ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อย. แนะตรวจสอบฟิลเลอร์ให้แน่ ก่อนใช้บริการ

อย. แนะตรวจสอบฟิลเลอร์ให้แน่ ก่อนใช้บริการ HealthServ.net
อย. แนะตรวจสอบฟิลเลอร์ให้แน่ ก่อนใช้บริการ ThumbMobile HealthServ.net

อย. แนะผู้บริโภคที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ เลือกสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำอยู่ และตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. โดยตรวจสอบเลขทะเบียนหรือถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ไว้ ก่อนรับบริการ เพื่อความปลอดภัย


 
     เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปัจจุบันฟิลเลอร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจและมีการนำมาใช้กันอย่างมาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แนะนำผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้มากยิ่งขึ้น เน้นย้ำถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์และวิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ (Filler) เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับฉีดเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของผิวหนังโดยการเติมเต็มหรือลดเลือนริ้วรอยและร่องลึกบนใบหน้า เช่น ร่องแก้ม โหนกแก้ม หน้าผาก ใต้ตา จมูก คาง ริมฝีปาก ทำให้ร่องและริ้วรอยดูตื้นขึ้น โดยฟิลเลอร์ที่นิยมใช้มักจะผลิตจากสารที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกาย เช่น กรดไฮยาลูโรนิก เป็นต้น
 
     ฟิลเลอร์ จัดเป็น “เครื่องมือแพทย์” ที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ขายต้องขออนุญาตจาก อย. ก่อนจำหน่าย โดยฟิลเลอร์แต่ละชนิดจะมีความเหมาะสมต่อการฉีดในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายที่แตกต่างกัน รวมถึงปริมาณที่ใช้ และวิธีการฉีด ซึ่งจะมีรายละเอียดกำหนดไว้อยู่บนฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ
 
 
 
     ทั้งนี้ การฉีดฟิลเลอร์อาจพบผลข้างเคียง ได้แก่ อาการคัน ปวด บวม ตึง แดงร้อนบริเวณที่ฉีด ผิวหนังฟกช้ำ ห้อเลือด ผิวหนังติดเชื้อ พบก้อนบริเวณที่ฉีด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดดูขาวขึ้นหรือคล้ำลง หรืออาจแพ้ยาชาที่เป็นส่วนผสมของฟิลเลอร์ ทำให้เส้นเลือดอุดตัน และอาจทำให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อตาย หรือตาบอดได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้บริโภคที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ต้องเลือกคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังประจำอยู่ และควรขอใช้สิทธิตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ว่า ฟิลเลอร์ได้ผ่านการอนุญาตจาก อย. หรือไม่ โดยดูจากเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ หรือตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตได้ที่เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือ ผ่าน QR Code พร้อมกับถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ไว้เป็นหลักฐานก่อนรับบริการ
 
     รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ที่ผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้รับใบอนุญาต จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


*ภาพ pexels
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด