ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้มีโรคประจำตัว กับการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19

ผู้มีโรคประจำตัว กับการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 Thumb HealthServ.net
ผู้มีโรคประจำตัว กับการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 ThumbMobile HealthServ.net

ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม แนะการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน และผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต อัมพาต ไม่ควรหยุดยา ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ ดังนี้

ผู้มีโรคประจำตัว กับการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 HealthServ
  • ผู้ที่มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยมาก อ่อนเพลียมาก ควรรับประทานยาพาราเซตามอล อย่างน้อย 1 เม็ด แต่ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดชนิดแรง เช่น ยาแอสไพริน ซึ่งอาจไปกดระบบตอบสนองของร่างกาย ทำให้วัคซีนตอบสนองได้น้อยลง
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤกษ์ และอัมพาต ไม่ควรหยุดยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
  • ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริเวณที่ฉีดให้นานขึ้น เช่น จาก 5 นาทีเป็น 15 นาที หรือนานกว่านั้น และหากหลักฉีดวัคซีนมีอาการห้อเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้น ควรรีบพบแพทย์
  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการของโรคกำเริบ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
ทั้งนี้การใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยังมีไม่ถึงปี ซึ่งข้อมูลผลข้างเคียงร้ายแรงของวัคซีนยังพบน้อย อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ

กรมสุขภาพจิต  29 เมษายน 2564

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด