ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคกรดไหลย้อน มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

โรคกรดไหลย้อน มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง Thumb HealthServ.net
โรคกรดไหลย้อน มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ThumbMobile HealthServ.net

การรักษาโรคกลดไหลย้อนนี้ มีตั้งแต่การรักษาแบบไม่ใช้ยา การรักษาด้วยยา และการรักษาโดยการผ่าตัด แบบไหนมีเงื่อนไขอย่างไร ฟังที่คุณหมอแนะนำนะคะ


  โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหารทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือแสบหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว จุกๆ ที่คอ

สาเหตุของกรดไหลย้อน Hiatus Hernia (โรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้น เข้าไปในกำบังลม หูรูดอาหารปิดไม่สนิท ทำให้กรดอาหารไหลย้อนกลับ เข้าทางหลอดอาหารได้ )
 
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ 
  • อ้วน 
  • ตั้งครรภ์ ทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน
  • ทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด ช็อกโกแลต กาแฟ รวมทั้งชนิดที่ไม่มี คาเฟอีนด้วย
  • อาหารมัน ของทอด หอมกระเทียม มะเขือเทศ หรือซอสมะเขือเทศ 
  • Peppermint
     
 
อาการของกรดไหลย้อน

1. อาการทางเดินอาหาร
 
  • อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้มปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (Heart Burn) บางครั้งอาจจะร้าวไป ที่คอได้ 
  • รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ 
  •  เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า 
  •  รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก 
  •  มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ 
  • รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย 
 

2. อาการทางกล่องเสียง และปอด
 
  • เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม 
  • ไอเรื้อรัง ไอ หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย 
  •  อาการหอบหืดแย่ลง แน่นหน้าอก คล้ายโรคหัวใจ คล้ายมีก้อนจุกๆที่คอ 
  • เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆ หายๆ 
 
การรักษา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
 
  • ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก 
  • งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก 
  • ใส่เสื้อหลวมๆ 
  • ไม่ควรจะนอน ออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย 
  • งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง 
  • งดอาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด 
  • รับประทานอาหารพออิ่ม ทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
  • หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอักลม เบียร์ สุรา 
  • นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง 
 
การรักษาด้วยยา
 
  • Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก 
  • ใช้ยา Proton Pump Inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดีอาจจะใช้เวลารักษา 1-3 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ก็อาจจะลดยาลงได้ยาที่นิยมใช้ได้แก่ Omeprazole , Lansoprazole , Pantoprazole , Rabeprazole, และ Esomeprazole 
  • หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวด Aspirin NSAID VITAMIN C 
หากให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรจะต้องตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
 
  • การกลืนแป้ง ตรวจกระเพาะ 
  • การส่องกล้อง ตรวจกระเพาะ 
 
การรักษาโดยการผ่าตัด
 
  • จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผล โรคแทรกซ้อน - หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผล และมีเลือดออก หรือหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก 
  • อาจจะทำให้โรคปอดแย่ลง เช่นโรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ

พญ.ดวงพร โชคมงคลกิจ
อายุรแพทย์ ศูนย์โรคทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด