ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เป็นสิว ดูแลอย่างไรดี

เป็นสิว ดูแลอย่างไรดี Thumb HealthServ.net
เป็นสิว ดูแลอย่างไรดี ThumbMobile HealthServ.net

สิวมีสองประเภทคือ สิวอุดตัน สิวที่ขึ้นใหม่ และ สิวอักเสบ มารู้จักการเกิดปัจจัยของสิว ข้อควรปฏิบัติในการรักษา สิว และข้อควรรู้

 
 
มารู้จักการเกิดปัจจัยของสิว
 
1.การเพิ่มการแบ่งตัวของผิวชั้น basal Keratinocytes ที่ผิดปกติ
 
2.การอุดตันของท่อ Pilosebaceous
 
3.การเพิ่มการสร้าง Sebum ที่เกี่ยวข้องกับ ฮอร์โมน Androgen
 
4.เกิดการย่อย Comedone โดยเชื้อ P.acne
 
5.การเกิดการอักเสบภายในรูขุมขนและต่อมไขมัน
 


ประเภทของสิว
 
1. สิวอุดตัน สิวที่ขึ้นใหม่ เม็ดเล็กสีขาว รีบรักษาให้หายในระยะนี้ไม่มีแผลเป็น
 
2.สิวอักเสบ เกิดจากสิวที่อุดตันและอักเสบจากภายในจากกรดไขมัน และเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นตุ่มแดง ตุ่มหนองหรือเกิดอาการบวมแดง ร้อน เจ็บ คล้ายฝี หรือเรียกว่าสิวหัวช้าง สิวชนิดนี้มักเกิดแผลเป็นตามมาภายหลัง และรักษายากกว่า
 
 
 ข้อควรปฏิบัติในการรักษา สิว และข้อควรรู้
 
1.ไม่ควรรีบร้อนในการรักษา เพราะสิวที่เป็นมากและรุนแรงต้องใช้ระยะเวลา โดยเฉพาะรอยแผลจากสิว อาจใช้เวลาถึง 6 เดือน
 
2.ไม่เช็ดหน้าแรงๆ หรือขัดถูหน้าแรงเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดสิวมากขึ้น
 
3.ล้างหน้าวันละ2ครั้ง ด้วยสบู่อ่อนๆ หรือโฟม และเครื่องสำอางที่ใช้ ไม่ก่อให้เกิดสิว (Non Comedone)
 
4.ไม่ลูบคลำหน้าหรือจับหน้าบ่อยๆ หรือบริเวณที่เป็นสิวบ่อยๆ รวมถึงการไม่บีบ แกะสิว
 
5.การอดนอน ความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้น มักทำให้สิวเห่อง่าย
 
6.ยาทา หรือยารับประทาน ควรใช้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมออย่าปรับยาเองหรือกินยาเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
 
7.เมื่อสิวหาย อย่าหยุดใช้ยาทันที ควรใช้อย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำ “อย่าปล่อยให้สิวเป็นมากเพราะอาจจะสายเกินแก้”
 
8.ฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้มากในช่วงอายุ 15-30 ปี อาจใช้ฮอร์โมนช่วยในการรักษา (Homonal Therpy) จากฮอร์โมน Estrogen
 
“สิวอักเสบและรุนแรงอาจต้องใช้ยาทั้งชนิดทาและรับประทานร่วมกัน”
 
ทางการแพทย์เชื่อว่า การรักษาสิวอักเสบและรุนแรงได้ผลดีที่สุด คือยารับประทานยากลุ่ม Retinoid อย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด