10 ธันวาคม 2564 นพ.ยง ภู่วรวรรณ รายงานการตีพิมพ์ผลงานการวิจัยของทีมนักวิจัยไทย เรื่อง "โควิด 19 วัคซีน การกระตุ้นเข็ม 3" ด้วยวัคซีน AstraZeneca ตามหลังวัคซีนเชื้อตาย และ "ได้ผลดี" ซึ่งในประเทศไทย ได้ริเริ่มทำก่อนหน้าประเทศในตะวันตก
งานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสาร "VACCINE" ที่เก่าแก่ และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ดังรายละเอียดอ่านได้จากวารสาร
นพ.ยง ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการศึกษาอีกฉบับ เกี่ยวกับการกระตุ้นเข็ม 3 ตามหลังวัคซีนเชื้อตาย ด้วยวัคซีนชนิดต่างกัน ได้แก่ กระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตาย (Sinopharm) ไวรัส Vector (AstraZeneca) หรือ mRNA (Pfizer) ที่ระยะเวลา 3 เดือนหลังเข็ม ที่ 2
ผลงานชิ้นนี้
"ได้ส่งไปในวารสารแล้ว พร้อมกับเผยแพร่ใน MedRxiv "
medrxiv.org/cgi/content/short/2021.12.03.21267281v1
มีข้อสรุป ไว้ว่า
"จะเห็นว่าทั้ง 3 วัคซีนที่ใช้กระตุ้น สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานขึ้นได้ ในระดับที่แตกต่างกัน ถ้าวัดภูมิต้านทานต่อ Spike โปรตีน การกระตุ้นด้วย mRNA จะได้ภูมิต้านทานสูงสุด รองลงมาคือ virus Vector แล้วตามด้วยเชื้อตาย"
วัคซีนเชื้อตายมีส่วนของไวรัสทั้งตัวจึงมี nucleocapsid จึงตรวจพบภูมิต้านทานต่อ nucleocapsid
การตรวจวัดซีรั่ม IgA การตอบสนองสูงใน mRNA และไวรัส Vector มากกว่าวัคซีนเชื้อตาย
ตามที่เคยกล่าวมาแล้ว วัคซีนเชื้อตายเป็นตัวเริ่มต้นที่ดี แต่เป็นตัวกระตุ้นที่ไม่ดี ในการกระตุ้น ควรใช้วัคซีน virus vector หรือ mRNA
ยง ภู่วรวรรณ
10 ธันวาคม 2564