ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS

การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS HealthServ.net
การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS ThumbMobile HealthServ.net

โครงการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉิน ประจำปี 2565 โดย ศูนย์เอราวัณ สำหรับผู้ปฏิบัติการเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และมูลนิธิ จำนวน 200 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ พัฒนาองค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของ "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" ในกรุงเทพ

การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS HealthServ
5 ก.ย. 65 ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดโครงการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉิน ประจำปี 2565 ในหัวข้อ "การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS" จัดโดย ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ โดยมี พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และคณะ พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักการแพทย์ และผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ร่วมพิธี ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 โรงแรมเอส ดี อเวนิว เขตบางพลัด


          โครงการ "การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS"  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีในอนาคต รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและบุคลากร สู่ความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 


          กลุ่มเป้าหมายเป็นแพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และมูลนิธิ จำนวน 200 คน
 
 
          กล่าวถึงความก้าวหน้าในงานด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน  สำนักการแพทย์ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลและระบบต่างๆ มาใช้ หลายรูปแบบ อาทิ
  • แอปพลิเคชัน "Erawan 1669" โดย ศูนย์เอราวัณ  [ดาวน์โหลดได้ที่ Google play] เพื่อให้ประชาชนใช้แจ้งเหตุฉุกเฉินได้  แอปยังสามารถใช้ประเมินอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยฉุกเฉิน  คัดแยกรหัสอาการของผู้ป่วย และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเบื้องต้นแก่ญาติหรือผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ก่อนที่ทีมปฏิบัติการจะไปถึง ได้  ซึ่ง หากผู้ป่วยหรือญาติสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต หรือความพิการจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นได้ 
  • พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านระบบโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine เชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านแอปพลิเคชัน "หมอ กทม."
  • แอป  "หมอ กทม." เป็นแอปสำหรับ การสื่อสารระหว่าง คนไข้กับแพทย์ ด้วยเสียงและภาพ เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยคนไข้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น  (แอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ใช้บริการโรงพยาบาล ในเครือของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร)

 
 
 
 
การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS HealthServ
 
การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS HealthServ

แอป EMS1669 LINK

แอป EMS1669 การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS
แอป EMS1669 การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS
ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ประกอบด้วย
- รับแจ้งเหตุผ่าน 1669 โดยมีการส่งข้อมูลได้แก่ ชื่อ-สกุล, หมายเลขโทรศัพท์, อีเมล, เพศ, ปีเกิด หรือ ข้อมูลส่วนตัวเช่น โรคประจำตัว,การแพ้ยา เป็นต้น
- ระบุพิกัดที่เกิดเหตุ (latitude, longitude)
- ส่งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ 

แอป หมอ กทม. LINK

แอป หมอ กทม. การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS
แอป หมอ กทม. การแพทย์ฉุกเฉินแห่งโลกอนาคต Metaverse in BangkokEMS
บริการสำคัญในแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.”
 
• ตรวจรักษาออนไลน์ ด้วยระบบโทรเวชกรรม (Tele-medicine) โดยสามารถตรวจรักษา ติดตามอาการ ตลอดจนได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแพทย์ผ่านระบบวีดีโอคอล (VDO Call) โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ผู้ใช้บริการสามารถรับยาผ่านไปรษณีย์ หรือรับด้วยตนเองที่ร้านยาใกล้บ้าน
 
• แจ้งเหตุฉุกเฉินกับศูนย์เอราวัณ รับการช่วยเหลือเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โดยระบบจะประสานงานไปยังหน่วยงานที่อยู่ใกล้เคียงพิกัดของผู้ใช้งาน ณ ขณะแจ้งเหตุผ่าน แอปพลิเคชัน เพื่อส่งทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเข้าไปให้การช่วยเหลือ ดูแลรักษา และนำส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป
 
• ตรวจสอบประวัติการรักษา เชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลกับระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Personal Health Record: PHR) ทั้งผลวินัจฉัยโรค ประวัติการแพ้ยา/วัคซีน ประวัติรับยา ผลแล็บ การผ่าตัด ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับบริการจากสถานพยาบาลอื่นได้อย่างสะดวก โดยสามารถเรียกดูข้อมูลการรักษาได้เองโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ก็ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนประกอบการรักษา
 
• บริการทั่วไป เช่น นัดหมายแพทย์ล่วงหน้า ตรวจสอบจำนวนคิวรอตรวจ การชำระเงิน ตรวจสอบสิทธิ์รักษา ลงทะเบียนตรวจรักษา ฯลฯ
 
ฟีเจอร์เด่นบนแอปพลิเคชัน
 
• ฟีเจอร์ นัดหมายพบแพทย์ – ตรวจสอบรายการนัดหมาย แจ้งเตือนการนัดหมาย และกดรับบัตรคิวในแอป
 
• ฟีเจอร์ ตรวจสอบสิทธิ์ – สามารถตรวจสอบสิทธิ์การรักษาพยาบาล อาทิ สิทธิ์บัตรทอง สิทธิ์ประกันสังคม และ สิทธิข้าราชการ
 
• ฟีเจอร์ Telemedicine – ตรวจรักษาออนไลน์ พร้อมบริการจัดส่งยาที่ร้านยาใกล้บ้าน หรือทางไปรษณีย์
 
• ฟีเจอร์ ตรวจสอบสถานะคิวตรวจ – แจ้งลำดับคิว และขั้นตอนการใช้บริการในโรงพยาบาล
 
• ฟีเจอร์ ลงทะเบียนตรวจรักษา – บริการลงทะเบียนตรวจรักษาโรค
 
• ฟีเจอร์ แจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน – บริการแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน พร้อมแชร์โลเคชันเพื่อขอรับการช่วยเหลือจากศูนย์เอราวัณ
 
• ฟีเจอร์ ชำระเงิน – สามารถชำระค่ารักษาพยาบาลผ่านช่องทาง K PLUS โอนเงินผ่าน Thai QR Code หรือชำระผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต (โดยพัฒนาเสร็จเดือน มิ.ย. 65)
 
(ในระยะแรก แอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” จะเปิดให้ใช้บริการนัดหมายออนไลน์สำหรับโรงพยาบาลกลาง และจะสามารถใช้บริการเต็มรูปแบบใน 11 โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน . โรงพยาบาลคลองสามวา และโรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ภายในเดือนมีนาคม 2565)
 
***โดยลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น และลงชื่อในใบยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้โรงพยาบาลที่ใช้บริการในครั้งแรกของการใช้แอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” *** 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด