เฮลิคอปเตอร์รับผู้ป่วยฉุกเฉิน ชาย 56 ปี จากแม่สะเรียง ส่งต่อรพ.มหาราชนครเชียงใหม่
1 มิถุนายน 66 เวลา 09.41 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศชาย อายุ 56 ปี ประวัติ 10 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ขับขี่รถจักรยานยนต์ชนท้ายรถจักรยานยนต์ ไม่รู้สึกตัว มีเลือดออกหูข้างขวาและจมูก 2 ข้าง หน้าผากบวมโน โดยมีหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลแม่สะเรียง นำผู้ป่วยส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเมื่อประเมินอาการแล้ว จึงได้ใส่ท่อช่วยหายใจ และประสานงานส่งต่อไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ได้รับการวินิจฉัยโรค severe head injury (การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง) จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน จึงได้ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
โดยประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองกำลังผามือง จังหวัดเชียงใหม่ ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท. 212 ชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พ.ท.ยงยุทธ แสวงทอง, ร.ท.ปฏิภาณ แก้วสนิท, จ.ส.อ.สุริยา พรมชาติ และ จ.ส.อ.โกมล บุญสะอาดและชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย พญ.วรัตม์สุดา สมุทรทัย, พญ.รักษิณา อ่อนตา, นายอานนท์ เขื่อนคำ และ นางสาวสุนิสา จันตากอง และเมื่อเวลา 11.54 น.ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อผู้ป่วยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน อบรม หลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางเฮลิคอปเตอร์ (Basic HEMS)
2 มิถุนายน 2566 เรืออากาศเอก นายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดการอบรม หลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางเฮลิคอปเตอร์ (Basic HEMS) พร้อมทั้งมอบประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม รวมถึงได้มอบอาร์ม Sky doctor ให้กับ นพ.สมพร สหจารุพัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ผู้รับผิดชอบโครงการ นักบินและช่าง ค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี ดร.พิเชษฐ์ หนองช้าง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายไพศาล ก้อนจำปา ผู้ช่วยเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และผู้ประสานงาน สำนักบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่ 4 ร่วมเป็นเกียรติในพิธีปิดการอบรมครั้งนี้ ณ โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช
.
การฝึกอบรม หลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางเฮลิคอปเตอร์ (Basic HEMS) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 - 2 มิถุนายน 2566 โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะทำงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เขตสุขภาพที่ 11 เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะ ให้แก่ผู้ปฎิบัติการฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการแพทย์ ในเขตสุขภาพที่ 11 ก่อให้เกิดความร่วมมือในการประสานงานของภาคส่วนต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ หรือ HEMS ในพื้นที่ภาคใต้ที่มีความสำคัญ ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่ครอบคลุม รวดเร็ว และปลอดภัยต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม เกิดความปลอดภัยต่อภาวะสุขภาพของประชาชน
เฮลิคอปเตอร์รับผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศชาย 34 ปี จากอ.ปาย ส่งรพ.นครพิงค์
วันที่ 4 มิถุนายน เวลา 08.57 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า ได้ขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศชาย อายุ 34 ปี เมื่อ 11 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ญาติให้ประวัติ ญาติไปเข้าห้องน้ำได้ยินเสียงครืดคราด เข้าไปดู เรียกไม่รู้สึกตัว ยังหายใจ มีน้ำลายฟูมปาก โดยมีโรงพยาบาลปายออกให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ ณ จุดเกิดเหตุ มีปากม่วงคล้ำ หายใจเฮือก 1 ครั้ง คลำชีพจรไม่ได้ จึงได้ทำการ CPR และนำผู้ป่วยส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเมื่อประเมินอาการแล้ว จึงได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ได้รับการวินิจฉัยโรค มีภาวะเลือดออกบริเวณก้านสมองและโพรงสมองร่วมกับภาวะหัวใจหยุดเต้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน จึงได้ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ โดยประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยเฉพาะกิจสิงหนาท จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท. 212 ชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พ.ต.ฉลาด สุวพันธ์, ร.ท.ประสิทธิ์พร ทันลา, จ.ส.อ.อนุพงศ์ โคตรพรม และ จ.ส.อ.พยัก แก้วม่วง และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย นพ.กรีฑา คำเนียม, นางสาวฉัตรพร วงศ์เผือก และ นายปภาวิน ประเสริฐกุล และเมื่อเวลา 10.33 น.ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อผู้ป่วยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ศูนย์รับแจ้งเหตุเชียงใหม่ ลำเลียงเด็กชาย 6 ปี จากแม่แจ่ม ส่งรพ.มหาราชนครเชียงใหม่
วันที่ 5 มิ.ย. 66 เวลา 10.20 น. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอรับการสนับสนุน การลำเลียงทางอากาศสำหรับผู้ป่วยเด็กชาย 1 ราย อายุ 6 ปี ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ทั้งนี้ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยาน โดยต้นทางโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ส่งรักษาต่อปลายทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยกองบินตำรวจ จังหวัดเชียงใหม่ ชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย พ.ต.ต.จักรพันธ์ อธิคมภาษิต, ร.ต.อ.ประเทือง ชูเลิศ, พ.ต.ต.ณรงค์ วังรังกา ชุดปฏิบัติการบิน Sky Doctor โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย พญ.พัณณ์ชิตา ชำนาญกิจวนิชย์, น.ส.เบญจวรรณ ยืนธรรม, นายคเนศ ชูสุวรรณ์ เมื่อเวลา 12.23 น. ได้รับเข้าการรักษาต่อที่โรงพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย
เยี่ยมชมการทำงานของ Essex and Herts Air Ambulance (EHAAT)
วันที่ 9 มิ.ย. 2566 เวลา 09:00-11:30 น. เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพร้อมด้วย พลอากาศตรีเฉลิมพร บุญสิริ กรรมการการแพทย์ฉุกเฉินนาวาเอก (พิเศษ) พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายแพทย์ชายวุฒิ สววิบูลย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยวิชาการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ฉุกเฉิน นายวสันต์ เวียนเสี้ยว ผู้จัดการกลุ่มงานสนับสนุนปฏิบัติการฉุกเฉิน และนางสาวดังฝัน พรมขำ ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เยี่ยมชมการทำงานของ Essex and Herts Air Ambulance (EHAAT) ที่มีลักษณะเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร/มูลนิธิ ที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์และรถยนต์แบบเร่งด่วน ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ต่างๆ EHAAT ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ Essex, Hertfordshire และพื้นที่โดยรอบด้วยเฮลิคอปเตอร์รุ่น AW169 และมีกิจกรรมการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่ทันสมัย เช่น ห้องจำลองสถานการณ์เสมือนจริงที่จำลองตำแหน่งที่นั่งและปฏิบัติภารกิจของทีมบนเฮลิคอปเตอร์ และใช้การฉายภาพบนผนังเพื่อให้เห็นสถานการณ์ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงในสถานที่ต่างๆ เช่น ในสถานบันเทิงหรือบ้านเรือน
จากนั้น เวลา 13:30 -16:00 น. คณะฯ ได้เยี่ยมชมการทำงานของ London Air Ambulance (LAA) ซึ่งมีลักษณะเป็นมูลนิธิ (Charity) ที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ร่วมกับ Royal London Hospital สหราชอาณาจักร LAA ให้บริการผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 17,000 คนในบริเวณพื้นที่ลอนดอนในแต่ละปี โดยจะให้ความสำคัญกับการเจ็บป่วยฉุกเฉินแบบ Trauma เท่านั้น เช่น การโดนแทง การโดนยิง การตกจากที่สูง อุบัติเหตุทางจราจรที่รุนแรง การโดนรถไฟทับ และเหตุฉุกเฉินที่มีความรุนแรงและเร่งด่วนมากอื่นๆ และมีหลักการทำงานคือการนำทีมแพทย์และ Paramedic ไปถึงผู้ป่วยให้เร็วที่สุดเพื่อให้การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การให้ยาหรือการผ่าตัดเปิดช่องอก จึงทำให้ทีมแพทย์นะ่นประกอบไปด้วยแพทย์สาขาต่างๆหลากหลาย จากข้อมูลยังพบด้วยอีกว่า LAA ให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่อายุไม่มากนักและเป็นผู้ชายมากถึง 80 %
เฮลิคอปเตอร์รับเด็กหญิง 8 ปี ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน จากแม่สะเรียง ส่งรพ.แม่สะเรียง
วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 11.20 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า ได้ขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศหญิง อายุ 8 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านปอหมื้อ ม.9 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประวัติ มีอาการปวดท้องด้านขวา มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน เข้ารับการรักษาที่สุขศาลาพระราชทานศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปอหมื้อ ได้รับการรักษาเบื้องต้น แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงได้ปรึกษาด้านการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลแม่สะเรียง ได้รับการวินิจฉัยโรค acute appendicitis ( ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ) จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ดังนั้นจึงได้ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยาน จากหน่วยเฉพาะกิจสิงหนาท จ.แม่ฮ่องสอน ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท. 212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พ.ท.ประสิทธิ์ ตอสกุล, ร.ท.ประสิทธิ์พร ทันลา, จ.ส.อ.อนุพงศ์ โคตรพรม, จ.ส.อ.สมชาย ยำยวน และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย พญ.กันติชา วาณิชย์เจริญชัย, นายภาคภูมิ ขยันกิจ, นางสาวอรอนงค์ ไกรเกริกเกียรติ และเมื่อเวลา 13.24 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อผู้ป่วยในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เชียงใหม่ลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินหญิง 2 ราย
วันที่ 11 มิ.ย. 66 เวลา 06.49 น. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอรับการสนับสนุน การลำเลียงทางอากาศสำหรับผู้ป่วย 2 ราย รายแรกเพศหญิงอายุ 40 ปี คลอดบุตรแล้วมีภาวะรกค้าง รายที่สองเด็กหญิงทารกแรกคลอด มีภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยได้ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยาน โดยต้นทางโรงพยาบาลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ส่งรักษาต่อปลายทางโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
รายที่ 1 ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยบินกองกำลังผาเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย ร.อ.กฤติเดช ขะวะเขื่อน, ร.ท.ปฎิภาณ แก้วสนิท, จ.ส.อ.สุริยา พรมชาติ, จ.ส.ต.ปัญจนาสย์ ป้อมทอง ชุดปฏิบัติการบิน Sky Doctor โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผศ.ดร.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล, น.ส.วันชนก วิริยะกิจ, นายสรรค์สกุล วุฒิสรรพ์
รายที่ 2 ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยกองบินตำรวจ จังหวัดเชียงใหม่ ชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วยพ.ต.ต.จักรพันธ์ อธิคมภาษิต, ร.ต.อ.สัณหวัช พรหมจรรย์, ส.ต.อ.เจษฎา เหล่ามงคล ชุดปฏิบัติการบิน Sky Doctor โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย นพ.อิทธาวุธ งามพสุธาดล, พญ.กัญญรัตน์ อินพรหม, น.ส.วิรากานต์ สมณะ, น.ส.วันพร ไพศาล
ผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับเข้าการรักษาต่อที่โรงพยาบาลโรงพยาบาลสันทราย เป็นที่เรียบร้อย เมื่อเวลา 10.44 น. 10.46 น. ตามลำดับ
ฮ.รับผู้ป่วยหญิง 50 ปี อาการโรคลมชัก ชักเกร็ง 10 ครั้ง จาก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี ส่งรพ.ทองผาภูมิ
วันที่ 15 มิถุนายน 2565 เวลา 12.48 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการศูนย์จังหวัดกาญจนบุรี ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยหญิง อายุ 50 ปี มีอาการชักเกร็ง 10 ครั้ง หลังชักหมดสติไม่รู้สึกตัว วินิจฉัย โรคลมชัก (R/O seizure) เพื่อส่งผู้ป่วยจากสาธารณสุขชุมชนบ้านจะแก ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ไป โรงพยาบาลทองผาภูมิ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ดำเนินการประสานกองบินตำรวจ เพื่อขอสนับสนุนอากาศยาน โดยประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ที่ให้บริการคือ Bell 212 ชุดปฏิบัติการลำเลียงทางอากาศโดย ทีมโรงพยาบาลทองผาภูมิ
สสจ.แม่ฮ่องสอน แจ้งขอฮ.รับผู้ป่วยฉุกเฉินหญิง ไข้เลือดออกมีภาวะช็อคร่วมปอดอักเสบและติดเชื่อในกระแสเลือด ส่งจ.เชียงใหม่ด่วน
วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09.18 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศหญิง อายุ 15 ปี ประวัติ เป็นผู้ป่วยจากโรงพยาบาลขุนยวมที่ส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 13-19 มิถุนายน 2566 มาด้วยอาการ มีไข้สูง อาเจียน กินไม่ได้ ได้รับการวินิจฉัยโรค Dengue shock with pneumonia with septic shock (ไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อกร่วมกับปอดอักเสบจากการติดเชื้อและภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต) จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
โดยจึงได้ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยเฉพาะกิจสิงหนาท กองกำลังนเรศวร ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท. 212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พ.ท.ประสิทธิ์ ตอสกุล, ร.อ.ชัยวัฒน์ จิตรเกตุ, จ.ส.อ.สุวคุณ สุวัสส์ และจ.ส.ท.ศิริวัฒน์ จันทร์แก้ว และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย นพ.กรีฑา คำเนียม, นางธีรดา วงค์ใจ และ นายอุเทน เขิ่งภักดี
และเมื่อเวลา 11.02 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อผู้ป่วยในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ศูนย์ฯ ภูเก็ต แจ้งขอลำเลียงอากาศรับผู้ป่วยชาย 53 ปี โรคหลอดเลือดสมอง มีอาการอ่อนแรงซีกขวา จากวชิระภูเก็ต ไปรพ.ตรัง
วันที่ 22 มิถุนายน 2566 14.30 น. ศูนย์นเรนทรสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดภูเก็ต ขออนุมัติลำเลียงทางอากาศยานในการนำส่งผู้ป่วยชายไทยอายุ 53 ปี จาก รพ.วชิระภูเก็ตไปโรงพยาบาลตรัง โดยผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงซีกขวา ได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ความเร็วสูง (CT brain NC) วินิจฉัยว่าเป็นเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Left MCA infarction) ทำใหเกิดการอ่อนแรงซีกขวา (Right hemiplegia with severe aphesia) จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการสอดสายสวน (thrombectomy) อย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือให้ใช้อากาศยานของกองทัพเรือภาค 3 ด้วยเครื่องบิน Dornier 228 และชุดทีมปฏิบัติการ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตลำเลียงจากหน่วยบินเฉพาะกิจไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต ไปยังสนามบินตรัง และส่งต่อไปยังโรงพยาบาลตรัง ช่วยลดระยะเวลาในการนำส่ง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติขอขอบคุณกองทัพเรือ กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งจังหวัด ภูเก็ต หน่วยปฏิบัติการเฉพาะทางสาขาฉุกเฉินการแพทย์ทางอากาศ และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ที่ได้ร่วมกันปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลือได้ทางการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมต่อไป
สสจ.แม่ฮ่องสอน ขอฮ.รับผู่ป่วยฉุกเฉินชาย ภาวะเลือดออกในสมอง จากแม่สะเรียง ส่งต่อรพ.ประสาทเชียงใหม่
วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 12.57 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า ได้ขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศชาย อายุ 46 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ หมู่1 ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประวัติ มีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว นาน 2 นาที ก่อนเข้ารับการรักษา ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หลังอาการชักเกร็ง ไม่พูด ซีกขวาอ่อนแรง ได้รับการวินิจฉัยโรค Subarachnoid haemorrhage (ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง) จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนและส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
โดยประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยเฉพาะกิจสิงหนาท กองกำลังนเรศวร ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท. 212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พ.ท.ประสิทธิ์ ตอสกุล, ร.ต.สุรราช เดชก้อง, จ.ส.อ.สุวคุณ สุวัสส์ และ จ.ส.อ.เมธี ขจรจิตร และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย นพ.กรีฑา คำเนียม, นางสาวธัญสุดา นานาวรรณาคาร และนางสาวปิยะกาญจน์ ธาราวนาพิทักษ์
และเมื่อเวลา 15.09 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อผู้ป่วยในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ลำเลียงทารกคลอดก่อนกำหนดป่วย จากอมก๋อย ส่งรพ.มหาราชนครเชียงใหม่
วันที่ 23 มิ.ย. 66 เวลา 09.50 น. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอรับการสนับสนุน การลำเลียงทางอากาศสำหรับผู้ป่วยเด็กชาย 1 ราย ทารกคลอดก่อนกำหนด ต้นทางจากโรงพยาบาลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ส่งรักษาต่อปลายทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานได้รับการสนับสนุน อากาศยานจากหน่วยกองบินตำรวจ จังหวัดเชียงใหม่ ชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย ร.ต.อ. สันหวัช พรหมจรรย, ร.ต.ท.ประเทือง ชูเลิศ, ส.ต.อ.ธนาวิช สาระแปง ชุดปฏิบัติการบิน Sky Doctor ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย พญ.ภาวิตา เลาหกุล, นส.กุลวัลย์ ยอดยา, นส.ณัฐนิชา หล้าหนัก
เมื่อเวลา 13.11 น. ได้รับเข้าการรักษาต่อที่โรงพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย
ลำเลียงผู้ป่วยหญิง ภาวะตกเลือดหลังคลอด จากรพ.แม่ตื่น อมก๋อย ส่งรพ.นครพิงค์
วันที่ 24 มิ.ย. 66 เวลา 07.55 น. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอรับการสนับสนุน การลำเลียงทางอากาศสำหรับผู้ป่วยหญิง 1 รายมีภาวะตกเลือดหลังคลอด ต้นทางจากโรงพยาบาลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ส่งรักษาต่อปลายทางโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
โดยประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยาน ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจาก หน่วยเฉพาะกิจสิงหนาท จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย พ.ท.ประสิทธิ์ ตอสกุล, ร.อ.ชัยวัฒน์ จิตรเกตุ จ.ส.อ. สุวคุณ สุวัสส์, จ.ส.อ.เมธี ขจรจิตร ชุดปฏิบัติการบิน Sky Doctor โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย นพ.ภวพล กีรติชีวนันท์, นางศิริรัตน์ พันตารักษ์, น.ส.ปิยะกาญจณ์ ธาราวนาพิทักษ์
เมื่อเวลา 11.09 น. ได้รับเข้าการรักษาต่อที่โรงพยาบาลจอมทอง เป็นที่เรียบร้อย
บินรับเด็กชาย มีภาวะผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วและหายใจล้มเหลว จาก อมก๋อย ส่งรพ.นครพิงค์
วันที่ 28 มิ.ย. 66 เวลา 11.44 น. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอรับการสนับสนุน การลำเลียงทางอากาศสำหรับผู้ป่วยเด็กชาย 1 ราย มีภาวะผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วและมีภาวะหายใจล้มเหลว ต้นทางจากโรงพยาบาลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ส่งรักษาต่อปลายทางโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
โดยประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยาน ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยบินกองกำลังผาเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย ร.อ.ปณตพงษ์ เตชะประเสริฐพร, ร.ท.กิตติ จิตติวุฒินนท์, จ.ส.อ.วีรพนธ์ วรสาร ชุดปฏิบัติการบิน Sky Doctor โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย นพ.บุญฤทธิ์ คำทิพย์,น.ส.วันชนก วิริยกิจ, น.ส.สุนิสา ต๋าจ๊ะ
เมื่อเวลา 14.36 น. ได้รับเข้าการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์เป็นที่เรียบร้อย
เฮลิคอปเตอร์บินรับผู้ป่วยชาย 49 ปี จากปางหมู แม่ฮ่องสอน ส่งรพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 13.01 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า ได้ขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศชาย อายุ 49 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ ม.4 ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประวัติ 2 ชั่วโมงก่อนมา ไม่รู้สึกตัว หายใจได้เอง มีหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ และนำส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อประเมินอาการแล้วจึงได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ได้รับการวินิจฉัยโรค hemorrhagic stroke (โรคเส้นเลือดในสมองแตก) จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนและส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
โดยประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยเฉพาะกิจสิงหนาท กองกำลังนเรศวร ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท. 212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย ร.อ.ชัยวัฒน์ จิตรเกตุ, ร.ต.สุรราช เดชก้อง, จ.ส.อ.อนุพงศ์ โคตรพรหม และ จ.ส.อ.สมชาย ยำยวน และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย นพ.กรีฑา คำเนียม, น.ส.ฉัตรพร วงศ์เผือก และ น.ส.อาภากร ประยูร
และเมื่อเวลา 14.45 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อผู้ป่วยในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ