บทนำ: การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความเข้าใจของเยาวชน
ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ที่สูบบุหรี่ เริ่มสูบตั้งแต่ยังเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว ผู้ใช้ยาสูบตลอดชีวิตมีแนวโน้มที่จะติดบุหรี่ก่อนอายุ 21 ปี
อุตสาหกรรมยาสูบ (ต่อไปในบทความนี้จะเรียกว่า อุตสาหกรรม) ยังคงอยู่ และเดินหน้าเข้าหาเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างกลุ่มผู้สูบรายใหม่ๆ มาทดแทนที่เลิกหรือตายดับไป
และ พวกเขาเดินหน้ากำชัยชนะในสมรภูมินี้ต่อเนื่อง
จากรายงาน มีเด็กอายุ 13-15 ปี ราว 37 ล้านคนใช้ยาสูบ [1] และข้อมูลทั่วโลก (จากในประเทศที่สามารถวัดได้) ชี้ชัดว่า การใช้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของอุตสาหกรรม (บุหรี่ไฟฟ้า) นั้น แพร่หลายในหมู่คนหนุ่มสาวมากกว่าในกลุ่มผู้สูงวัยกว่า
ในรายงานของ WHO ภูมิภาคยุโรป ชี้ว่า บุหรี่ไฟฟ้ากำลังได้รับความนิยม แซงหน้าบุหรี่ธรรมดา โดย 32% ของผู้ตอบแบบสำรวจอายุ 15 ปี พบว่ามีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าบ้าง และมีถึง 20% ที่ระบุว่าใช้ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา [2]
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่อุตสาหกรรมใช้เพื่อดึงดูดเยาวชน มีการขยายตัวอย่างมาก ตั้งแต่ บุหรี่ ซิการิลโล (cigarillos) และ ชิชา (shisha) ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า ยาสูบแบบใช้ความร้อน ผลิตภัณฑ์ถุงนิโคติน ผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งสีกลิ่นรส และ สารเติมแต่ง ผนวกกับ การออกแบบที่ทันสมัย การทำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเด็กจะชอบ (child-friendly packaging) ไปจนถึงการทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าดึงดูดยิ่งขึ้น การเร่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สู่ตลาดอย่างรวดเร็ว ทั้งที่อยู่ หรือไม่อยู่ ใต้ข้อกฎหมายปัจจุบัน ก็ตาม เหล่านี้แสดงถึงความพยายามใช้ทุกวิถีทางที่มีอยู่ เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด ก่อนที่กฎระเบียบสามารถจะไล่ตามทัน
แกะกลยุทธ์การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์
กลยุทธ์ของอุตสาหกรรม ใช้การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคติน ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ "ปลอดภัย" มากกว่า "บุหรี่" ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น ให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้บริโภค ไขว้เขว จากข้อเท็จจริงที่ว่า ตัวสารนิโคตินเองนั้น เป็นสารเสพติดและเป็นอันตราย โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน
ตัวอย่างเช่น บุหรี่ไฟฟ้าที่มีสารนิโคตินเป็นสารเสพติดสูง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ในขณะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ก็มันก่อให้เกิดสารพิษขึ้นจริง ซึ่งบางชนิดก็ทราบกันดีอยู่ว่า ทำให้เกิดมะเร็ง และบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และ ความผิดปกติของปอด การใช้บุหรี่ไฟฟ้ายังส่งผลต่อพัฒนาการสมอง ที่อาจนำไปสู่ความผิดปกติของคนหนุ่มสาวในด้านการเรียนรู้และก่อให้เกิดความวิตกกังวลได้ [3]
กลยุทธ์ธุรกิจยาสูบในการดึงดูดคนหนุ่มสาวและรักษาการเติบโต ได้แก่ :
- เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งมักมีรสชาติและดีไซน์ที่เหมาะกับเด็กตั้งแต่การ์ตูนตัวละครไปจนถึงการออกแบบที่ทันสมัยและมีเทคโนโลยีสูง
- ทำการตลาดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใกล้โรงเรียน แสดงในระดับสายตาของเด็กใกล้กับของขบเคี้ยว ขนมหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- ทำการตลาดผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในพื้นที่ดิจิทัล ได้แก่ โซเชียลมีเดีย บริการสตรีมมิ่ง และแพลตฟอร์มเกมและได้รับการรับรองจากผู้มีอิทธิพลและดารา
- สนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งเน้นเยาวชน รวมทั้งกีฬา กิจกรรมและคอนเสิร์ต ตลอดจนโปรแกรมของโรงเรียน
- ลดราคาบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง โดยมีส่วนร่วมโปรโมชั่น “ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง” และจำหน่ายซิงเกิล บุหรี่แท่งจึงมีราคาไม่แพงสำหรับเด็กและเยาวชน
- แจกตัวอย่างหรือสิ่งของ ที่มียาสูบหรือชื่อแบรนด์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
- มองข้ามการรับรู้ถึงการเสพติดและ ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
- กฎระเบียบที่ขัดแย้งกันที่จะลดความต้องการยาสูบและผลิตภัณฑ์นิโคติน รวมถึงเยาวชน
- ให้ทุนแก่กลุ่มแนวหน้าและพยายามดำเนินกิจกรรม ที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพื่อให้เยาวชนมีการรับรู้เชิงบวกต่ออุตสาหกรรมมากขึ้น
น่าเศร้าที่กลยุทธ์เหล่านี้ใช้ได้ผล หลักฐานจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าเด็กเยาวชน ได้ซึมซับรับรู้ ถึงผลิตภัณฑ์อย่าง บุหรี่ไฟฟ้า มากขึ้น อุตสาหกรรมยาสูบกำลังประสบความสำเร็จในความพยายามที่จะสร้างนักสูบรุ่นใหม่ ที่สูบบุหรี่ สูบบุหรี่ไฟฟ้า ดูดถุงนิโคติน (suck nicotine pouches) หรือ ใช้ยานัตถุ์ (snuff)
1.อุตสาหกรรมนี้ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดเด็ก และทำการตลาดอย่างจริงจัง
ย้อนหลังไปถึงทศวรรษ 1970 เอกสารภายในของอุตสาหกรรมยาสูบ แสดงให้เห็นว่า บริษัทยาสูบมองเด็กและเยาวชนเป็น "ผู้สูบบุหรี่ทดแทน" "ผู้สูบบุหรี่ก่อนวัย" (ผู้สูบหน้าใหม่ - ผู้แปล) เป็นตลาดที่สำคัญ ที่จะช่วยรักษาธุรกิจและอนาคตของแบรนด์ของพวกเขาไว้ได้
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องขยายตัวมากขึ้น ทั้งสินค้า ช่องทางการสื่อสารและ ช่องทางการจำหน่าย เหล่านี้ คือตัวช่วยชั้นดี ที่ทำให้พวกเขาเข้าถึงเยาวชนได้มากขึ้นกว่าเดิม มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง อย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดเด็กและเยาวชน รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบใช้ความร้อน (Heated tobacco products - HTPs หรือ Heat Not Burn Tobacco (HNB) ผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผลิตละอองที่มีนิโคติน และ สารเคมีอื่นๆ ใช้การสูบเข้าทางปากเลียนแบบการสูบบุหรี่ปกติ) ผลิตภัณฑ์ยาสูบถุงนิโคติน (Nicotine Pouches) และบุหรี่ไฟฟ้า
บริษัทต่างๆ ออกแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ดึงดูดใจเยาวชน ควบคู่การทำการตลาดเชิงรุก ผ่านสื่อดิจิทัล ที่สามารถพุ่งเป้าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย โดยตรงแม่นยำ
แพลตฟอร์มดิจิทัลมีความซับซ้อนในการตรวจสอบ เฝ้าระวังและควบคุม ทำให้อุตสาหกรรมมีกลยุทธ์เทคนิคมากมาย ที่จะเลี่ยงหลบหลีกข้อกฏหมายไปได้ อย่างเช่น กฏหมายที่การห้ามการโฆษณายาสูบ การส่งเสริมการขาย และการสนับสนุน (tobacco advertising, promotion and sponsorship - TAPS) ใดที่พุ่งเป้าโดยตรงกับคนหนุ่มสาว แม้กระทั่ง ขายตรงให้กับพวกเขา
และนั่นส่งผลกระทบชัดเจน: ดูได้จากผลสำรวจในกลุ่มเด็กอายุ 15–30 ปี ใน 4 ประเทศที่จำกัดการโฆษณาบุหรี่ พบว่า 85% เคยเห็นการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าบนแพลตฟอร์มสื่อต่างๆ และ การมองเห็นสื่อที่สูงขึ้นนี้ สอดคล้องกับอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย [4]
โฆษณาอุตสาหกรรมยาสูบเข้าถึงเยาวชนหลายล้านคนบน Instagram เฟสบุ๊ค เอ็กซ์ และติ๊กต๊อก
ตามรายงานของแคมเปญรณรงค์เพื่อเด็กปลอดยาสูบ #SponsoredByBigTobacco เนื้อหาที่ส่งเสริม บุหรี่ไฟฟ้า ถุงนิโคติน และผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบใช้ความร้อนจาก British American Tobacco (BAT) และ Philip Morris International มีผู้เข้าชมมากกว่า 3.4 พันล้านครั้งบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยที่ เนื้อหาทางการตลาดของทั้งสามแบรนด์ ได้แก่ Vuse, Velo และ IQOS เข้าถึงเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี มากกว่า 150 ล้านคน [13]
การออกแบบผลิตภัณฑ์และรสชาติ
อุตสาหกรรมได้เร่งเปิดตัวและทำการตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีการปรุงแต่งรสชาติหลากหลาย และขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วทั้งภูมิภาคในช่วงหลายปีที่ผ่านมา งานวิจัยยืนยันว่า
รสชาติ เป็นเหตุผลหลัก ที่ดึงดูดใจให้เยาวชน อยากลองใช้บุหรี่ไฟฟ้า และนิโคตินและยาสูบอื่นๆ [5, 6]
ในกรณีที่ไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมาย ยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ใน หลากหลายรสชาติ เช่น ผลไม้และขนมหวาน และมีให้เลือกกว่า 16,000 รสชาติ
อุตสาหกรรมพบวิธีหลีกเลี่ยงการห้ามใช้รสชาติ
อุตสาหกรรมหลบเลี่ยงข้อห้ามการขายบุหรี่ปรุงแต่งรสชาติ ด้วยการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยยังคงรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูดเช่นเดิมไว้ หรือไม่ก็เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่ๆ อย่างแคปซูลรส หรือ บุหรี่แพ็ค มาเป็นส่วนเสริม การทบทวนงานวิจัยที่มีอยู่อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับ บุหรี่แคปซูลที่มีรสชาติ พบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เกี่ยวข้องกับคนหนุ่มสาว ดังนี้ [7]
- แบบสำรวจที่มุ่งเน้นเยาวชนชี้ว่า พวกเขาชอบ "รสชาติ" มากกว่า "ผลิตภัณฑ์" : การสำรวจยาสูบในกลุ่มเยาวชนแห่งชาติประจำปีของสหรัฐอเมริกา ปี 2023 [8] และการศึกษาเยาวชนในปี 2022 ออสเตรเลีย [9] พบว่าในปัจจุบัน เกือบ 9 ใน 10 ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปรุงแต่งรสชาติ
- รสชาติทำให้เยาวชนติดใจ: งานวิจัยอื่นๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามากกว่า 70% ของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ารุ่นเยาว์จะเลิกใช้หากผลิตภัณฑ์นั้น มีเฉพาะรสยาสูบเท่านั้น [10]
ผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า จะผลิตสินค้าในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ ออกแบบที่มีลักษณะคล้ายของเล่น ลูกอมหรือเครื่องดื่มที่เหมาะกับเด็ก ใช้ตัวการ์ตูน หรือ ออกแบบล้ำสมัยในรุ่นจำนวนจำกัด ซึ่งดึงดูดใจคนหนุ่มสาวได้มาก บางทีก็ออกแบบโดยแฝงหรือร่วมไปกับการใช้งานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สามารถนำมารวมเข้ากับเสื้อฮู้ด หรือทำให้มีรูปแบบคล้ายปากกา ลิปสติกหรือนาฬิกา ที่สามารถซ่อนได้ โดยเฉพาะจาก ครูและผู้ปกครอง และใช้ในสถานที่ที่ปกติแล้วจะห้ามการสูบบุหรี่ หรือไม่อนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมพยายามแทรกแซง การกำหนดนโยบายด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ โดยแนะนำว่าเป็นทางเลือกที่ลดความเสี่ยงสำหรับผู้ใหญ่ ผู้สูบบุหรี่หรือทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการเลิกบุหรี่ แต่งานวิจัยชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงที่แตกต่างออกไป: เด็กอายุ 13-15 ปี เป็นกลุ่มที่งใช้ บุหรี่ไฟฟ้าในอัตราที่สูงกว่าผู้ใหญ่ในทุกภูมิภาคของ WHO [11] ส่วนใหญ่จะไม่เคยเป็นผู้สูบบุหรี่มาก่อน: การศึกษาของสหรัฐอเมริกาพบว่าเกือบสามในสี่ของ ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอายุ 18–24 ปีไม่เคยสูบบุหรี่ [12]
การตลาดที่แพร่หลาย
เยาวชนเป็นเป้าหมายการโฆษณา โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย และการสปอนเซอร์ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสื่อดิจิทัลพวกเขาคุ้นเคยและนิยม อุตสาหกรรมหลบเลี่ยงข้อบังคับต่างๆ ระดับชาติด้วยการโฆษณาดิจิทัลข้ามพรมแดน บนแพลตฟอร์มยอดนิยมระดับโลกเช่น Instagram และ TikTok
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยังมีการทดลองเข้าถึงตลาดดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น Metaverse สินค้าที่พยายามส่งเสริม มีตั้งแต่บุหรี่ บิดิ (bidi ยาเส้นมวน) หรือ ยาสูบไร้ควัน ไปจนถึง บุหรี่ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ใช้ความร้อน และนิโคตินกระเป๋า (nicotine pouches)
การเผยแพร่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ผ่านแพลตฟอร์ม ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม มีการศึกษาพบว่า การใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเดียวทุกวัน ในกลุ่มนักเรียนมัธยมต้น มีความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ของความเสี่ยงในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และ เพิ่มขึ้นเป็น 6.1% ในหมู่นักเรียนมัธยมปลาย [13]
รายงานอีกฉบับ พบว่า จำนวนชั่วโมงการอยู่บนแพลตฟอร์มที่เพิ่มขึ้นต่อวัน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยปีแรก จะเพิ่มความน่าจะเป็นที่จะเป็นผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าตลอดชีวิตขึ้นอีก 4.6% [14]
การตลาดยาสูบแบบกำหนดพุ่งเป้า
การตลาดยาสูบแบบพุ่งเป้า (กำหนดเป้าหมาย) ประกอบด้วย
- โฆษณาแบบจ่ายเงิน (paid ads) หรือ เพจของบริษัทบนโซเชียลมีเดีย
- การโปรโมตผลิตภัณฑ์แบบชำระเงิน โดยผู้มีอิทธิพล (influencers) ซึ่งมีผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงแพลตฟอร์มเกมที่เด็กๆ และเยาวชนติดตาม ความสัมพันธ์ทางการเงินเหล่านี้ไม่ได้เปิดเผยเสมอไป และ บริษัทยาสูบก็ถูกเปิดโปง ว่าใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่อายุน้อยกว่าที่บริษัทได้กำหนดแนวปฏิบัติโดยสมัครใจเอาไว้
- การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (product placement) เช่น การแสดงภาพยาสูบในสตรีมมิง รายการที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นอายุ 15-24 ปี เพิ่มขึ้นสองเท่าในปี 2565 (2022) เป็นจำนวนถึง 25 ล้านคน [15]; ภาพการใช้ยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้าแพร่หลายในสื่อบันเทิง รวมทั้งในวิดีโอเกมยอดนิยม [16] และรายการทีวี สำหรับวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว เช่น Stranger Things เป็นต้น บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งระดับโลก [16]; การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเผยแพร่ผ่านสื่อเหล่านั้น เชื่อมโยงกับการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นในหมู่เยาวชน และ ล่อใจให้เข้าถึงการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นสูงขึ้นด้วย
- สนับสนุนเทศกาลดนตรีที่สามารถสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ยาสูบและผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ในหมู่ผู้ชมที่เป็นวัยรุ่น อาจมีการแจกตัวอย่างฟรี ในโอกาสเหล่านั้น [17];
- การสนับสนุนกิจกรรมที่เกิดขึ้นทางออนไลน์ เช่น อีสปอร์ต หรือเทศกาลออนไลน์
- บัญชีบนแพลตฟอร์มรวมถึง Facebook และ Instagram ที่ดูเหมือนจะเน้นไปที่หัวข้อไลฟ์สไตล์ด้านดนตรีหรือกีฬา บางบัญชีเน้นไปในเชิงสื่อสารองค์กร (ที่ฟังดูดี) เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
การสนับสนุนด้านกีฬา
- การสนับสนุนด้านนี้จะช่วยสร้างการรับรู้และดึงดูดแบรนด์ อาทิเช่น การสนับสนุน Formula 1 ช่วยให้บริษัทได้โปรโมตข้อความและแบรนด์ของตน ไปยังแฟนกีฬาอายุน้อยทั่วโลกได้มากขึ้น ผ่านคลิปวิดีโอการแข่งขัน โซเชียลมีเดีย และกิจกรรมส่งเสริมการขายอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับกีฬา [18] พวกเขายังเข้าถึงผู้ชมของซีรีส์เรียลลิตี้ของ Netflix เรื่อง Formula 1: Drive to Survive, who ซึ่งบางส่วนอาจไม่ใช่กลุ่มที่ชม F1 โดยตรงก็ได้ รวมถึง การสนับสนุนของ BAT ใน ทีม McLaren F1 ช่วยโปรโมตแบรนด์บุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งต้องห้าม
ความรับผิดชอบต่อสังคม
อุตสาหกรรมยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ก็ใช้กิจกรรมองค์กรความรับผิดชอบสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์และขัดเกลาชื่อเสียงในหมู่ผู้ชมรุ่นเยาว์
- ในบางประเทศ อุตสาหกรรมจะให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ทุนการศึกษาหรือการสร้างโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงบวกและหันเหความสนใจจากการแสวงหาผลประโยชน์จากคนหนุ่มสาว
- ในบางประเทศ อุตสาหกรรมนี้ได้ดูแลเยาวชน การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้า การวิจัยพบว่า แคมเปญเหล่านี้ไม่มีประสิทธิผลที่จะลดความตั้งใจของเยาวชนที่จะใช้ยาสูบหรือบุหรี่ไฟฟ้า แต่อย่างใด และอาจส่งผลตรงกันข้ามด้วยซ้ำ [19] เช่น แคมเปญอาจกระตุ้นให้เยาวชนมีมากขึ้นทัศนคติที่ดีต่อบริษัทยาสูบ
- อุตสาหกรรมให้การสนับสนุนการแข่งขันระดับโลกสำหรับเยาวชน เช่น Conrad Challenge ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ เด็กอายุ 13–18 ปี (20) และ BAT’s Battle of the Minds ซึ่งมุ่งเป้าไปที่นักศึกษามหาวิทยาลัย [21] นอกจากนี้ยังสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวก สร้างความตระหนักรู้อย่างมีประสิทธิภาพของบริษัทยาสูบและผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านั้น ในกลุ่มเยาวชน
กลยุทธ์การขาย
กลยุทธ์การขายและการตั้งราคา ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ยังคงอยู่ เข้าถึงได้และราคาไม่แพงสำหรับเยาวชน
- บุหรี่มวนเดี่ยว [22] ถุงนิโคติน และบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง [23] ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซื้อหาได้ง่ายมากขึ้น เพราะราคาไม่แพงสำหรับเด็กและเยาวชน
- การห้ามขายให้กับผู้เยาว์ อาจเสี่ยงถูกละเมิดโดยผู้ขายไร้สำนึก ทั้งในร้านค้าจริง ผ่านทางอีคอมเมิร์ซ และ รูปแบบการค้าที่จำลองใกล้เคียงจริง (immersive commerce)
- บริการผ่านจัดส่ง เช่น UBER Eats ซึ่งจัดส่งบุหรี่ไฟฟ้าในแอฟริกาใต้ [24] ยิ่งช่วยให้ เยาวชนให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ง่ายขึ้นอีก
- มีรายงานว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบและนิโคติน หรือเสนอตัวอย่างฟรี ในหลากหลายประเทศ ใน 87 ประเทศ ที่เข้าร่วมการสำรวจยาสูบของเยาวชนทั่วโลก ระหว่างปี 2014 ถึง 2018 แต่ละประเทศต่างรายงานว่า ในช่วง 0.4% และ 22.7% ของเด็กอายุ 13–15 ปี มีตัวแทนบริษัทยาสูบ เสนอให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบฟรี [25]
ตัวอย่างกลยุทธ์ทางการตลาดของอุตสาหกรรมยาสูบ จากทั่วโลก
ตัวอย่างกลยุทธ์ทางการตลาดของอุตสาหกรรมจากทั่วโลก
- มูลนิธิ ใน Nigeria ได้ร่วมมือกับ กองบริการเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐบาลกลาง โครงการเยาวชนสำหรับผู้ประกอบการเกษตรกรรมรุ่นเยาว์ [26]
- บริษัทในจีน ได้สร้างหรือ สนับสนุนโรงเรียนในประเทศจีน [27] และแอฟริกา [28]
- บริษัท ในจาเมกา ให้ทุนการศึกษาเปิดรับนักเรียนเข้าเรียนในหลากหลายสาขา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย [29]
- ในโคลอมเบีย มีการสนับสนุนเทศกาล Estéreo Picnic ปี 2023 ซึ่งเป็นหนึ่งใน เทศกาลดนตรีที่สำคัญที่สุดในอเมริกาใต้ [30]
- บริษัทยาสูบไร้ควันของ อินเดีย พัฒนาและโปรโมตโฆษณาผลิตภัณฑ์ขนม บนเกมมือถือ [31]
- บริษัทบุหรี่ในอินโดนีเซีย จัดแคมเปญที่เน้นดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงใน Metaverse [31]
- ในปากีสถาน มีบริษัทร่วมกับวิทยุดิจิทัล Spotify เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ บนโซเชียลมีเดีย Spotify Instagram และ Facebook [32]
- ในสวิตเซอร์แลนด์ มีการสนับสนุนการรณรงค์เกี่ยวกับโฆษณายาสูบ [33]
เพื่อรับรู้และรับมือกับ การตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลิตภัณฑ์นิโคติน (นอกเหนือจากยา) และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลควรใช้คำสั่งห้ามที่ครอบคลุม (หรือ ข้อจำกัด) บน TAPS (tobacco advertising, promotion and sponsorship) มาตรการดังกล่าวควรใช้กับทุกประเภทของผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลิตภัณฑ์นิโคติน (อื่นๆ ที่มิใช่ยา) และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องและ ที่สำคัญควรถูกนำไปใช้กับสื่อทั้งหมดด้วย
หากไม่มีการห้าม TAPS ที่เข้มงวด เยาวชนจะต้องผจญกับการตลาดอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม ที่ใช้กีฬา ดนตรี ภาพยนตร์ และโทรทัศน์มาเป็นเวลานาน เพื่อนำแบรนด์ที่เป็นอันตรายเข้ามาในชีวิตของคนหนุ่มสาว
โซเชียลมีเดียทำให้มีวิธีใหม่ในการดึงดูดและโต้ตอบกับผู้ชมที่เป็นวัยรุ่น
เม็กซิโก
โพสต์นี้ส่งเสริมบุหรี่ไฟฟ้าที่จำหน่ายโดย ผู้ค้าปลีกชาวเม็กซิกันแสดงภาพที่ได้รับการแก้ไขแบบดิจิทัลของกิเยร์โม่ โอโชอา ผู้รักษาประตูชาวเม็กซิกัน ทีมชาติ. คำบรรยายภาพอ่านว่า: “อย่าปล่อยให้ความอยากของคุณมาถึงคุณในฟุตบอลโลกครั้งนี้ หยุดพักด้วยการสูบไอเหมือนผู้ยิ่งใหญ่” [34]
อินโดนีเซีย
ภาพของนารูโตะตัวละครอนิเมะยอดนิยมนี้ นำไปใช้ทำการตลาดบุหรี่ไฟฟ้า คำบรรยายภาพอ่านว่า: “นารูโตะเพิ่งไล่ล่า Aegis Solo 2 ทำไมคุณไม่ทำล่ะ” [35]
อินเดีย
โปสเตอร์สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Shehzada” เนื้อเรื่องของนักแสดง-โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์สูบบุหรี่ [31]
หมายเหตุ: ตัวอย่างที่นี่รวบรวมโดยขบวนการบังคับใช้และการรายงานยาสูบ (https://termcommunity.com/) ระบบติดตามสื่อดิจิทัลที่แสดงหลักฐานการตลาดยาสูบและนิโคตินบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ข่าว
2. การใช้งานทางอุตสาหกรรม ข้อความที่ทำให้เข้าใจผิด และผู้ส่งสารถึง มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของประชาชน และดึงดูดใจเยาวชน
ยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ประดิษฐ์ข้อความอย่างประณีต ก็เพื่ออวดตัวว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม สิ่งนี้มีจุดประสงค์สองประการ
ประการแรก ข้อความเหล่านี้บางข้อความตรงใจเป็นพิเศษ กับรุ่นใหม่ ที่สนใจ ประเด็นความยั่งยืน สิทธิมนุษยชน และประโยชน์ส่วนรวม โดยอ้างว่ามีส่วนทำให้เกิดความก้าวหน้าในด้านเหล่านี้ได้ สร้างการรับรู้ที่ดีแก่คนรุ่นใหม่
ประการที่สอง ยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สามารถชักนำชี้ชวน ผู้กำหนดนโยบายและประชาชนทั่วไป ให้เข้าใจไปว่า ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิต่อสังคม ถ้าคนกลุ่มนี้เชื่อว่า สังคมจะได้ประโยชน์ทั้งทางด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ หรือด้านสิ่งแวดล้อม ผู้กำหนดนโยบายก็จะมีแนวโน้นที่จะให้การสนับสนุนพวกเขา ไม่ต่อต้าน และเมื่อได้รับแรงหนุนทางการเมืองอย่างนั้นแล้ว ท้ายที่สุดพวกเขาจะเป็นผู้ชนะเบ็ดเสร็จ ที่ต้องการสิ่งใด จะขายอะไร ก็ทำได้ แม้จะเป็นยาเสพติด หรือสินค้าอันตรายคร่าชีวิตได้ก็ตาม
ตัวอย่างการสื่อสาร ที่อุตสาหกรรมใช้เพื่อโน้มน้าวทัศนคติ
ต่อไปนี้คือข้อความบางส่วนที่อุตสาหกรรมเหล่านี้ลองใช้ เพื่อโน้มน้าวความคิดเห็นของประชาชนและข้อเท็จจริงที่ท้าทายพวกเขา
“We’re sustainable” - "เราคือความยั่งยืน"
บริษัทยาสูบขนาดใหญ่หลายแห่งวางตำแหน่งตนเองเป็นผู้นำ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) [36] พวกเขามีส่วนร่วมในการประเมิน ESG เพื่อให้คะแนนเชิงบวกและอยู่ในระดับสูง [37] อุตสาหกรรมยังพยายามที่จะฟอกขาวด้านชื่อเสียง โดยการเผยแพร่ความพยายามด้านสิ่งแวดล้อมที่ง่ายๆ เช่น การปลูกต้นไม้ หรือการเก็บกวาดก้นบุหรี่ เป็นต้น โดยอาศัยว่าเป็นโปรแกรมที่อาจสร้างความสนใจเชิงบวก แต่มีผลกระทบไม่มาก
ในความเป็นจริง:
- ยาสูบทำลายล้างโลกในทุกขั้นของห่วงโซ่
- ไส้กรองบุหรี่เกือบทั้งหมดมีสารพิษ พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และเป็นแหล่งมลพิษจากพลาสติก และ
- ยาสูบและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดสารพิษเพิ่มมากขึ้น จากพลาสติก โลหะ และขยะแบตเตอรี่
“We’re reducing the harm caused by cigarettes” - "เราช่วยลดอันตรายที่เกิดจากบุหรี่"
ยาสูบและบริษัทที่เกี่ยวข้องส่งเสริมแนวคิดเรื่อง “ลดอันตราย” (harm reduction - ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด) เพื่อพยายามโน้มน้าวผู้บริโภค ถึงความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้าที่เสพติดและเป็นอันตราย ยาสูบที่ใช้ความร้อน ผลิตภัณฑ์และถุงนิโคติน นัยยะที่แฝงอยู่ในโฆษณาผลิตภัณฑ์ ทำนองว่า "ช่วยลดความเสี่ยง" สะท้อนภาพอุตสาหกรรมยาสูบในอดีต ที่มักกล่าวอ้างให้เข้าใจผิด เกี่ยวกับการลดอันตรายจากยาสูบ ได้ ด้วยการใช้ผ่านตัวกรองบุหรี่ และ บุหรี่ชนิดที่มี "น้ำมันดินต่ำ" (low-tar cigarettes)
ในความเป็นจริง:
- ในขณะที่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ มีประสิทธิภาพในการช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ดีกว่า แต่หลักฐานที่เพิ่มขึ้น กลับแสดงชัดว่า ผลิตภัณฑ์ มีความเสี่ยงในตัวเอง และสุดท้าย ก็ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่สามารถเลิกได้ แต่ใช้ทั้งสองแบบไปเลย
- อุตสาหกรรมยาสูบเอง ก็ไม่ได้มุ่งมั่นจริงจังเที่ยุติการขายบุหรี่กับคนหนุ่มสาวแต่อย่างใด ตรงกันข้าม กลับเดินหน้าส่งเสริมเต็มที่
“We help society through our charity work and donations” - "เราช่วยสังคม ผ่านองค์กรสาธารณกุศลและการบริจาค"
อุตสาหกรรมยาสูบ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม “องค์กรที่มีความรับผิดชอบสังคม” ที่มักจะเกี่ยวข้องกับการบรรเทาสาธารณภัย สิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนา และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบ ยิ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหรือรับรอง กับทางราชการ ครอบคลุมถึง การมีสื่อมวลชน ยิ่งทำให้อุตสาหกรรม เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มหนุ่มสาว
ในความเป็นจริง:
- การใช้ยาสูบทำให้โลกต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ความเสียหายทางเศรษฐกิจ 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐทุกปี [38] ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 8 ล้านคนต่อปี ส่งผลเสียต่อ สิ่งแวดล้อมและความยากจนยืดเยื้อ ซึ่งมากเกินกว่ายอดบริจาคการกุศลอันน้อยนิดที่ได้มา มากมายนัก
“E-cigarettes, heated tobacco products and nicotine pouches are only for adult smokers who cannot quit any other way” - "บุหรี่ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ใช้ความร้อน และนิโคติน กระเป๋า เหมาะกับผู้ใหญ่ที่ติดบุหรี่แล้วเลิกไม่ได้"
บริษัทยาสูบและบริษัทที่เกี่ยวข้องมักยืนกรานว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีจุดประสงค์เพื่อลดอันตราย เหล่านี้ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเยาวชน หรือโฆษณาให้กับเยาวชน
ในความเป็นจริง:
- หลักฐานที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ วางตลาดเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค และพุ่งเป้าไปที่คนหนุ่มสาว
- ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกแบบเพื่อดึงดูดเด็กและเยาวชน ด้วยการใช้กลิ่นผลไม้และลูกกวาด และทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อดึงดูดเยาวชนทั่วโลก และ
- ข้อมูลทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูงขึ้นในกลุ่มอายุน้อยกว่ามากกว่าผู้สูงอายุ และเยาวชนที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า สูงเป็นสามเท่า ของผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่แบบดั้งเดิม [11]
ยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง บ่อนเซาะวิทยาศาสตร์แท้ และอุดหนุนวิทยาศาสตร์เทียม (pseudo-science)
ยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ล็อบบี้ยิสต์ และอดีตคนวงใน เพื่อโต้แย้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของตนเป็นอันตราย
เป็นเวลาหลายทศวรรษ ที่อุตสาหกรรมยาสูบ จงใจโกหกและปลอมแปลงหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับอันตรายจากยาสูบ อันตรายจากควันบุหรี่มือสอง และ "คุณประโยชน์" ของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น "น้ำมันดินต่ำ" และบุหรี่มีก้นกรอง พวกเขายังได้จ่ายเงินสนับสนุนวารสาร การศึกษาทางการแพทย์ และ กิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้สนใจด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์
ในปี 2024 PMI ได้ให้ทุนสนับสนุนหลักสูตรต่างๆ ของ Medscape เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ที่แสดงให้เห็นว่า "ผลิตภัณฑ์นิโคติน ค่อนข้างไม่เป็นอันตราย” ซีรีส์นี้ถูกยกเลิกในเวลาต่อมาหลังจากเสียงประณามจากนักวิทยาศาสตร์และนักการแพทย์ชุมชน
พวกเขาทำทั้งหมดนี้เพื่อบรรเทาความกังวลในหมู่ผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชน เกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดจากจากผลิตภัณฑ์ของตน ก็เพื่อจะทำให้มีการควบคุมน้อยลง กฎระเบียบที่เข้มงวดน้อยลง จะทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงซื้อหาได้ง่ายขึ้น เพราะราคาไม่แพงและหาได้ทั่วไป รวมถึงเยาวชนด้วย
บริษัทยาสูบยังผลิตหรือสนับสนุน การสร้างข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด เกี่ยวกับความสำคัญทางเศรษฐกิจของตนเอง ความต่างระหว่างรายได้จากภาษี เทียบกับอันตรายต่อสุขภาพและสังคมจากผลิตภัณฑ์ของพวกเขา หรือ ความเชื่อมโยงระหว่างภาษียาสูบ กับการค้าที่ผิดกฎหมาย
การวิจัยและข้อมูลบิดเบือนมักถูกส่งไปยังชุมชนวิชาการและสาธารณสุข ผู้กำหนดนโยบายและสื่อ ผ่านกลุ่มแนวหน้าและพันธมิตร
ยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ใช้ผู้ส่งข้อความหลอกลวง เพื่อเผยแพร่ข้อความที่ทำให้เข้าใจผิดเหล่านี้ เนื่องจากอุตสาหกรรม ถูกกีดกันออกไปจากช่องทางภาครัฐและเอกชนมากขึ้นเรื่อยๆ ซ้ำยังไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจและการสนับสนุนจากสาธารณชน นั่นทำให้กลุ่มยาสูบและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องสร้าง กลุ่มแนวร่วมของตนเองขึ้น และบ่มเพาะการเป็นพันธมิตร ก็เพื่อให้กระทำการใดๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนนั่นเอง
กลุ่มเหล่านี้ ถูกจัดเป็นกลุ่มบุคคลที่สาม กลุ่มแนวหน้า หรือกลุ่มรากหญ้าเทียม (Astroturf Group)* (41)
*(Astroturf Group กลุ่มองค์กรทางการเมือง ที่แสร้ง/ตบตา/ปลอมแปลงให้ดูเสมือนเป็นตัวแทน/สนับสนุนจากชนชั้นรากหญ้า แต่จริงๆแล้วไม่ใช่)
Reference
1. WHO global report on trends in prevalence of tobacco use 2000–2030. Geneva: World Health Organization; 2024 (
Link).
2. Health Behaviour in School-aged Children (HBSC) study [website]. World Health
Organization; 2024 (
link).
3. Tobacco: e-cigarettes [website]. World Health Organization; 2024 (
link).
4. Pettigrew S, Santos JA, Pinho-Gomes A, Li Y, Jones A. Exposure to e-cigarette advertising and young people’s use of e-cigarettes: a four-country study. Tob. Induc. Dis. 2023;21:141. (
link).
5. Bach L. Flavored tobacco products attract kids. Washington (DC): Campaign for
Tobacco-Free Kids; 2023 (
link).
6. Flavors (including menthol) in tobacco products [issue brief]. New York: STOP; 2022 (
link).
7. Kyriakos CN, Zatoński MZ, Filippidis FT. Flavour capsule cigarette use and perceptions: a systematic review. Tob Control. 2023;32:e83-e94 (
link).
8. Results from the Annual National Youth Tobacco Survey. Silver Spring (MD): US Food
and Drug Administration; 2023 (
link).
9. Jongenelis MI. E-cigarette product preferences of Australian adolescent and adult users: a 2022 study. BMC Public Health. 2023;23(1):220. doi:10.1186/s12889-023-15142-8.
10. Nearly two thirds of youth would stop vaping with no added sweet flavors, menthol or cooling agents. The James. 10 July 2023. (
link)
11. Urgent action needed to protect children and prevent the uptake of e-cigarettes [news release]. World Health Organization; 14 December 2023 (
link).
12. Harris E. Most young adults who use e-cigarettes have never smoked. JAMA. 2023;330(21):2045. doi:10.1001/jama.2023.22357.
13. Tobacco industry ads generate billions of views and reach millions of kids on Instagram, Facebook, X and TikTok [news release]. Campaign for Tobacco-Free Kids; 8 December 2023 (
link).
14. Lin SY, Cheng X, Rossheim ME, Gress D, Cuellar AE, Cheskin L et al. Associations between use of specific social media sites and electronic cigarette use among college students. J Am Coll Health. 2023;71(7):2217-2224. doi:10.1080/07448481.2021.1965149.
15. Lights, camera, tobacco? Washington (DC): Truth Initiative; 2024 (
link).
16. Played: this year’s video games glamorize tobacco use to youth [news release]. Truth Initiative; 19 December 2017 (
link).
17. Loud and clear: Big Tobacco’s music sponsorship motives [blog]. In: STOP; 13 July2022 (
link).
18. Driving addiction: F1, Netflix and cigarette company advertising. New York: STOP; 2023 (
link).
19. Azad A. Juul went into a ninth-grade classroom and called its device ‘totally safe,’ teens testify. CNN; 25 July 2019 (
link).
20. CSR: education. Bath: Tobacco Tactics; 2021 (
link).
21. Battle of minds [website]. British American Tobacco; 2024 (
link).
22. Single sticks fact sheet. New York: STOP; 2023 (
link).
23. United Kingdom Department for Education. Disposable vape ban and what it means
for young people [blog]. In: Education Hub; 29 January 2024 (
link).
24. Pods [website]. Uber Technology Inc.; 2024 (
link).
25. Global tobacco surveillance system data (GTSSData) [database].
Atlanta (GA): Centers for Disease Control and Prevention; 2024 (
link).
26. Africa tobacco industry interference index 2023, second edition. Lomé: African Tobacco Control Alliance; 2023 (
link).
27. Fang J, Yang G, Wan X. ‘Pro-tobacco propaganda’: a case study of tobacco industrysponsored elementary schools in China. Tob Control. 2019;0:1-5. doi:10.1136/ tobaccocontrol-2018-054646.
28. China National Tobacco Corporation’s global expansion. New York: STOP; 2022 (
link).
29. Grant CA. The 2023 Carreras Scholarship categories and application process [website]. Scholarship Jamaica; 2023 (
link).
30. Betancourt A. ¿Cómo obtener boletas gratis para el Festival Estéreo Picnic 2023? [How to get free tickets to Estéreo Picnic 2023?]. Enter; 3 March 2023 (
link) (in Spanish).
31. Vital strategies. The next frontier in tobacco marketing: the Metaverse, NFTs, advergames and more. New York; 2023 (
link).
32. #SponsoredByBigTobacco. Tobacco & Nicotine Marketing on Social Media. Washington (DC): Campaign for Tobacco-Free Kids; n.d. (
link).
33. The many faces of modern addiction. New York: STOP; 2022 (
link).
34. Vital Strategies. Tobacco Marketing and Football: A Losing Game. New York, NY; 2023. Available from: termcommunity.com/TobaccoMarketingandFootballALosingGame.
35. GeekVape Indonesia. Naruto aja ngejar Aegis Solo 2, masa kamu ngga [Naruto just chased Aegis Solo 2, why don’t you] [post]. Facebook; 6 October 2021 (
link/) (in Indonesian).
36. An inherent contradiction: the tobacco industry’s environmental, social & governance
(ESG) activities. New York: STOP; 2022 (
link).
37. Unsustainable: Big Tobacco’s use of the UN SDGs. Bath: Tobacco Tactics; 2023 (
link).
38. Goodchild M, Nargis N, Tursan d’Espaignet E. Global economic cost of smokingattributable diseases. Tob Control. 2018;27:58-6 (
link).
39. Philip Morris International: its smoke-free rhetoric doesn’t reflect its behavior. In: Addiction at any cost: Philip Morris International uncovered. New York: STOP; n.d. (
link).
40. Vape law a win for public health, opens door to science-based innovation — PMFTC exec. Inquirer. 23 August 2023 (
link).
41. Shining the light on tobacco industry allies. New York: STOP; 2024 (
link).
42. Litigation relevant to regulation of novel and emerging nicotine and tobacco products: case summaries. Geneva: World Health Organization; 2021 (
link).
43. Pending litigation brought by multinational tobacco companies against governments. Washington (DC): Campaign for Tobacco-Free Kids; 2024 (
link).
44. Philip Morris joins challenge to EU ban on heated flavoured tobacco products. Irish Times. 22 March 2023 (
link).
45. Kramer E, Masduki RR, Maryani E, Nurhajati L, Redjeki AMS. How do national laws filter down to the local? Tobacco control regulations and smoke free areas in a decentralised Indonesia. J Curr Southeast Asian Aff. 2023;42(2):216-41 (
link).
46. Ciurcanu A, Cerantola A. ‘Smoke-free’ cities and islands — sponsored by Philip Morris. Organized Crime and Corruption Reporting Project; 5 May 2022 (
link).
47. Smoke-free destinations. Bath: Tobacco Tactics; 23 February 2022 (
link).
48. Industry brief: Eliminating Child Labour in Tobacco Growing (ECLT) Foundation. New York: STOP; 2019 (
link).
49. COP10 adopted historic decisions to protect the environment from the harms of tobacco and to address cross-border tobacco advertising, promotion and sponsorship and the depiction of tobacco in entertainment media [news release]. Geneva: WHO FCTC; 10 February 2024 (
link).
50. Misleadingly labeled e-liquids that appeal to youth. Silver Spring (MD): United States Food and Drug Administration; 2020 (
link).
51. Tenth session of the Conference of the Parties to the WHO FCTC (Panama City, Panama, 5–10 February 2024): global youth voices statement. Bangkok: Global Center for Good Governance in Tobacco Control; 2023 (
link).
52. Ojina E. Kenyan parents fight sale of Lyft, BAT’s new nicotine product. Nation Media Group; 26 August 2020 (Wednesday, August 26, 2020
link).