ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เรื่องเล่า - คุณหมอติดโควิดสายพันธุ์ Delta อาการและวัคซีนในระบบภูมิคุ้มกัน

เรื่องเล่า - คุณหมอติดโควิดสายพันธุ์ Delta อาการและวัคซีนในระบบภูมิคุ้มกัน Thumb HealthServ.net
เรื่องเล่า - คุณหมอติดโควิดสายพันธุ์ Delta อาการและวัคซีนในระบบภูมิคุ้มกัน ThumbMobile HealthServ.net

รศ. พญ. ประภาพร พิสิษฐ์กุล ประจำคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

รศ. พญ. ประภาพร พิสิษฐ์กุล ประจำคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เล่า  ผ่านเพจ Prapaporn Pisitkun  ของท่าน ถึงอาการติดเชื้อไวรัสโควิด ที่ตัวท่านกำลังประสบอยู่ขณะนี้ (เข้าวันที่ 12) และข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการทำงานของวัคซีนแบบต่างๆ ในการรับมือกับเชื้อโควิด นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อจะได้รู้ เข้าใจ ได้อย่างถูกต้อง เนื้อหาดังนี้

วันที่ 12 ของการติดเชื้อโควิด (14 กค 64)

เป็นไปตามคาดนะคะ ทราบผล sequencing ของไวรัสที่ติดเชื้อเป็นสายพันธุ์ Delta (B.1.617.2) ผลตรวจจาก swab ของหมอแสดงในข้อมูล COVID-19 Network Investigations (CONI) Alliance หมอ hi-lighted ด้วยสีแดงนะคะ

ล่าสุดมีข้อมูลตีพิมพ์ในวารสาร Science (DOI: 10.1126/science.abg6296) พบว่าในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศปิดและมีปริมาณไวรัสสูงๆ ที่มีการถ่ายเทอากาศไม่ดี (หรือไม่มี filter ที่ดัดจับไวรัสได้) ถ้าเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นนานๆในที่สุดแล้วเราก็จะต้องหายใจเข้าปอดไปอยู่ดี (ไม่ว่าหน้ากากที่เราใส่จะดีเพียงใด) สิ่งนี้คงเป็นปัจจัยที่ทำให้หมอติดเชื้อด้วยค่ะ
 
เพราะฉะนั้นถ้าต้องเข้าไปในสถานที่แบบนั้นอย่าอยู่นานนะคะ เพราะจะมีโอกาสรับเชื้อได้มากขึ้น
 
จากข้อมูลที่ทราบกันดีว่าสายพันธุ์เดลต้ามีการกลายพันธุ์ที่เพิ่มความสามารถในการติดเชื้อได้ดีและสามารถเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์มนุษย์ได้ดี ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายได้เร็วมีระยะฟักตัวที่สั้นและทำให้มีอาการแสดงได้เร็วดังนั้นการรู้ว่าเราเกิดการติดเชื้อโควิดได้เร็วเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็วและลดโอกาสการเกิดข้อแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ  การเข้าถึงการตรวจได้เร็วจะช่วยในส่วนนี้มาก (หวังว่าการปลดล็อคการตรวจหลายอย่างจะทำให้ขั้นตอนนี้เร็วขึ้น)
เรื่องเล่า - คุณหมอติดโควิดสายพันธุ์ Delta อาการและวัคซีนในระบบภูมิคุ้มกัน HealthServ

โควิดสายพันธุ์ Delta และวัคซีน Sinovac

วันนี้หมอเลยมาเล่าอาการของการติดเชื้อโควิด สายพันธุ์ Delta ของหมอให้ฟังกันและดูว่าการฉีด Sinovac ช่วยเราอย่างไรนะคะ
 
โดยอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิดจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
 
1. ระยะแรกของการติดเชื้อ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเริ่มต้นคล้ายเป็นหวัดทั่วไปนะคะ มีไข้ ปวดเมื่อยตัว มีน้ำมูก ระคายคอ คันคอ เจ็บคอ อาการเหล่านี้แถบจะแยกไม่ได้จากอาการหวัดทั่วไปเลย แต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่น ดูเหมือนจะเป็นอาการที่ค่อนข้างจำเพาะกับการติดเชื้อโควิด (แต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่นนี้ ไม่ได้เกิดในวันแรกๆ จะมาพร้อมๆกับอาการคัดจมูกและมีน้ำมูก) ถ้าดูในรูปจะเห็นว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ไวรัสเพิ่มจำนวนในร่างกาย การรักษาก็คือการรักษาตามอาการ (ให้ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก แก้ไอ เจ็บคอ) และการให้ยาต้านไวรัสในช่วงนี้จะช่วยลดปริมาณไวรัสลงและช่วยให้มีโอกาสการเกิดอาการแทรกซ้อนลดลง โดยระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ การทำงานของภูมิคุ้มกัน
 
การฉีดวัคซีนช่วยเราอย่างไรในระยะนี้ วัคซีนที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด CD8 T cells ให้มีความทรงจำต่อเชื้อโรคได้ดีจะทำให้เมื่อร่างกายเรารับเชื้อเข้าไปแล้ว CD8 T cells เหล่านี้จะเป็นกองหน้าที่แข็งแรงและมีความทรงจำกับเชื้อโรคที่เคยเห็นตอนได้วัคซีนกระตุ้นก็จะออกมาขจัดเชื้อโรคและอาจทำให้เรารับเชื้อแต่ไม่มีอาการเลยก็ได้ โดยวัคซีนที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้น CD8 memory T cells ที่ดีคือ mRNA vaccine และ Viral vector DNA ค่ะ ส่วน Sinovac ซึ่งใช้ตัวกระตุ้นภูมิเป็น Alum จะมีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้าง antibody ได้ดี แต่ไม่ค่อยกระตุ้น CD8 memory T cells (อันนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ Sinovac ป้องกันการติดเชื้อได้ไม่ค่อยดีค่ะ)  
 
แล้ว Sinovac ช่วยระบบภูมิคุ้มกันเราตรงไหน
เมื่อเรารับเชื้อเข้ามาในร่างกาย ตัวเชื้อจะจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ในทางเดินหายใจ แล้วหมุดเข้าไปในเซลล์ไปใช้อุปกรณ์ของใช้ทั้งหลายในเซลล์ของเราเพื่อเพิ่มจำนวนไวรัส และเมื่อไวรัสกินอยู่หลับนอนในเซลล์เราเรียบร้อยแล้วไวรัสก็ทำลายผนังเซลล์ทำให้เซลล์ตายและย้ายไปอยู่บ้านใหม่  เมื่อเซลล์ตายก็เหมือนกับบ้านพังต้องมีเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆมาเก็บกินซากปรักหักพังรวมทั้งออกมารบกับไวรัสตัวร้ายที่ทำลายบ้านช่อง ดังนั้นการปล่อยให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ง่ายๆและเพิ่มจำนวนเร็วๆจะทำให้เกิดการอักเสบตามมาและการอักเสบที่มากๆ จะนำไปสู่ระยะที่สองของการติดเชื้อ
 
2. ระยะที่สองของการติดเชื้อ
เมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็มีโอกาสลุกล้ำเข้าไปสู่ปอดและทำให้เกิดการอักเสบได้ โดยการดำเนินของโรคระยะที่สองจะอยู่ในช่วงปลายสัปดาห์แรกต่อกับสัปดาห์ที่สอง  ในช่วงนี้ถ้าภูมิคุ้มกันของเราสามารถจัดการขจัดเชื้อโรคได้เร็วเราก็อาจไม่เกิดปอดอักเสบหรือเกิดเล็กน้อยและสามารถดีขึ้นได้
 
แต่ถ้าภูมิคุ้มกันเราคุมไวรัสไม่อยู่อะไรจะเกิดขึ้น  จะเกิดการสู้รบกันระหว่างเม็ดเลือดขาวกับเชื้อโรค มีการใช้อาวุธ ทิ้งระเบิด (cytokine เป็นอาวุธของเม็ดลือดขาวที่ใช้สั่งการและทำลายไวรัส) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Cytokine storm เกิดขึ้น และเมื่อเกิดภาวะนี้แล้วก็ต้องมีการใช้ยาต้านอักเสบกลุ่ม steroid หรือยา biologics อื่นๆเพื่อหยุดการอักเสบ
 
ดังนั้น Protective immunity ที่ได้จาก Sinovac ก็จะมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถจัดการขจัดไวรัสไปให้เร็วขึ้นและการอักเสบและการลุกลามไปที่ปอดเกิดลดลง ถึงเป็นที่มาของข้อมูลที่ Sinovac ช่วยลดอาการรุนแรง ลดการตายในผู้ป่วยติดเชื้อโควิดไงคะ
 
สำหรับข้อสังเกตของผู้ติดเชื้อโควิดว่าเราจะเริ่มมีอาการของปอดอักเสบร่วมไหม  แนะนำว่าให้วัด oxygen ปลายนิ้วมือก่อนและหลังออกกำลังกายสัก 3 นาที ถ้าลดลงหลังออกกำลังกายคงต้องสงสัยว่าอาจมีอาการของปอดอักเสบร่วมด้วย
 
ทีนี้มาดูอาการของหมอก็จะเห็นว่าไม่ใช่ mild case ซะทีเดียวเพราะวันที่ 5 ของการติดเชื้อก็มีค่าเม็ดเลือดขาว lymphocyte ที่ต่ำ (จริงๆแล้วลดลงทั้งเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือดด้วย ถ้าเทียบกับผลการตรวจร่างกายเมื่อก่อนหน้านี้) มีค่าการอักเสบ CRP เพิ่มขึ้น มีตับอักเสบ และ CT chest พบว่ามีปอดอักเสบ 5%  ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ค่อนข้างตกใจพอสมควรเพราะเรารู้เรื่องกลไกการเกิดโรคด้านภูมิคุ้มกันของโควิดค่อนข้างละเอียด กังวลว่าเราจะเดินหน้าไปเป็น cytokine storm ไหม ต้องได้ยา steroid ไหม เมื่อมีปอดอักเสบหมอเลยได้ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้เวลา 2 วันหลังได้ยาต้านไวรัสแล้วอาการก็ดีขึ้น ซึ่งหมอคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่ดีขึ้นคงมีส่วนจากระบบภูมิคุ้มกันที่เคยได้รับการกระตุ้นด้วย Sinovac มาสองเข็ม ถึงแม้ว่าภูมิคุ้มกันจะตกและทำให้ติดเชื้อ แต่ memory cells ทั้งหลายก็คงจะพอมีให้เรียกกลับมาทำงานขจัดเชื้อโรคได้ทันในช่วงปลายสัปดาห์แรก และส่วนตัวไม่ได้มีโรคประจำตัวในกลุ่มเสี่ยง (นอกจากอยู่ในกลุ่มอายุที่ระดับ antibody ลดลงเร็ว) และเป็นคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ตอนเม็ดเลือดขาวต่ำก็ออกกำลังกายในห้องพักกับลูกชาย) ถึงแม้จะมีปริมาณเชื้อค่อนข้างมาก (ถ้าจำได้ Ct 18)  ก็สามารถรอดกลับมาหายได้ด้วยการมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ Delta ที่แข็งแรงมากขึ้นค่ะ และการป่วยครั้งนี้ได้เข้าโครงการวิจัยของทางรามาธิบดีที่ทำการตรวจและติดตามผู้ป่วยโควิดด้วยค่ะ หวังว่าตัวเองจะไม่เกิด long term side effect ใดๆ ตามมา
 
สุดท้ายนี้อยากบอกทุกท่านว่าในเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้วัคซีนก็คงช่วยเราไม่ได้ 100% เราคงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันของเราเองให้ดี
 
ป.ล. หวังว่าจะเข้าใจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแบบง่ายๆที่เล่ามานี้นะคะ
 
ไว้ครั้งหน้าจะมาเล่าหลักการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนแต่ละเทคโนโลยีและวิธีง่ายๆของการเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการฉีดวัคซีนค่ะ
เรื่องเล่า - คุณหมอติดโควิดสายพันธุ์ Delta อาการและวัคซีนในระบบภูมิคุ้มกัน HealthServ

จุดเริ่มต้น (2 กรกฎาคม 2564)

เมื่อ Immunologist ติด Covid
มีเวลาแล้วค่ะ 14 วัน 
ใช่ค่ะ I got both Sinovac and Covid ค่ะ
 
จริงๆแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครเขียนถึงประสบการณ์การติดเชื้อโควิดลง public เพราะว่าอาจมีผลต่อหน้าที่การงานของแต่ละท่าน
 
แต่ส่วนตัวขอแสดงความคิดเห็นในฐานะแพทย์ระบบภูมิคุ้มกัน ครูบาอาจารย์ และผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดนะคะ (ยาวหน่อยนะคะ) โดยมีจุดประสงค์ว่าข้อมูลที่เล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของทุกคนและแสดงข้อมูลที่เป็นจริง (มีคนบอกให้เขียนเคสรีพอร์ต)
 
ขอให้ทุกคนตระหนักและมีสติมากๆค่ะ
 
การที่เราเป็นทั้งแพทย์และนักวิจัยและอาจารย์
 
ส่วนตัวมักจะสอนให้นักเรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและให้ตั้งคำถาม และอย่าเชื่อทุกสิ่งที่ครูสอน (ถ้ามันไม่ logic) ให้ค้นคว้าหาความรู้ (www) และถ้ารู้มากกว่าครูให้กลับมาเล่าให้ฟังด้วย
 
โดยทั่วไปนศพ.จะถามแค่ว่า “ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร “ ในเวลาซักประวัติผู้ป่วย แต่คำถามสุดท้ายที่ไม่ค่อยถามกันคือ “ทำไม” ซึ่งในหลายๆสถานการณ์ถ้าเราเข้าใจว่าทำไมถึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น เราจะแก้ปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น โดยการถามว่าทำไมนั้นเป็นการถามในเชิงสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหามากกว่าจะตามหาคนผิด
 
โดยส่วนตัวคิดว่าเด็กๆไม่ค่อยได้ถูกอนุญาตให้ตั้งคำถามว่า “ทำไม” มาตั้งแต่ในโรงเรียน เลยคิดว่าไม่มี option นี้ให้ตั้งคำถามได้ 
 
กลับมาสู่เรื่องของเรากัน
 
ดังนั้นในฐานะแพทย์ระบบภูมิคุ้มกันเลยได้ทำการตรวจหาภูมิคุ้มกัน Neutralizing antibody ของตัวเอง เพื่อจะได้เข้าใจระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อการตอบสนองต่อวัคซีน (การไม่มีคำแนะนำว่าตรวจภูมิคุ้มกันแค่ไหนถึงป้องกันได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรจะตรวจ เพราะว่าถ้าไม่ตรวจและเก็บข้อมูลก็จะไม่มีวันรู้สักทีว่าระดับเท่าไหร่ถึงจะพอจะป้องกันได้)
 
ดังนั้นหลังฉีดวัคซีน Sinovac ครบที่ 2 สัปดาห์ ตัวเอง ก็ได้ตรวจระดับ NAb ซึ่งก็สูงถึง 92.9% แต่พอติดตามไปหลังฉีดวัคซีนครบที่ 2 เดือน ค่า NAb ลดลงมาเหลือ 65.7%  และในช่วงที่ค่า NAb 65.7% ก็เป็นช่วงที่ตรวจ COVID-19 detected ที่ Ct 18
 
โดยคาดว่าการติดเชื้อนี้ได้มาจากการ Contact positive case ในห้องแล๊ป เย็น อากาศปิด นานประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ในขณะที่ตัวเองใส่ N95 ค่ะ ใช่ค่ะ N95 (แต่ no Faceshield) และก่อนหน้าที่จะเข้าไปใช้ห้องแล๊ปนี้มีคนที่มาใช้เครื่องมือที่มีอาการไอค่อนข้างมากอยู่ก่อน และจากการได้รับอาหารมาจากเคสที่บวกเหมือนกัน แล้วไปแยกนั่งกินกันคนละห้องกัน ข้อสำคัญคือเคสที่บวกด้วยกันก็ฉีด Sinovac ครบ 2 เข็มเรียบร้อยและเช็ค NAb อยู่ที่ 60.04%
 
สิ่งเหล่านี้บอกอะไรเราบ้าง
 
บอกว่า COVID 19 รอบนี้ติดง่ายมากๆค่ะ
 
คนที่ฉีดวัคซีนครบทั้งสองคนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นทั้งคู่ก็สามารถติดเชื้อได้หรือแพร่ให้กันได้หรือในที่อากาศปิดเย็นที่เคยมีคนติดโควิดแพร่เชื้อไว้ก็ยังสามารถติดได้
 
real world data (ประสบการณ์ตรง) ที่เมื่อฉีด Sinovac ไปเพียง 2 เดือน ก็มีภูมิคุ้มกันที่ลดลง (ซึ่งไม่ถึงกับหายไปเลยนะคะ ก็แค่ลดลง 30%) แต่ก็ตำ่พอที่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ได้ค่ะ (คิดว่าเราน่าจะโดนสายพันธุ์ Delta แน่ๆเลย)
 
ดังนั้น Sinovac ไม่กันติดเชื้อนะคะ confirmed กับ real world data อื่นๆทั้งในและนอกประเทศ
ส่วนตัวขอแนะนำให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนตั้งการ์ดสูงๆเข้าไว้  ใครที่ฉีด Sinovac ไป 2 เดือนแล้ว ภูมิคุ้มกันคงเริ่มลงแล้วค่ะ (ตัวเองฉีดครบหลังสงกรานต์ค่ะ) พยายามตรวจคนไข้ Telemedicine ให้มากเท่าที่จะทำได้นะคะ และแนะนำใส่ N95 ตรวจคนไข้ในห้องแอร์ Faceshield ด้วยก็ดีนะคะ ส่วนคนอื่นๆ work from home ได้ทำนะคะ ตัวเองอยาก Work from home มากกกกก
 
แต่ด้วยลักษณะงานทำให้ไม่สามารถทำได้
 
แล้ว Sinovac กันอาการรุนแรงได้ไหม (เพราะดูจากค่า Ct ที่ 18 ก็แสดงว่าปริมาณเชื้อในตัวเราก็น่าจะเยอะพอควรค่ะ) อันนี้จะมาเล่าให้ฟังครั้งหน้าว่าอาการเราเป็นอย่างไร (ถ้ารอดมาได้นะคะ 555)
Back to basic immunology อีกครั้ง
 
การที่จะหยุดการระบาดก็จะต้องเกิดจากการมี Herd immunity โดยสามารถเกิดได้ 2 ทาง
1. จากวัคซีน ซึ่งก็ต้องใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและฉีดให้ทั่วถึง หรือ
2. ให้ติดเชื้อกันให้หมด เป็น natural selection process ใครมีสุขภาพดีภูมิคุ้มกันดีก็อยู่รอด หรือ อ่อนแอก็พ่ายแพ้ไป
 
เราจะเลือกจะอยู่กันแบบไหน
 
สุดท้ายอยากฝากไปถึงผู้บริหารประเทศที่มีใจเป็นธรรมและนึกถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์คนไทยด้วยกัน โดยไม่ควรจะคิดถึงเรื่องผลประโยชน์ใดๆนอกเหนือจากการช่วยชีวิตคนไทยด้วยกันและช่วยให้บุคคลากรการแพทย์ปลอดภัย โดยให้จัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพดีๆเข้ามาเถอะค่ะ มาให้พอ มาช้าก็ดีกว่าไม่มาเลย (เข้าใจได้ว่าไปต่อแถวช้าแล้วจะมาแซงคิวขอวัคซีนเขามาก่อน ไม่ใหญ่จริงทำไม่ได้หรอกค่ะ) แต่ถ้ามาช้าเกินไปเราอาจมี Herd immunity แบบติดเชื้อกันไปเองเรียบร้อยแล้ว
 
นอกจากนี้ควร Boost เข็มสามให้บุคคลากรทางการแพทย์เถอะค่ะ ขอ mRNA ที่มีประสิทธิภาพดีๆหน่อยเพราะว่าถ้า 1 คนป่วยจาก Covid แล้ว ก็มีผลต่อผู้ป่วยโรคอื่นๆอีกหลายคนเลยค่ะ (ตัวเองคงยังไม่ต้องใช้เข็มสามไปอีกสักพักใหญ่ๆ) 
 
และการจะ Boost Sinovac เข็มสามเพื่อให้ภูมิคุ้มกันขึ้นไปก็ขอให้คิดหนักๆ เพราะก็คงจะ Boost ขึ้นได้ดีจริง แต่ภูมิคุ้มกันจะอยู่นานไหม (ดูจากผลเลือดของตัวเองที่ตรวจเจอว่าหลังเข็มสองก็ขึ้นไปดี 92% แล้ว แต่ก็ตกลงมาอย่างรวดเร็วเมื่อเวลาผ่านไป เพียงแค่ 2 เดือน) และข้อมูลที่ Boost เข็มสามแล้วภูมิคุ้มกันมันอยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ยังไม่ทราบ 
 
อย่างไรก็ตามอาจมีผู้โต้แย้งว่าเข็มแรกคนทั่วไปยังไม่ได้ฉีดเลย เราด้อยค่า Sinovac เกินไปไหม 
 
ก็ขอตอบเลยว่าเราให้ค่าตามจริง Sinovac อาจช่วยให้เราไม่เจ็บหนักไม่ตาย ถ้าไม่มีให้เลือกก็ฉีด Sinovac ค่ะ เราต้องไม่ตายก่อน 
 
แต่ก็ต้องยอมรับว่าสามารถไปแพร่เชื้อต่อให้กับคนอื่นได้อีกนะคะและการระบาดก็จะไม่หยุดยกเว้นทุกคนจะติดกันไปหมดซะก่อน
 
โดยเฉพาะถ้าเป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่รับเชื้อก็สามารถไปแพร่เชื้อให้คนป่วยได้ค่ะ 
สุดท้ายจริงๆคือ Sorry for inconvenience สำหรับทุกคนทุกงานที่ต้องยกเลิกหรือเลื่อนและฝากงานนะคะ

ขอบคุณทุกคนมากๆค่ะ
ขอให้ Stay Safe

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด