ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไอบีเอส (IBS)

ไอบีเอสเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไส้ อาการที่พบ มีตั้งแต่ท้องเสีย ท้องผูก หรือทั้งสองอย่างสลับกัน ผู้ป่วยมักจะปวดท้อง ซึ่งเมื่อได้ถ่ายอุจจาระจะรู้สึกหายปวด หลายคนมีอาการท้องอืด แน่นท้อง ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่ค่อยสุดหรือมีมูกปนออกมาเวลาถ่ายอุจจาระ

โรคไอบีเอส … ภัยเงียบข้างๆ คุณ

ไอบีเอสก็เป็นอักษรย่อทางการแพทย์ที่อาจไม่คุ้นหูกันนัก  ทั้ง ๆ ที่มีคนจำนวนมากทั่วโลกที่มีอาการดังกล่าว  ไอบีเอส (IBS) ย่อมาจากคำเต็มว่า Irritable  Bowel Syndrome  ซึ่งยังไม่มีชื่อเรียกภาษาไทยอย่างเป็นทางการโรคลำไส้แปรปรวน ในขณะที่บางท่านเรียกว่าโรคลำไส้หงุดหงิด
 
ไอบีเอสเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไส้  ทั้งที่โครงสร้างของอวัยวะไม่มีอะไรผิดปกติ  และไม่มีพยาธิสภาพใด  อาการที่พบ  มีตั้งแต่ท้องเสีย  ท้องผูก  หรือทั้งสองอย่างสลับกัน  ผู้ป่วยมักจะปวดท้อง  ซึ่งเมื่อได้ถ่ายอุจจาระจะรู้สึกหายปวด  หลายคนมีอาการท้องอืด  แน่นท้อง  ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่ค่อยสุด  หรือมีมูกปนออกมาเวลาถ่ายอุจจาระ  ไอบีเอสแบ่งออกเป็น สามชนิดใหญ่ ๆ คือ
  • ชนิดที่มีท้องผูกเป็นอาการเด่น 
  • ชนิดที่มีท้องเสียเป็นอาการเด่น 
  • ชนิดที่มีอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน
สำหรับในประเทศไทย คาดว่าประมาณ  20-30 % ของผู้หญิงไทยกำลังถูกคุกคามด้วยโรคไอบีเอส  แต่ยังมีสัดส่วนที่น้อยที่ไปปรึกษาแพทย์  เนื่องจากไม่คิดว่าตัวเองกำลังเป็น  อาการของโรคไอบีเอส  จะเป็น ๆ หาย ๆ  เรื้อรัง  สร้างความรำคาญไปตลอดชีวิต  โดยจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ป่วย  บางคนไม่กล้าไปเที่ยวไหนไกล ๆ  เพราะกลัวจะมีปัญหาเรื่องห้องน้ำ  หลายคนต้องลางานเมื่ออาการกำเริบเพราะปวดท้องมาก ทานยาแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น  บางคนสุขภาพจิตเสื่อมเพราะกังวลว่าตนจะเป็นโรคร้าย ทำให้เครียด หวาดระแวง จนถึงขั้นซึมเศร้าก็มี
 
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคไอบีเอส  จึงยังไม่มียาเฉพาะโรคนี้หรือการรักษาที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์  แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ  เช่น ให้ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น  หรือให้ยาแก้ท้องเสียถ้ามีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่น  ให้ยาต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้เพื่อช่วยลดอาการปวดท้อง ดังนั้นผลการรักษาจึงยังไม่ได้ผลดี  ผู้ป่วยจึงมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ มักไม่หายขาด  และเมื่อเร็ว ๆ นี้  ได้มีการคิดค้นพัฒนายาสำหรับโรคไอบีเอสโดยเฉพาะขึ้น ซึ่งเป็นการรักษามุ่งไปที่พยาธิสรีระวิทยาของโรคไอบีเอสโดยตรง ซึ่งเป็นยาที่สามารถรักษาครอบคลุมอาการต่าง ๆ  ของโรค  ซึ่งได้แก่ อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกได้  จึงทำให้ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
 
ผู้ที่สงสัยว่าตนอาจเป็นโรคไอบีเอสควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์
 
อาการที่ช่วยบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไอบีเอส
  1. มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้อง และมักจะดีขึ้นหลังจากมีการถ่ายอุจจาระ
  2. ถ่ายผิดปกติ  เช่น ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือ ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
  3. อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ถ่ายปนมูก ถ่ายไม่สุด เป็นต้น

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด