ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ท้องกี่เดือนถึงห้ามขึ้นเครื่อง? ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนเดินทาง?

ท้องกี่เดือนถึงห้ามขึ้นเครื่อง? ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนเดินทาง? HealthServ.net

ท้องกี่เดือนถึงห้ามขึ้นเครื่อง? ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนเดินทาง?

ท้องกี่เดือนถึงห้ามขึ้นเครื่อง? ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนเดินทาง? ThumbMobile HealthServ.net
ท้องกี่เดือนถึงห้ามขึ้นเครื่อง? ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนเดินทาง? HealthServ
 ท้องกี่เดือนถึงห้ามขึ้นเครื่อง? สภาพอากาศบนที่สูงอันตรายต่อลูกไหม? แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนเดินทาง?
ผู้ที่ตั้งครรภ์สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้หรือไม่?
 
จากสถิติทางการแพทย์ โอกาสในการคลอดก่อนกำหนดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 นอกจากนี้ ในการเดินทางโดยเครื่องบิน ผู้โดยสารที่ตั้งครรภ์จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับด้านความปลอดภัย เช่น ไม่สามารถนั่งเก้าอี้ตรงทางออกฉุกเฉินได้ เพราะผู้ที่นั่งตำแหน่งนี้ ต้องมีความพร้อมด้านร่างกาย ที่จะช่วยเหลือพนักงานต้อนรับในอากาศยาน หากเกิดเหตุฉุกเฉินได้

ดังนั้น ในการเดินทางโดยเครื่องบินทุกครั้ง ผู้ที่ตั้งครรภ์จึงจำเป็นจะต้องแจ้งอายุครรภ์ให้สายการบินทราบ ทั้งในระหว่างสำรองที่นั่งและที่เคาน์เตอร์เช็คอิน สายการบินส่วนใหญ่ มีข้อกำหนดที่ผู้โดยสารตั้งครรภ์ต้องปฏิบัติตามดังนี้ 
  1. อายุครรภ์ไม่ถึง 28 สัปดาห์
    ลงนามยินยอมในเอกสารจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบของสายการบิน
     
  2. อายุครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 28-35 สัปดาห์
    1.ลงนามยินยอมในเอกสารจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบของสายการบิน
    2.แสดงใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ซึ่งมีข้อมูลจำนวนสัปดาห์ที่ตั้งครรภ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องจะต้องมีอายุไม่เกิน 7 วัน นับจากวันที่ออกจนถึงวันเดินทาง
     
  3. อายุครรภ์เดี่ยวเกิน 35 หรือ 36 สัปดาห์
    สายการบินปฏิเสธการให้บริการ
     
  4. ครรภ์ที่มีบุตรมากกว่า 1 คน เกิน 32 สัปดาห์
    สายการบินปฏิเสธการให้บริการ
     
 สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศหรือ IATA ยังได้ให้แนวทางปฏิบัติ* สำหรับสายการบิน ในการจัดการกับผู้โดยสารตั้งครรภ์ที่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ (Medical Clearance) ในกลุ่ม ดังนี้
  • ผู้โดยสารที่ตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายกรณี ว่าสามารถเดินทางได้หรือไม่
     
  • ผู้โดยสารที่แท้งบุตร หรือมีภาวะแท้งคุกคาม หากยังมีเลือดออ กต้องให้แพทย์ตรวจ แต่ถ้าหากเป็นปกติและไม่มีอาการเจ็บปวดต่อเนื่อง เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สามารถให้เดินทางได้
 
*อ้างอิงข้อมูลจาก IATA Medical Manual (11th Edition, June 2018) Section 6 Passenger Care – General Guidelines for Medical Clearance
 
 
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
025688800
info@caat.or.th
www.caat.or.th
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด