1. เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งมาใช้ ให้ละลายน้ำนมแม่ที่แช่แข็งด้วยการนำมาใส่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน ( 12 ชม.) ถ้าลูกชอบแบบเย็นให้เขย่าไขมันที่แยกชั้นให้เท่ากัน แต่ถ้าลูกไม่ชอบให้นำนมมาอุ่นก่อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ในน้ำนมแม่
2. ไม่ควรปล่อยน้ำนมแช่แข็งละลายเองในอุณหภูมิของห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็วให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วจึงเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น
3.นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่ จะละลายเร็วกว่านมที่เก็บในภาชนะอื่น
4.น้ำที่ละลายแล้วสามารถนำเก็บในตู้เย็นได้ 24 ชม. นมที่เหลือจากการป้อนนมในขวด หรือถ้วยสามารถเก็บในตู้เย็นต่อไปได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
5.ไม่ควรนำน้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วกลับไปแช่ใหม่
6.สามารถผสมน้ำนมแม่ที่บีบหรือปั๊ม ใส่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อน แล้วภายใน 24 ชม. หลังจากการเก็บครั้งแรก
7.ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วัน หลังจากการปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็งในช่องแช่ปกติ ถ้าต้องการแช่แข็งให้แช่ภายใน 24-48 ชม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น)
8.น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว อาจมีกลิ่นหืนแต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากหรือมีรสเปรี้ยวจึงจัดว่าเสีย)
คำแนะนำในการเก็บรักษานมแม่ข้างต้น เป็นคำแนะนำทั่วๆไป ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ สิ่งใดก็ตามที่แตกต่างไปจากคำแนะนำดังกล่าว ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิของแต่ละครอบครัว ถ้ากังวลมากก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าคิดว่าน่าจะใช้ได้ ทดลองทำดู อาจจะใช้ได้หรือไม่ได้ เรียนรู้ไว้เป็นประสบการณ์
ขอบคุณข้อมูล ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย