ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อัพงบกองทุนบัตรทองปี 2566 เป็น 2 แสนล้าน คิดรายหัวราว 3300 บาท

อัพงบกองทุนบัตรทองปี 2566 เป็น 2 แสนล้าน คิดรายหัวราว 3300 บาท Thumb HealthServ.net
อัพงบกองทุนบัตรทองปี 2566 เป็น 2 แสนล้าน คิดรายหัวราว 3300 บาท ThumbMobile HealthServ.net

ครม.อนุมัติงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ปี 2566 ภายในวงเงิน 204,140.03 ล้านบาท งบรายหัวได้รับ 3,385.98 บาทต่อประชากร ครอบคลุมค่าใช้จ่าย-ค่าบริการใน 10 หมวด


1 กุมภาพันธ์ 2565 ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายในวงเงิน 204,140.03 ล้านบาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.)


ครอบคลุม 10 หมวด ดังนี้


1. ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว

จำนวน 161,602.67 ล้านบาท (อัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,385.98 บาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 2.09



2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

จำนวน  3,978.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 5.58 แบ่งเป็น 

2.1 ค่าบริการรักษาฯ
จำนวน  3,402.78 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 (ร้อยละ) 3.38
 
2.2 ค่าบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
จำนวน  575.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 133.62



3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

จำนวน  9,952.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 2.27

 

4. ค่าบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง


จำนวน  1,071.47 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 (ร้อยละ) 7.21 แบ่งเป็น

4.1 ค่าบริการเพื่อควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
จำนวน 997.85 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 (ร้อยละ) 8.74

4.2 ค่าบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
จำนวน 73.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 19.92



5. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พันที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


1,490.29 ล้านบาท (เท่ากับงบที่ได้รับปี 2565)



6. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

จำนวน 1,265.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 27.83



7. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว (ทีม PHC)

จำนวน 188.85 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 (ร้อยละ) 40.85 แบ่งเป็น 

7.1 ค่าบริการด้วยทีม PHC 127.26 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 (ร้อยละ) 52.63
7.2 ค่าบริการรับยาที่ร้านยา 12.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 46.24
7.3 ค่าบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล 2.02 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 (ร้อยละ) 90.29
7.4 ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล 14.47 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 (ร้อยละ) 12.14
7.5 ค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน 32.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 557.20



8. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับ อปท.


จำนวน 2,772.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 0.07



9. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับ บริการและผู้ให้บริการ

จำนวน 437.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 54.52



10. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
จำนวน 21,381.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ) 10.98

 

รวม 204,140.03 ล้านบาท

 

 

สำหรับค่าบริการสาธารณสุขสำหรับบริการกรณีโควิด-19 ที่ปี 2565 ได้รับ 825.08 ล้านบาท นั้น ในปี 2566 ได้ตัดออกและถูกนำไปรวมกับรายการอื่นๆ แทน


สำหรับงบประมาณบริหารงานของ สปสช. วงเงิน 1,950.84 ล้านบาท นั้น มอบหมายให้ สงป. พิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้ เห็นสมควรที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเร่งดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไปโดยเร่งด่วน เนื่องจากปริมาณการใช้บริการและอัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการแก่ผู้ป่วยของกองทุนฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริหารจัดการและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณค่ารักษาพยาบาล และหากมีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เหลือจ่ายจากการดำเนินงานและในปีงบประมาณที่ผ่านมาหากมีเงินคงเหลือกรณีรายได้สูงกว่ารายจ่ายสะสม เห็นสมควรให้นำเงินดังกล่าวของกองทุนฯ มาสมทบกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไปด้วย


สปสช. 2 กุมภาพันธ์ 2565

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด