ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

81 ปี กรมการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

81 ปี กรมการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Thumb HealthServ.net
81 ปี กรมการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ThumbMobile HealthServ.net

ก้าวสู่ปีที่ 81 กรมการแพทย์ และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมเดินหน้าแผนปฏิบัติราชการตามนโยบายมุ่งเป้าระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)

81 ปี กรมการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ HealthServ
 ก้าวสู่ปีที่ 81กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมเดินหน้าแผนปฏิบัติราชการตามนโยบายมุ่งเป้าระยะ 5 ปี(พ.ศ. 2566 – 2570) ภายใต้วิสัยทัศน์“เป็นองค์กรหลักในการจัดหาบริการทางการแพทย์แบบองค์รวมระดับชาติเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน” ประเดิมเป้าหมายปี 2566 ด้วยผลงานการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)การจัดระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงครบวงจร,การใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์ การพัฒนารูปแบบและระบบบริการทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงอย่างครบวงจรไร้รอยต่อ


 
               นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่าปีพ.ศ. 2566 นี้เป็นปีครบรอบ 81 ปีของการสถาปนากรมการแพทย์และเป็นโอกาสดีที่จะเริ่มต้นแผนปฏิบัติราชการในระยะ 5 ปี ข้างหน้า(พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์สุขภาพที่ท้าทาย ทั้งที่ผ่านมา ที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันรวมทั้งแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีความผันผวนอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น เพื่อสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าวทั้งเชิงรุก-เชิงรับ ในปี 2566 นี้กรมการแพทย์จะนำสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เกิดการดำเนินงาน/ชีวิตวิถีใหม่  ที่ทุกภาคส่วนตระหนักในบริบทและการพยากรณ์ระบบงานที่เกี่ยวข้องทุกด้าน มาเป็นบทเรียนในการดำเนินการ ด้วยการกำหนดนโยบายมุ่งเน้น 7 ประเด็น ได้แก่ 1.การปฏิรูปองค์การด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) 2.การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม(Healthy Ageing) 3.การจัดบริการทางการแพทย์แบบครบวงจร(Seamless Comprehensive Healthcare) 4.กัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis) 5.การจัดบริการด้านการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) 6.ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน(EMERGENCY & DISASTER & EID) 7.บุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น (HR Transformation)
 
 
               ทั้งนี้เป้าหมายปี 2566 มีเรื่องหลักๆที่ต้องดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1. ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ทุกแห่งมีระบบ DMS Telemedicine ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ในการนำส่งบริการจากโรงพยาบาลไปถึงบ้านของประชาชน เพิ่มในแผนกผู้ป่วยนอกและคลินิกเฉพาะทางและมี Model ขยายไปสู่เขตสุขภาพที่สนใจ  2.ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง ครบวงจรไร้รอยต่อโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์มีคลินิกผู้สูงอายุ จัดทำมาตรฐานและส่งเสริมการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลภูมิภาค 3. กัญชาทางการแพทย์ มีการศึกษาวิจัยพัฒนาขยายผลการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์สู่บริการทางการแพทย์ในหลากหลายกลุ่มโรค จัดทำแนวทางการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการเพื่อเอื้อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการกัญชาทางการแพทย์ได้ง่ายยิ่งขึ้น  ผลักดันกัญชาทางการแพทย์เข้าชุดสิทธิประโยชน์ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการให้-รับการรักษา ส่งเสริมผลิตภัณฑ์กัญชาเชิงพาณิชย์ที่มีแหล่งอ้างอิงถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพ 4. Model ระบบบริการทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงอย่างครบวงจร ไร้รอยต่อ มีการสร้าง model สำหรับเขตสุขภาพนำไปเป็นต้นแบบ โดยปี2566 มุ่งเน้น 5 ภาวะโรคสำคัญ อาทิ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน/ Stroke STEMI  อุบัติเหตุ/ER   มะเร็ง/Cancer CKD หรือ Cancer Anywhere พัฒนารูปแบบการรักษาและระบบบริการผู้ป่วยโรคมะเร็งให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลทุกที่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็วลดระยะเวลารอคอย สามารถไปรับการรักษาได้โดยไม่ต้องใช้หนังสือส่งตัวในการรับรองสิทธิ์ รวมทั้งพัฒนาระบบบริการโรคไตหรือ Hemodialysis Anywhere อีก 1 กลุ่มโรคสำคัญ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงได้ทุกที่
 
 
               เป้าหมายและผลการดำเนินตามนโยบายระยะยาว
 
               เป้าหมายที่1: มุ่งเน้นให้เกิดการแพทย์ที่สมคุณค่าโดยการนำผลงานวิชาการทางการแพทย์ไปใช้อ้างอิงทางการแพทย์ และการให้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยเป็นรูปแบบใหม่อย่างสมบูรณ์ “การนำการแพทย์จากโรงพยาบาลไปสู่บ้านประชาชน แบบครบวงจรอย่างไร้รอย” ทั้งด้านการรับ-การส่งต่อ การเข้าถึงบริการเบื้องต้นได้ทุกที่โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล
 
               เป้าหมายที่2:ระบบบริการทางการแพทย์ส่วนบุคคลด้วยการสร้างระเบียนสุขภาพส่วนบุคคลให้เกิดเป็นรูปธรรมทั่วทั้งประเทศ ที่ขับเคลื่อนด้วยการแพทย์เฉพาะทางที่ได้คุณภาพมาตรฐานและการใช้ระบบ digital technology assisted service และนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่ทันสมัยคุ้มค่า คุ้มทุน เสริมบริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ของประเทศไทย ที่ผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาลหากไม่จำเป็นและทำให้บริการทางการแพทย์ต้องไม่สะดุด  การให้บริการทางการแพทย์แม่นยำ(Precision Medicine)การวินิจฉัย การป้องกันและการรักษาโรคที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคล อาศัยข้อมูลเชิงลึกทางพันธุกรรม ลงลึกระดับDNA เน้นการรักษาที่กลไกการเกิดโรคของแต่ละบุคคล สามารถลดผลข้างเคียงของการรักษาได้ดีกว่าและมีความแม่นยำกว่า รวมไปถึงรองรับการขยายการให้บริการทางการแพทย์ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere) ที่ครอบคลุมภาระโรคและพื้นที่ต่อไป
 
                เป้าหมายที่ 3 : กรมการแพทย์จะเป็นองค์กรสมรรถนะสูงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์หรือที่เรียกว่า COE สามารถเป็นหลักในระดับการแพทย์เฉพาะทางของประเทศ   มีระบบการบริหารจัดการเป็นระบบดิจิทัลที่ทันสมัย พร้อมให้บริการ อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เชื่อมโยงทุกระบบที่เกี่ยวข้อง  บุคลากรสมรรถนะสูง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน มีความผูกพันองค์กร และมีความสุข 
 
               “ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินตามนโยบายในระยะสั้นหรือระยะยาว เป้าหมายสำคัญก็คือประชาชนต้องได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาค ทั่วถึงและ เท่าเทียม” อธิบดีกรมการแพทย์กล่าว
81 ปี กรมการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ HealthServ
 

ครบรอบ 81 ปี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


10 มีนาคม 2566  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดงานวันสถาปนากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครบรอบ 81 ปี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธี พร้อมปาฐกถาพิเศษ และมอบโล่รางวัลและประกาศนียบัตรแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น คนดีศรีกรม และบุคลากรดีเด่น โดยมี คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งอดีตผู้บริหารและข้าราชการ เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.นนทบุรี
 
 นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ  การพัฒนาระบบคุณภาพตามาตรฐานสากลของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยในประเทศไทย การตรวจวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อแจ้งเตือนภัยและคุ้มครองสุขภาพของประชาชน นับจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 จนในปีนี้ครบรอบ 81 ปี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของประเทศมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งการพัฒนาห้องปฏิบัติการทั่วประเทศให้เป็นเครือข่ายช่วยตรวจการติดเชื้อ ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการค้นหาผู้ติดเชื้อในทุกพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว การถอดรหัสพันธุกรรมและติดตามการกลายพันธุ์ การตรวจสอบคุณภาพวัคซีน ตลอดจนการศึกษาวิจัย พัฒนาชุดตรวจกัญชา เพื่อสนับสนุนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ เป็นต้น แม้การทำงานส่วนใหญ่จะอยู่เบื้องหลังแต่ก็สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนดูแลสุขภาพประชาชน ตลอดจนสร้างนวัตกรรมสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ให้กับประเทศ และยังคงวิจัยพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนและเป็นประโยชน์สู่ประเทศชาติ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม 
 
 
81 ปี กรมการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ HealthServ
 
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนางานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งเพื่อการสนับสนุนการวินิจฉัยและรักษาโรคและเพื่อการคุ้มครองประชาชนด้านสุขภาพ มีความจำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมพัฒนางานวิชาการตลอดเวลา ให้งานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์คงไว้ซึ่งความเป็นมาตรฐาน ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และสากล มีความทันสมัย และสนับสนุนให้นวัตกรรมที่พัฒนาถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อระบบสุขภาพ โดยการถ่ายทอดหรือต่อยอดต่อไป
 
 
“สำหรับการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครบรอบ 81 ปี ช่วงเช้ามีพิธีทำบุญและถวายสังฆทานแก่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป พิธีมอบโล่รางวัลและประกาศนียบัตรแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น คนดีศรีกรม และบุคลากรดีเด่น ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 30 ราย และในช่วงบ่ายมีกิจกรรมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Open House Online อาทิ ห้องปฏิบัติการตรวจกัญชาในอาหาร ห้องปฏิบัติการศูนย์พิษวิทยา การตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด ห้องปฏิบัติการกีฏวิทยาทางการแพทย์ และห้องปฏิบัติการสัตว์ทดลอง เป็นต้น นอกจากนี้ได้จัดช่องทางในรูปแบบออนไลน์และการถ่ายทอดสดผ่านเพจ Facebook กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจได้รับชมงานและร่วมแสดงความยินดีอีกด้วย” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด