เป็นที่จับตามมองสำหรับวัคซีนชิโนแวค ที่ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กำหนดจะเป็นผู้นำเข้ามา โดยมีองค์กรธุรกิจ หน่วยงานและองค์กรปกครอง แจ้งความประสงค์ในการขอซื้อเพื่อวัตถุประสงค์ในการแจกจ่ายกระจายการฉีดให้กับบุคคลากรในสังกัดขององค์กรเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอนและเงื่อนไขที่ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วนั้น
20 มิถุนายน 2564
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รายงานผ่านเพจเฟซบุ๊ค ว่า วัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 1 ล้านโดสได้เดินทางถึงประเทศไทยแล้ว แบ่งเป็น 2 ล็อต มีรายละเอียดดังนี้
1. วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรก ขนส่งโดยเที่ยวบินขนส่งสินค้า TG8669 เที่ยวแรกจำนวน 5 แสนโดส ออกจากเมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เวลา 5.30 น. (เวลาท้องถิ่น) เดินทางถึงเวลาประเทศไทย เวลา 9.03 น.
2. วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรก เที่ยวที่ 2 ขนส่งโดยเที่ยวบินขนส่งสินค้า TG675 อีกจำนวน 5 แสนโดส ออกจากเมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เวลา 6.30 น. (เวลาท้องถิ่น) เดินทางถึงเวลาประเทศไทย เมื่อเวลา 10.04 น.
รวมจำนวนวัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกที่ส่งถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้วจำนวน 1 ล้านโดส
โดยมีตัวแทนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำโดย พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และคณะร่วมรอรับวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์มล็อตแรก จำนวน 1 ล้านโดส ณ คลังสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากนั้นได้ลำเลียงตู้ควบคุมอุณหภูมิบรรจุวัคซีนขึ้นรถขนส่งไปจัดเก็บยังคลังวัคซีน บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของวัคซีนโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก่อนจะกระจายจัดส่งสู่โรงพยาบาลต่างๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กำหนดการกระจายไปยังหน่วยฉีดของแต่ละองค์กร ในช่วงวันที่ 23-24 มิถุนายน 2564 เพื่อให้พร้อมกับการเริ่มให้บริการฉีดได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2564 นี้ เป็นต้นไป
แผนการกระจายวัคซีนชิโนฟาร์ม
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ประกาศเมื่อ 18 มิถุนายน 64 เกี่ยวกับแนวทางการจัดสรรวัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 ครั้งที่ 1 โดยกำหนดจัดสรรให้กับองค์กรและบริษัทที่ยื่นความประสงค์เข้ามา ระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2564 ตามประเภทธุรกิจ ความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจที่มีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศ และพื้นที่ความเสี่ยง
ภาคองค์กรธุรกิจที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์มสูงสุด 4 อันดับแรกได้แก่
- ภาคธุรกิจบริการด้านอุปโภคและบริโภค 17.42 %
- ภาคอุตสาหกรรมและการผลิต 14.80 %
- ภาคธุรกิจการเงิน 11.58 %
- กลุ่มองค์กรด้านการแพทย์และการสาธารณสุข 10.82%
ภาคธุรกิจที่ได้รับการจัดสรรจากจำนวนที่ยื่นขอรับการจัดสรรสูงสุด 4 อันดับแรก ได้แก่
- ภาคกลุ่มองค์กรด้านการศึกษา 100%
- ภาคกลุ่มองค์กรการกุศล 100%
- ภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 82%
- ภาคองค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุข 81%
สำหรับในระยะแรกนี้ มีจำนวนองค์กรที่ขอรับจัดสรรทั้งสิ้น 5,199 องค์ ครอบคลุมบุคคลเป้าหมายการฉีดวัคซีนรวม 476,682 คน กลุ่มหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองท้องถิ่น ยังไม่ได้รับการจัดสรรในรอบแรกนี้ ตามหมายเหตุระบุว่า "อยู่ในระหว่างการตรวจสอบเอกสารและรายละเอียด เพื่อลำดับความสำคัญของกิจกรรม ความเสี่ยง และกลุ่มผู้ที่จะได้รับการฉีดวัคซีน"