นักกำหนดอาหาร ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ รพ. กรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า ในหน้าร้อนผู้ป่วยเบาหวานควรระวังเรื่องอาหารหรือเครื่องดื่มเป็นพิเศษ สำหรับเครื่องดื่มเย็น ๆ เช่น สมูทตี้ น้ำผลไม้ ไม่ควรเติมน้ำเชื่อมหรือน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปแลถะควรทานในปริมาณที่น้อย เมนูของหวานหรือขนมหวานใส่น้ำแข็งรับประทาน ไม่ควรเติมน้ำเชื่อมหรือกะทิมากเกินไป น้ำอัดลมควรเลือกสูตรที่มีน้ำตาล เลือกรับประทานผลไม้สดแช่เย็นแทนการดื่มน้ำผลไม้กล่องหรือน้ำผลไม้คั้นสด และไม่ควรทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือไม่ควรทานแทนข้าวในมื้ออาหารนั้น ๆ ปริมาณที่แนะนำต่อมื้อไม่เกิน 10 – 15 ชิ้นคำสำหรับผู้เป็นเบาหวาน เลือกผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เช่น แตงโม สับปะรด แคนตาลูป ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น เลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัดหรือผลไม้จิ้มพริกเกลือน้ำตาล ทางที่ดีควรดื่มน้ำเปล่า 1 – 2 แก้วก่อนออกจากบ้าน หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนดื่มน้ำให้ได้วันละ 1 ลิตร หรืออย่างน้อย 6 – 8 แก้ว เพราะหน้าร้อนร่างกายจะเสียงเหงื่อมาก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดทุกชนิด และไม่ควรทำให้ตัวเองเกิดความเครียดหรือวิตกกังวล ควรทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน
นอกจากจะต้องระวังเรื่องอาหารแล้ว ควรระวังเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหารเครื่องดื่มด้วย เพราะอาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษและอาการท้องร่วงได้ โดยอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในหน้าร้อน เช่น อาหารประเภทกะทิ อาหารประเภทยำ ขนมจีน อาหารทะเล อาหารค้างคืน อาหารที่มีแมลงวันตอม นำดื่มและน้ำแข็งที่ไม่สะอาด ในส่วนของเมนูอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ส้มตำ สลัดผัก ซาชิมิ ลาบ ก้อยดิบ ยำหอยแครง ยำปูม้าดิบ ข้าวผัดโรยเนื้อปู ขนมที่มีกะทิ เอแคลร์ ปิ้งย่าง หมูกระทะ เป็นต้น
ที่สำคัญที่สุดคือความสะอาดและถูกหลักอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือทุกครั้ง เลี่ยงอาหารที่มีรสจัด หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ก็จะสามารถควบคุมเบาหวาน ความดัน และโรคระบบทางเดินอาหารในหน้าร้อนนี้ได้ และไม่ควรออกไปอยู่ข้างนอกหากมีอากาศที่ร้อนจัด เพื่อเป็นการคสบคุมอุณหภูมิของอินซูลินด้วย เพราะอินซูนลินควรอยู่ในอุณหภูมิห้อง ไม่ควรวางอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนมากจนเกินไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ รพ.กรุงเทพ โทร.02-755-1129-30 หรือ แอดไลน์ https://bit.ly/3juXi4i