ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้ง่าย
1.คนที่มีบิดา – มารดา หรือญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นมากกว่าคนอื่น ๆ เพราะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
2.คนอ้วนมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าคนไม่อ้วนเนื่องจาก 80% ของโรคเบาหวานพบในคนอ้วน
3.มักเป็นกับคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
4.คนที่เครียดเป็นประจำ ความเครียดจะมีผลไปกระตุ้นให้มีการหลั่งของฮอร์โมนหลายตัวในร่างกายซึ่งขัดขวางการทำงานของอินซูลิน
5.คนที่เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของตับอ่อนหรือมีการอักเสบที่ตับอ่อนจากเชื้อไวรัส หรือยาบางชนิด
6.คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ สุราจะทำให้ตับอ่อนเสื่อมสมรรถภาพได้
เราสามารถจะทราบได้ว่าบุคคลใดเป็นโรคเบาหวาน โดยสังเกตอาการต่าง ๆ ดังนี้
1.กินจุ น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะมากและบ่อย คันตามผิวหนัง เป็นแผลรักษายาก หญิงที่แท้งบุตรง่าย ทารกตายในครรภ์ คลอดบุตรหัวโตน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม
2.วิธีตรวจเลือด เมื่อตรวจเลือดแล้วน้ำตาลสูงกว่า 115 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลิเมตร (ผู้จะตรวจเลือดควรงดอาหารทุกอย่างหลังเที่ยงคืน)
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีแนวโน้มจะเป็นโรคเบาหวาน ควรหาวิธีป้องกันไว้ดังนี้
1.ควบคุมน้ำหนักตัวให้ปกติ โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณและสัดส่วนพอเหมาะวันละ 3 เวลา โดยควรลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ทุกชนิด เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน และผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ขนุน ลำไย น้อยหน่า ละมุด มะม่วงสุก ลูกเกด มะขามหวาน โดยเฉพาะผลไม้กระป๋อง เช่น เงาะ ลิ้นจี่ องุ่น
- ลดเนื้อสัตว์ติดมันต่าง ๆ
- ลดอาหารประเภทไขมันที่ได้จากสัตว์
- ลดอาหารที่มีกะทิ
- เพิ่มอาหารประเภทผักให้มากขึ้นโดยเฉพาะผักประเภทใบและผักที่มีน้ำหนักมากเกินได้ไม่จำกัดจำนวน เช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง บวบ ตำลึง ต้นหอม กะหล่ำปี ฯลฯ
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับวัย
3.เมื่อเป็นเบาหวานแล้ว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายตามนัดและปฏิบัติตาคำแนะนำของแพทย์โดยรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่งอย่าหยุดยาหรือเพิ่มยาเอง
4.ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเท้าและซอกนิ้วเท้าถ้ามีบาดแผลเกิดขึ้นกับส่วนใดของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
เบาหวานเป็นโรคที่สารมารถป้องกันและลดการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
ถ้ารับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
ข้อมูลจาก รพ.พระมงกุฎฯ