ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

10 ความเข้าใจสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) นำความยั่งยืนสู่สังคมไทย

10 ความเข้าใจสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) นำความยั่งยืนสู่สังคมไทย HealthServ.net
10 ความเข้าใจสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) นำความยั่งยืนสู่สังคมไทย ThumbMobile HealthServ.net

สังคมคาร์บอนต่ำจะเป็นคำที่ต้องเจอ ต้องได้ยินจากนี้ไปอีกแสนนาน ตราบเท่าที่สังคมประเทศและโลกยังต้องเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน และมนุษย์ได้รับผลกระทบจากปัญหานั้น สังคมคาร์บอนต่ำจะเป็นคำตอบและทางออกของปัญหาที่สั่งสมมา ทางออกของปัญหาที่คุกคามมนุษย์จากวันนี้ไปอีกแสนนานหากไม่เริ่มต้น สังคมคาร์บอนต่ำคือทางออกสำหรับคนรุ่นลูกหลานที่คนรุ่นนี้ต้องตระหนัก เริ่มต้นลงมือเปลี่ยนแปลงมัน สังคมคาร์บอนต่ำไม่ไกลเกินจริง และสังคมคาร์บอนต่ำเป็นจริงได้ด้วยความร่วมมือของคนทั่วโลกและเราคนไทย คือหนึ่งในนั้น


คำว่า "คาร์บอน" หมายถึง "ก๊าซเรือนกระจก" (greenhouse gas) ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนโดยก๊าซเรือนกระจกมีหลายชนิดและมีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warming potential, GWP) ไม่เท่ากัน

ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารโดยทั่วไป กิจกรรมหรือการดำเนินการที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลคสาเหตุของภาวะโลกร้อน จึงนิยมเรียกกันโดยย่อว่า "คาร์บอนต่ำ" เช่น สังคมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจดาร์บอนต่ำ เทศบาลคาร์บอนต่ำ ฯลฯ


 

10 ความเข้าใจสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)




1. สังคมคาร์บอนต่ำคืออะไร

 
คือสังคมที่ทุกคนและทุกภาคส่วนในสังคมร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือการปล่อยคาร์บอนในกิจกรรมต่างๆ อย่างจริงจังและได้ผลพร้อมไปกับสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี รักษาสภาพแวคล้อมทางธรรมชาติ ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข
 
 

 

2. อะไรคือทางเลือกด้านพลังงานในสังคมคาร์บอนต่ำ

 
การประหยัดพลังงานเป็นพื้นฐานแรกของการลดการปล่อยคาร์บอน และสิ่งสำคัญที่สุดคือการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ มาทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นตัวการใหญ่ของการปล่อยคาร์บนสร้างปัญหาภาวะโลกร้อน
 
 
 
 
 

3. สังคมคาร์บอนต่ำเกี่ยวอะไรกับการรักษาป่าไม้

 
เพราะป่าไม้คือทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุคในการช่วยเก็บกักคาร์บอน การรักษาป่าจะช่วยดูดชับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ ในทางตรงข้าม การทำลายป่าจะเป็นการปล่อยคาร์บอนที่เก็บกักไว้ในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ ป่าไม้ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุรักษ์น้ำ แหล่งอนุรักษ์ดิน แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ได้อย่างดีในอนาคต
 
 
 

4. พื้นที่สีเขียวในเมืองสำคัญอย่างไร

 
การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองจะมีส่วนช่วยเพิ่มต้นไม้มาดูดชับคาร์บอน พื้นที่สีเขียวยังช่วยลดอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของพื้นที่โดยรอบจากการคายน้ำของต้นไม้ สร้างร่มเงาบังแดดให้แก่อาคาร ซึ่งช่วยให้ใช้พลังงานในการปรับอากาศของอาคารต่าง ๆ ลคลง ไม่นับคุณค่าทางจิตใจของมนุษย์ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเมือง
 
 
 

5. Reuse Reduce Recycle

 
การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอาศัยหลักการดูแลสิ่งแวดล้อมสามประการที่เข้าใจง่าย คือ
reuse การนำสิ่งของต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำให้มากที่สุดแทนการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
reduce ลดการผลิตและการใช้สิ่งของ ลดการใช้พลังงานที่มากเกินความจำเป็น 
recycle นำวัสดุสิ่งของที่อาจใช้ซ้ำไม่ได้แล้วกลับมาแปรรูปให้กลับมาใช้ได้ใหม่
 
 
หลักการเหล่านี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่ในการดำเนินธุรกิจ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหรืออาจสร้างรายได้จากนวัตกรรมใหม่ ๆ และผลที่สุดคือช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมทั้งหมด และนำไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอน
 
 
 

6. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 
eco-friendly หรือความเป็นมิตรต่อสิ่งแวคล้อม เป็นอีกแนวคิดสำคัญของการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ โดยการให้ความใส่ใจต่อสินค้าหรือบริการตลอดทั้งวงจรชีวิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิตหรือแปรรูป บรรจุภัณฑ์ การจัดจำหน่าย การตลาด การใช้งาน การกำจัดเมื่อหมดอายุ โดยขั้นตอนและกระบวนการทั้งหมดนี้ต้องปล่อยคาร์บอนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวคล้อมน้อยที่สุด ในทางกลับกันก็ควรจะช่วยดูดชับคาร์บอน หรือฟื้นฟูดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนด้วยความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงสอดคล้องอย่างยิ่งกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development)

 
 

7. ขยะก็ปล่อยคาร์บอนด้วยหรือ

 
สังคมทุกวันนี้เร่งการผลิตเพื่อให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจขยับก้าวหน้า ทุกคนต้องการรายได้และกำไรที่มากขึ้นเรื่อยๆ สินค้าและบริการมากมายถูกผลิตและโฆษณาสร้างความต้องการที่เกินความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต ผลสุดท้ายคือขยะปริมาณมหาศาลที่กำลังล้นโลก ซึ่งจะปล่อยก๊าซมีเทนที่มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ถึง 25 เท่า
 
การจัดการขยะเป็นสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางขึ้นได้
 
 
 

8. สังคมคาร์บอนต่ำมีตัวอย่างบ้างไหม

 
ตัวอย่างคือเมืองลดคาร์บอนหรือเมืองคาร์บอนต่ำ (low carbon city) หรือเมืองฉลาด (smart city) ที่มีการวางผังเมือง การจัดการด้านคมนาคมขนส่ง การพัฒนาเศรษฐกิจ การสร้างอาคารบ้านเรือน บนพื้นฐานการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และการดูแลสิ่งแวคล้อมให้มีพื้นที่สีเขียว รวมไปถึงการควบคุมและจัดการการปล่อยมลภาวะและขยะ
 
ตัวอย่างเช่น เมืองมัสดาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ใช้พลังงานหมุนเวียนให้เมืองทั้งเมือง โดยไม่ต้องพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเลย เรียกว่าเป็นเมืองคาร์บอนเป็นศูนย์ ประเทศญี่ปุ่นมีโครงการ Eco-Town ซึ่งเน้นการหมุนเวียนขยะและทรัพยากรทุกรูปแบบ
 
 
 
 

9. สังคมคาร์บอนต่ำจะเริ่มต้นที่เมืองไหน

 
เมืองขนาดใหญ่เป็นเมืองที่จะประสบปัญหาสิ่งแวคล้อมและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุดในอนาคตเพราะยากต่อการจัดการ การปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ขณะที่ชุมชนขนาคเล็กในระดับหมู่บ้าน ตำบลหรือเมืองเล็กๆ จะมีโอกาสสร้างความร่วมมือเพื่อเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ จัดการให้เกิดการพึ่งตนเองด้านพลังงาน น้ำ ป่า ได้ง่ายกว่า ในที่สุดก็อาจขยายเครือข่ายความร่วมมือกว้างขวางขึ้นสู่ระดับจังหวัดและภูมิภาค
 
ในประเทศไทย เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นเทศบาลคาร์บอนต่ำ ได้จุดกระแสให้เทศบาลอื่นๆ ตื่นตัว ส่วนกรุงเทพมหานครก็มีโครงการจะก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำเช่นกัน
 
 
 

10. เมื่อไรจะก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

 
การดำเนินงานของทุกภาคส่วนคงต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ระดับนโยบายของภาครัฐ เรื่อยมาจนถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สังคม การนำแนวทางต่างๆ ไปปฏิบัติอย่างจริงจังในระดับชุมชน ตำบล เมือง รวมไปถึงภาคธุรกิจภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม
 
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความสุขและความยั่งยืนในคุณภาพชีวิตของคนไทยและของโลก


จาก Low Carbon Society Guidebook 2015  (TGO.go.th)
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด