ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

7 ช่องทาง ที่มิจฉาชีพใช้ส่งลิงก์หลอกดูดเงิน ประชาชนควรระวัง

7 ช่องทาง ที่มิจฉาชีพใช้ส่งลิงก์หลอกดูดเงิน ประชาชนควรระวัง HealthServ.net

ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ได้สรุปวิธีการที่มิจฉาชีพมักจะใช้ เพื่อส่งลิงก์หลอกดูดเงิน ลิงก์ปลอม หรือเว็บไซต์ปลอม กำลังระบาดเป็นอย่างหนัก ทำให้หลายๆ คนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้ โดยลิงก์ปลอมจะถูกส่งตามช่องทางต่างๆ เข้ามาในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งตัวผู้ใช้งานโทรศัพท์หลายคนอาจจะไม่ได้สังเกตความผิดปกติของลิงก์ที่ถูกส่งเข้ามา จนเผลอกดคลิกลิงก์ ดาวน์โหลดไฟล์อันตรายที่เสี่ยงต่อการดูดเงินโดยไม่รู้ตัว

7 ช่องทาง ที่มิจฉาชีพใช้ส่งลิงก์หลอกดูดเงิน ประชาชนควรระวัง ThumbMobile HealthServ.net
7 ช่องทาง  ที่ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ได้สรุปไว้ดังนี้
 
1. SMS ปลอม
มิจฉาชีพจะส่งลิงก์โดยมักอ้างว่า คุณได้รับสินเชื่อ คุณได้รับรางวัลจากกิจกรรม หรือหลอกลงทะเบียนรับสิทธิ ซึ่งจะหลอกให้กรอกข้อมูลและติดตั้งไฟล์ที่ไม่ประสงค์ไว้
 

2. ไลน์ปลอม
มิจฉาชีพจะสร้าง LINE Official Account ปลอมขึ้นมา ใช้รูปโปรไฟล์ให้เหมือนกับของจริง อ้างเป็นตำรวจ ธนาคาร หรือหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชน หลอกให้เหยื่อโอนเงิน หรือหลอกขอข้อมูล และให้กดลิงก์สูญเงินไปจำนวนมาก
 
 
3. อีเมล์ปลอม
โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างชื่อบริษัท แจ้งให้ชำระใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระเงิน และมีลิงก์ไปเว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอกข้อมูล และทำรายการชำระเงิน
 
 
4. เว็บไซต์ปลอม
มักจะแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชน หลอกให้ชำระค่าบริการต่างๆ และมักหลอกกดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จนเงินหายหมดบัญชี
 
 
5. ลิงก์ใต้คอมเมนท์ หรือไวรัสโฮคส์ (Virus hoax) 
เป็นลิงก์ข่าว หรือคลิปวิดีโอ ที่สร้างชื่อหน้าเว็บลิงก์เหมือนสื่อหลัก เพื่อหลอกให้คิดว่าเป็นการแชร์ลิงก์ที่มีต้นตอมาจากสื่อหลักมีความน่าเชื่อถือ
 
 
6. โฆษณาบนสื่อโซเชียลมีเดีย และเว็บไซต์
ซึ่งมีบางเว็บที่ไม่พึงประสงค์ใช้ในการหลอกล่อโฆษณาการพนัน  และยิงแจ้งเตือนโฆษณา เพื่อหลอกให้คนหลงเชื่อกดลิงก์ รวมถึงลิงก์ที่ติดฝังมัลแวร์
 
 
7. แอปพลิเคชันที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
จะให้ดาวน์โหลดผ่านลิงก์ที่ส่งให้ ไม่ได้ดาวน์โหลดผ่านสโตร์ที่มีการตรวจสอบ เสี่ยงที่จะถูกหลอกติดตั้งแอปปลอมหรือแอปเลียนแบบกับแอปจริงให้คนหลงเชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็น เเอปเงินกู้ แอปพนันและแอปหาคู่เถื่อน ที่คนหลงกลเป็นเหยื่อสูญเงินไปหลายราย
 
 
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) มืออาชีพ เป็นกลาง เคียงข้างประชาชน 
7 ช่องทาง ที่มิจฉาชีพใช้ส่งลิงก์หลอกดูดเงิน ประชาชนควรระวัง HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด