ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง

คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง  Thumb HealthServ.net
คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง  ThumbMobile HealthServ.net

โควิดระบาดระลอกใหม่ สงกรานต์ 64 นี้ รุนแรงและรวดเร็ว หลายหน่วยงานด้านสุขภาพ ได้ออกคำแนะนำให้ได้ทราบกันเพื่อการปฏิบัติตัว ดูแลตัวเองและคนรอบข้าง แนะนำปฏิบัติโดยเคร่งครัด

คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง  HealthServ
 

ประชาชนทั่วไป เมื่อไหร่ต้องไปตรวจโควิด

 

คำแนะนำเมื่อใกล้ชิด ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 LINK

คำแนะนำเมื่อใกล้ชิด ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
คำแนะนำเมื่อใกล้ชิด ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
คำแนะนำเมื่อใกล้ชิด ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
 
เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยหยุดงานอย่างน้อย 10-14 วันหรือจนกว่าจะไม่มีอาการ
สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่างเสมอ
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน
 
หยุดงานทันทีเมื่อทราบข่าว อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่สัมผัสครั้งสุดท้าย
ควรตรวจหาเชื้อหลังสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ 3-5 วัน
สังเกตอาการทางระบบทางเดินหายใจและวัดไข้ทุกวันหากผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่างเสมอ
ผู้สัมผัสบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ที่ยังตรวจไม่พบเชื้อ
 
ยังไม่ต้องหยุดงาน แต่ให้เว้นระยะห่าง งดไปที่ชุมชน
สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและล้างมือเป็นประจำ
เฝ้าสังเกตอาการ หากผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที
คนทั่วไปที่ไม่มีประวัติเสี่ยงและไม่มีอาการ
 
เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ล้างมือเป็นประจำ
งดเว้นเดินทางไปที่ที่มีคนหนาแน่นและระบายอากาศไม่ดี
ข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2564
ที่มา : อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล

เตรียมพร้อมรับโควิด-19 ระลอกใหม่ LINK

เตรียมพร้อมรับโควิด-19 ระลอกใหม่ คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
เตรียมพร้อมรับโควิด-19 ระลอกใหม่ คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
สาเหตุการแพร่ระบาดของระลอกใหม่
เกิดจากผู้ป่วยที่มีการหลุดรอดจากระบบคัดกรองเข้ามาตาม
ช่องทางต่าง ๆ ที่ผิดกฎหมาย การป้องกันการแพร่ระบาดระลอกใหม่ จึงควรมีมาตรการสืบค้นผู้ป่วยหล่นี้ที่มีโอกาสเข้ามาในที่ชุมชน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการระบาดของโควิด-19
การป้องกันซื้อโควิด- 19 กลายพันธ์
 
เชื้อกลายพันธุ์ในระลอกใหม่ ทำให้การติดเชื้อมีง่ายมากขึ้น แต่ความรุนแรงของอาการไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก การป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจจึงเป็นสิ่งที่เราต้องเคร่งครัดมากขึ้น เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และลดระยะวลาอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
การรักษาโรคโควิด-19
 
เนื่องจากมีการพัฒนาองค์ความรู้กี่ยวกับโรคโควิด-19 พิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยที่ขรับการรักษาในห้องไอซียูมีอัตราการเสียชีวิตลดลง การรณรงให้สวมหน้กากอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ จึงเป็นมาตรการที่สำคัญอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังรอวัคซีนโควิด-19
 
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม 2564
ที่มา : ผศ. นพโอภาส พุทธเจริญ

ป้องกันการติด โควิด-19 แบบ Swiss Cheese ด้วยตนเอง LINK

ป้องกันการติด โควิด-19 แบบ Swiss Cheese ด้วยตนเอง คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
ป้องกันการติด โควิด-19 แบบ Swiss Cheese ด้วยตนเอง คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
การป้องโควิด-19 แบบ Swiss Cheese คือ การลดช่องโหว่ที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อด้วยการนำวิธีป้องกันต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว
 
เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ มารวมซ้อนกับแนวทางป้องกันอื่น ๆ เช่น ลดระยะเวลาเสียงสัมผัสเชื้อในพื้นที่แออัด ซึ่งจะช่วยลดโอกาสผิดพลาดในการติดเชื้อได้มากขึ้น

ตัวอย่าง การป้องกันแบบ Swiss Cheese ด้วยตนเองที่เห็นได้ชัด คือ การใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ และการลดระยะเวลาในการที่จะไปสัมผัสเชื้อ (exposure time) ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้
 
การเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะที่แออัด ไม่ควรใช้วลาอยู่ในนั้นนาน ๆ
 
ไม่พูดคุยในลิฟต์ ควรสวมหน้ากากอนามัย และลดการสัมผัสในลิฟต์ หากต้องกดปุ่มในลิฟต์ให้ใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
 
สถานที่ที่คนหนาแน่น และการระบายอากาศไม่ดี เช่น ห้างสรรพสินค้า ควรใช้เวลาทำธุระให้สั้นที่สุด
 
การเดินทางด้วยเครื่องบิน ควรวนระยะห่างช่วงรอขึ้นหรือลงเครื่อง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พร้อมกับเช็กอินจุดที่เดินทางเข้า-ออก และพกแอลกอฮอล์เจลติดตัวเป็นประจำ
 
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม 2564
ที่มา : ผศ. นพ.โอภาส พุทธเจริญ

หลักการแพร่กระจ่ายของเชื้อโควิด-19 LINK

หลักการแพร่กระจ่ายของเชื้อโควิด-19 คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
หลักการแพร่กระจ่ายของเชื้อโควิด-19 คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
การตะโกน ไอ หรือจาม อาจทำให้สารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อเกิดฝอยละอองที่มีอนุภาคเล็กกว่า 5 ไมครอน ทำให้เชื้อล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานในที่อับ และกระจายได้ไกลกว่า 2 เมตร ถ้าไม่ใส่หน้ากากอนามัยส่วนการพูดคุยสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อมักจะมีอนุภาคขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน และตกลงพื้นอย่างรวดเร็วที่ระยะไม่เกิน 1 เมตร
 
ระยะวลาของเชื้อโควิด-19 ที่อยู่ตามสถานที่หรือสิ่งของต่างๆ
– สถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำมาก เช่น 0 องศา เชื้ออยู่ได้นาน 30 วัน
– วัสดุที่เป็นพลาสติก เชื้ออยู่ได้นาน 3-4 วัน
– แก้วน้ำ เชื้ออยู่ได้นาน 2 วัน
– สถานที่ปิด ระบายอากาศไม่ดี เชื้ออาจล่องลอยในอากาศได้นาน 3 ชม.
ข้อแนะนำควรเว้นระยะห่าง ยิ่งห่างยิ่งดี
– สถานที่ปิด (ห้องปิดที่ใช้เครื่องปรับอากาศ) ห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร (พื้นที่อย่างน้อย 4 ตารางแมตรต่อ 1 คน)
– สถานที่เปิดที่เป็นอากาศธรรมชาติ (open air) ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร (พื้นที่อย่างน้อย 1 ตารางเมตรต่อ 1 คน)
 
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม 2564
ที่มา : รศ(พิเศษ) นพ.กำพล สุวรรณพิมลกุล
 

การรับมือผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 LINK

การรับมือผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
การรับมือผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
โดยหลักการวัคซีนจะทำหน้ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รู้จักกับเชื้อโรคล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อย มีไข้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่แสดให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันกำลังถูกกระตุ้นจากวัคซีน เพื่อป้องกันไม่ให้เราเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต

อาการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19

  1. มีไข้
  2. ปวดเมื่อยตามตัว
  3. ปวด หรือระคายเคืองตำแหน่งที่ฉีด
  4. หากเกิดผลข้างเคียง ตั้งแต่การฉีดวัคซีนเข็มแรก ในเข็มที่สองก็อาจมีอาการมากขึ้นได้เล็กน้อย
  5. อาการแพ้วัคซีน อาจกิดได้แต่น้อยมากคือน้อยกว่า 1 ใน 1,000,000 คนที่ฉีด

ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19

วัคซีนจะเริ่มได้ผลอย่างน้อยต้อง 2 อาทิตย์หลังจากได้รับเข็มที่หนึ่ง แต่จะได้ผลเพียง 50% และหลังจากฉีดข็มที่สองอย่างน้อย 1 อาทิตย์ จึงจะได้ผลสูงตามผลการวิจัยของแต่ละวัคซีน
ต้องฉีดวัคซีนเข็มที่สอง จึงจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่กับผลวิจัยของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ
 

คำแนะนำจากแพทย์

ประชาชนส่วนใหญ่ควรได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง แต่ถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนก็ไม่ควรประมาทต่อการติดชื้อ และยังต้องรักษามาตรการโดยสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลด์โอกาสการติดเชื้อของตัวเองในกรณีที่วัคซีนยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ และป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ในอนาคตด้วย
 
ข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564
ที่มา : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

ปริมาณเชื้อโควิด-19 ที่มากับสารคัดหลั่ง LINK

ปริมาณเชื้อโควิด-19 ที่มากับสารคัดหลั่ง คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
ปริมาณเชื้อโควิด-19 ที่มากับสารคัดหลั่ง คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
เชื้อไวรัสโควิด- 19 ที่พบว่าปนเปื้อนในสารคัดหลั่งแต่ละชนิด
  1. น้ำมูกประมาณ 90%
  2. น้ำลายประมาณ 80%
  3. อุจจาระประมาณ 70%
  4. เยื่อบุคอหอยประมาณ 60%
  5. เลือดประมาณ 10%
  6. น้ำตาประมาณ 1%
ยังไม่มีรายงานตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเหงื่อ สารคัดหลังจากช่องคลอด และน้ำอสุจิมาก่อน
 
ระยะเวลาของเชื้อโควิด-19 ที่อยู่บนพื้นผิวต่างๆ
  • ทองแดง 4 ชม.
  • ไม้ 6-24 ชม.
  • แก้ว ผ้า 24-72 ชม.
  • กระดาษ พลาสติก 48-96 ชม.
ข้อแนะนำ
เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถอยู่บนด้านนอกของหน้ากากอนามัยได้นานมากกว่า 1 สัปดาห์ ดังนั้น ไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ และควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อที่อาจปนเปื้อนอยู่
 
ข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2564
ที่มา : อ. พญปักมา ต.วรพานิช

การระบาดของโควิด-19 แบบ Superspreader LINK

การระบาดของโควิด-19 แบบ Superspreader คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
การระบาดของโควิด-19 แบบ Superspreader คำแนะนำทุกแง่มุมการป้องกันโควิด-19 และดูแลตัวเอง
การระบาดแบบ Superspreader คือ การแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าแหล่งกำเนิดเชื้อ หรือจำนวนผู้ป่วยจะมีเพียคนเดียว เช่น ผู้ป่วยโรโควิด-19 ข้าไปในพื้นที่ที่มีความแออัดและไม่มีมาตรการป้องกัน ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บริวณนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

การป้องกันการเกิดการระบาดแบบ Superspreader
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ
  • เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ
คำแนะนำสำหรับบุคคลที่เข้ไปในพื้นที่เสี่ยงเกิด Superspreader
  1. เมื่อทราบว่าตนเองเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวทันทีเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน นับจากวันที่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยง
  2. หากมีอาการ เช่น มีใช้สูง ปวดเมื่อย เหนื่อย เพลีย ไอ คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรืออาการที่พบได้น้อย เช่น ถ่ายเหลว ท้องเสีย เจ็บคอ ในช่วงเวลาเฝ้าระวังหลังกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม 2564
ที่มา : อ. พญ.ปัทมา ตวรพานิช

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด