ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กินกล้วยดิบ ช่วยเรื่องโรคกรดไหลย้อนได้จริงหรือ

กินกล้วยดิบ ช่วยเรื่องโรคกรดไหลย้อนได้จริงหรือ Thumb HealthServ.net
กินกล้วยดิบ ช่วยเรื่องโรคกรดไหลย้อนได้จริงหรือ ThumbMobile HealthServ.net

ตามข้อมูลในงานสาธารณสุขมูลฐาน ผลกล้วยน้ำว้าดิบ หรือผลกล้วยน้ำว้าดิบที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง ในทางยาเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย อาการปวดท้องจุกเสียด โดยนำกล้วยดิบหั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง และบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ซ้อนโต๊ะ

กินกล้วยดิบ ช่วยเรื่องโรคกรดไหลย้อนได้จริงหรือ HealthServ
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) หมายถึง ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนขึ้นไปในลำคอ ทำให้มีอาการระคายเคืองบริเวณลำคอ แสบอกจุกเสียดลิ้นปี่ รวมทั้งอาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย
 
ตามข้อมูลในงานสาธารณสุขมูลฐาน ผลกล้วยน้ำว้าดิบ หรือผลกล้วยน้ำว้าดิบที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง ในทางยาเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย อาการปวดท้องจุกเสียด โดยนำกล้วยดิบหั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง และบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ซ้อนโต๊ะ
 
กล้วยดิบ มีสารสำคัญ ได้แก่ สารแทนนิน และสาร Sitoindoside ซึ่งมีผลช่วยบรรเทาอาการ
กรดไหลย้อน โดยสารแทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้ สาร Sitoindoside และ
สาร Leucocyanidins มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และเนื่องจากสารออกฤทธิ์ Sitoindoside เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ การใช้ในระยะยาวจึงต้องระมัดระวังเรื่องผลข้างเคียง เพราะยังไม่มีการศึกษาพิษ
แบบเรื้อรังของสารกลุ่มนี้
 
หากมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ควรปรับพฤติกรรมในการบริโภคและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น
  1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ชา กาแฟ น้ำผลไม้
  3. หลีกเลี่ยงอาหารเปรี้ยวจัด อหารมัน อาหารรสเผ็ด
  4. ควบคุมน้ำหนัก ในแต่ละมื้ออาหารไม่รับประทานอาหารในปริมาณมากไป
  5. ไม่ควรนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร ควรเว้นระยะอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง
  6. ไม่สวมเสื้อผ้ารัดเกินไป
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิฉัยและรักษา และหากต้องการใช้กล้วยดิบหรือใช้ยาในการบรรเทาอาการ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
 
 
สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด