน และเป็นนานมากกว่า 3 เดือน
ปัสสาวะรดที่นอนภาวะปัสสาวะรดที่นอนพบได้บ่อยหรือไม่
ㆍ พบได้ 10% ในเด็กอายุ 7 ปี
ㆍ พบน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
ผลเสียของภาวะปัสสาวะรดที่นอนคืออะไร
ㆍ ขาดความมั่นใจในตนเอง
ㆍ การเรียนแย่ลง
ㆍ แยกตัวจากสังคม
ㆍ เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
สาเหตุ เกิดจากอะไร
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป
ปริมาณปัสสาวะมากช่วงกลางคืน
ตื่นนอนยาก
ปัจจัยที่พบร่วม เช่น
ㆍปัจจัยทางพันธุกรรม (พ่อ แม่มีประวัติปัสสาวะรดที่นอนตอนเด็ก)
ㆍเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
ㆍเด็กที่มีปัญหานอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
ㆍสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง
ㆍปัญหาการเรียนหรือความเครียดกังวล เช่น พ่อแม่หย่าร้าง มีน้องใหม่ ทะเลาะกับเพื่อน
การรักษา
ㆍสร้างแรงจูงใจและเตรียมความพร้อมให้เด็กอยากห้ายจากการปัสสาวะรดที่นอน
ㆍงดตำหนิ ล้อเลียน ลงโทษเด็ก
ㆍฝึกให้เด็กรับผิดชอบตัวเอง เช่น เปลี่ยนหรือทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนที่เปื้อนปัสสาวะ
ㆍชมเชย ให้กำลังใจ ติดดาว/ สติ๊กเกอร์ลงปฏิทินในวันที่ไม่มีปัสสาวะรดที่นอน (star chart) เพื่อให้แรงเสริมทางบวก
ㆍปัสสาวะก่อนเข้านอน
ㆍงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น โกโก้ ช็อคโกแลต ชา
ㆍลดการดื่มน้ำหรือนมก่อนนอน 2 - 3 ชั่วโมง
ㆍรักษาภาวะท้องผูก
ㆍการใช้เครื่องส่งเสียงเดือนเมื่อปัสสาวะเปียกเสื้อผ้า (alarm therapy)
ㆍการรับประทานยา เช่น desmopressin ยากลุ่ม anticholinergics ตามคำแนะนำของแพทย์
จัดทำโดย ชมรมโรคโตเด็กแห่งประเทศไทย