ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคจิต หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ

โรคจิต หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ HealthServ.net
โรคจิต หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ThumbMobile HealthServ.net

20 กันยายน 2565 ครม.มีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ.ที่กำหนดให้ เพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ เป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ขณะที่ ยกเลิกโรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ เนื่องจากโรควัณโรคมีแนวโน้มที่จะลดลงและใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้

 
สาระสำคัญ
 
สำนักงาน ก.พ. ได้เสนอ ปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ว่าจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ที่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนด 
 
โดยการปรับปรุงครั้งนี้ ก.พ. เสนอ ให้ยกเลิก และกำหนดเพิ่ม เงื่อนไข ดังนี้
 
ยกเลิก โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ เนื่องจากโรควัณโรคมีแนวโน้มที่จะลดลงและใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้ 
 
กำหนดเพิ่ม  ให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่  เป็น "ลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553"
 
 
ทั้งนี้ โรค ที่เป็นลักษณะต้องห้ามและยังคงอยู่ใน กฎ ก.พ. เดิม ตามมาตรา 36 ข. (2) ได้แก่ 
- โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
- โรคติดยาเสพติดให้โทษ
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
 
 
และได้เพิ่ม ข้อ 5 ระบุว่า "วิธีการตรวจโรคตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด"
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด