ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) HealthServ.net
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ThumbMobile HealthServ.net

“สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)” เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภารกิจ หลัก คือ การ ยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ เพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ โดยการ เชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจเครือข่ายวิชาการอย่างมีบูรณาการ อันจะนำไปสู่การสร้างให้เกิด “ระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ” ซึ่งนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความ ยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) HealthServ
 “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)” เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภารกิจหลัก คือ การ ยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ เพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ โดยการ เชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจเครือข่ายวิชาการอย่างมีบูรณาการ อันจะนำไปสู่การสร้างให้เกิด “ระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ” ซึ่งนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความ ยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

สนช. ได้สร้างแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงการ
นวัตกรรมในรูปแบบของ “Platform” ต่างๆ โดยมีเป้าหมายในการเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) เป็นห่วงโซ่มูลค่า (value chain) บนฐานความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ ดังนี้

• กลุ่มธุรกิจชีวภาพ (Bio-Business) ประกอบด้วย
- ด้านอาหารฟังก์ชัน (Functional Food Platform)
- ด้านธุรกิจอาหารปลอดภัย (Food Safety Total Solutions Platform)
- ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism Platform)

• กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) ประกอบด้วย
- ด้านอุตสาหกรรมสะอาด (Clean Industry Platform)
- ด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Products Platform)

• กลุ่มการออกแบบและแก้ไขปัญหา (Design & Solutions) ประกอบด้วย
- ด้านการแก้ไขปัญาเพื่อการเกษตร (Agri-Solutions Platform)
- ด้านโลจิสติกส์ (Logistics Platform)
- ด้านอุตสาหกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Industry Platform)



โครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์
"เกษตรอินทรีย์" เป็น ระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสุขภาพดิน ระบบนิเวศ และผู้คน โดยพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และวงจรธรรมชาติ ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แทนที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบทางลบ
 
ทั้งนี้ เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรม และองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นธรรม ตลอดจนคุณภาพชีวิตที่ดีของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยธุรกิจนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ทั่วโลกมีการเติบโตที่สูงมาก มีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งความต้องการดังกล่าวนับว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร อินทรีย์ไทยในการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ป้อนสู่ตลาดโลก
 
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
 
โครงการนวัตกรรมด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ จึงเป็นโครงการยุทธศาสตร์ที่สำคัญของ สนช. ภายใต้การกำกับดูแลของ “คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” ซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 โดย สนช. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติได้จัดทำ "แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ" ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาใน 4 ด้าน ได้แก่
1. การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม
2. การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน
3. การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์สู่สากล
4. การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "แผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551-2554" ใน กรอบงบประมาณ 4,826.80 ล้านบาท ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติได้มีมติมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ โดยมี สนช. เป็นคณะอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ
 
 
ผลการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ในปีงบประมาณ 2553
เครือข่ายความร่วมมือ
• สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย
• กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
• กระทรวงพาณิชย์
• สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
• การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทั้งห่วงโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ
• การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องด้านเกษตรอินทรีย์ พร้อมจัดทำฐานข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ
 
ในปี 2553 ที่ผ่านมา สนช. ได้สร้างเครือข่ายวิสาหกิจ นักวิชาการ เมธีส่งเสริมนวัตกรรม เกษตรกร และผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังจำนวน 4,996 คน และผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมรวมทั้งหมด 10 โครงการ เป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 5,092,223 บาท คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 87,580,677 บาท อาทิ โครงการระบบ ICM (Integrated Crop Management)สำหรับการผลิตพืชอินทรีย์ โครงการ “Lum Lum” ซอสพริกอินทรีย์ที่มีไลโคพีนสูง โครงการน้ำนมอินทรีย์ที่มีปริมาณ CLA และ OMEGA 3 สูง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำฐานข้อมูล "องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยปี 2552-2553"
 
 
 
องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2552-2553
นอกจากนี้ สนช. ได้จัด "การประชุมเกษตรอินทรีย์นานาชาติ" โดย ได้รับเกียรติจาก ดร. Katherine DiMatteo ประธานสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Recent Development in Organic Food : Organic Trade and Regulation เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศ ไทยอย่างเป็นระบบ ภายในงาน InnovAsia2009 : Food in the Future
 
 
 
 
ธุรกิจชีวภาพ (Bio-Business) เป็นธุรกิจฐานรายได้ใหม่ซึ่งใช้ประโยชน์จาก “ความหลากหลายทางชีวภาพ” และ
“องค์ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” มาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการสร้างธุรกิจจากความหลากหลายของชีวภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553-2555) ของประเทศไทยที่ต้องการสร้างฐานรายได้ใหม่จากเศรษฐกิจความคิดสร้างสรรค์หรือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมการออกแบบ และการวิจัยและพัฒนาที่ช่วยในการเชื่อมโยงมรดกและทุนของสังคมไทยไปสู่ความ เป็นสมัยใหม่และพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 
เป้าหมายร่วมของการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมในกลุ่ม ธุรกิจชีวภาพ ของ สนช. คือ การสร้างธุรกิจนวัตกรรมบนพื้นฐานจากความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และศักยภาพทางการแข่งขันด้านนวัตกรรมของประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศจากการ จำหน่ายสินค้าเกษตรและอาหารได้มากกว่า 700,000 ล้านบาท และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพซึ่งเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความสนใจ เป็นอย่างมากและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศสูงมากกว่า 500,000 ล้านบาท และการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสูงถึงร้อยละ 14 ในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า
 
ดังนั้น เพื่อตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สนช. จึงได้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มธุรกิจชีวภาพใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน อาหารฟังก์ชั่น (Functional Food Platform) ด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety Total Solutions Platform) และด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism Platform)
 
ผลการดำเนินงานภายใต้กลุ่มธุรกิจชีวภาพในปีงบประมาณ 2553 คือ การสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมด้านธุรกิจชีวภาพ จำนวน 25 ราย รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 14,108,400 บาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 217,507,728 บาท โดยคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าจะสามารถสร้างรายได้จำนวน 876 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่จำนวน 202 คน
 
ในส่วนผลการดำเนินงานเด่นอื่นๆ ได้แก่
•การจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การพัฒนาผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดโลก" ระหว่าง สนช. ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างโอกาสและส่งเสริมศักยภาพธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทยสู่ตลาด ต่างประเทศ
 
 
 
 
 
• ด้านอาหารฟังก์ชั่น (Functional Food Platform)
"อาหารฟังก์ชั่น" เป็นการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหาร โดยการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีคุณสมบัติเฉพาะ ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ด้าน ได้แก่
 
1. อาหารฟังก์ชั่นเชิงโภชนาการ (Functional Food for Nutrition) โดยมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารเฉพาะทางในด้านโภชนาการ ซึ่งการรับประทานอาหารฟังก์ชั่นเพื่อช่วยบำรุงร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ทั้งที่เป็นอาหารหลักที่มีคุณสมบัตเฉพาะ เช่น อาหารเสริมที่เป็นเภสัชโภชนภัณฑ์ (nutraceutical) และอาหารทางการแพทย์ (medical food)
 
2. อาหารฟังก์ชั่นเชิงกายภาพ (Functional Food with Property Modification) เป็นการออกแบบอาหารตามแนวโน้มพฤติกรรม สภาพแวดล้อม ตลอดจนวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค เช่น อาหารพร้อมรับประทาน (ready to eat) อาหารพร้อมปรุงหรือสะดวกในการเตรียม (ready to cook) และอาหารที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ (novel food) เป็นต้น
 
สนช. ได้กำหนดแผนการดำเนินงานในด้านอาหารฟังก์ชัน ภายใต้กลุ่มธุรกิจชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าอาหาร (value creation) ทั้งนี้การสร้างมูลค่าอาหารนั้นจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงระหว่าง เทคโนโลยีการอาหารและความคิดสร้างสรรค์รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมการบริโภคอาหาร เพื่อทำหน้าที่ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโฉมการบริโภคอาหารของคนไทยให้สามารถส่งออกสินค้าอาหารที่เติม ความคิดสร้างสรรคและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ
 
ตัวอย่างโครงการในด้านอาหารฟังก์ชันที่สำคัญ ได้แก่
•โครงการข้าวกล้องงอกมาบุญครองพลัส “Nutra GABA Rice”
•โครงการกะทิธัญพืช “4Care”
•โครงการน้ำมันรำข้าวชนิดออริซานอลสูง “King”
•โครงการไซรัปกล้วย “Na’s Up”
 
ในปีงบประมาณ 2553 สนช. ได้ร่วมรังสรรค์โครงการนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 โครงการ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 6,148,400 บาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 120,984,448 บาทได้แก่
•โครงการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากผลหม่อน
•โครงการ "Chaba" น้าสลัดไร้ไขมัน
•โครงการขนมขบเคี้ยวโปรตีนสูง
•โครงการ "Neet" ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูปไร้ไขมัน ระยะที่ 2
•โครงการลองแกนฮันนี่คริสป์
•โครงการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดช็อตที่มีสารสกัดจากพืช
•โครงการ "Richie" Young Rice Beverage Powder
•โครงการ "Delicare"ครีมสดคืนรูป
•โครงการ "i-Fruit"หวานเย็นผลไม้สด
•โครงการการผลิตข้าวเก่าจากข้าวใหม่
•โครงการน้ำนมอินทรีย์ที่มีปริมาณ CLA และ OMEGA 3 สูง
•โครงการ "Lum Lum" ซอสพริกอินทรีย์ที่มีไลโคพีนสูง
 
เครือข่ายความร่วมมือ
• สถาบันการศึกษา อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
• หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
• สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)
• สถาบันอาหาร
 
 
 
• ด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety Total Solutions Platform)
"ความปลอดภัยด้านอาหาร" ได้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งได้นำมาเป็นข้อต่อรองทางการค้าที่ นับวันจะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น สนช. จึงได้กำหนดแผนการดำเนินงานในด้านอาหารปลอดภัย ภายใต้กลุ่มธุรกิจชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงการนวัตกรรมทางด้านความปลอดภัยสำหรับอาหาร ที่ทำให้อาหารและวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารมีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค เพื่อเพิ่มศักยภาพและผลตอบแทนให้แก่เกษตรทั้งวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ตลอดจนถึงการทดสอบและรับรองผลผลิต นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมด้านการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร
 
สนช. มีแนวทางการพัฒนาด้านธุรกิจอาหารปลอดภัยซึ่งครอบคลุมกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม ดังนี้
1. ปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบ
2. การผลิตระดับฟาร์ม
3. กระบวนการผลิตอาหารสำเร็จรูป
4. การทดสอบและรับรองปัจจัยการผลิตวัตถุดิบและผลผลิต
5. การขนส่งอาหารอย่างปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดการเสียหายระหว่างการจัดส่ง
6. การพัฒนาระบบการให้บริการโซลูชั่นในระบบการจัดการด้านความปลอดภัยใน อุตสาหกรรมอาหาร (Food Safety Solution Provider) เพื่อผลักดันให้เกิดบริษัทที่ให้บริการด้านการจัดการความปลอดภัยในอาหาร
 
ตัวอย่างโครงการในด้านอาหารปลอดภัยที่สำคัญ ได้แก่
•"Nuclear C.O.S." อาหารเสริมสำหรับพืชและสัตว์
•ระบบการเลี้ยงปลานิลแบบผสมผสานร่วมกับการปลูกพืชในแนวดิ่งด้วยระบบปิด
•โปรไบโอติกสำหรับป้องกันโรคเรืองแสงในกุ้งกุลาดำ
 
ในปีงบประมาณ 2553 สนช. ได้ร่วมรังสรรค์โครงการนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 7 โครงการ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 4,382,000 บาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 89,013,540 บาท อาทิ
•โครงการผลิตภัณฑ์สารชีวภาพเพื่อกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
•โครงการ "เอแอน 1" ผลิตภัณฑ์สำหรับเร่งการเจริญเติบโตของพืช
•โครงการ "Phaya-Hero"ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากสารสกัดสมุนไพรหนอนตายยาก
•โครงการ "บายพาสไขมัน" ไขมันไหลผ่านเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารโคนม
 
เครือข่ายความร่วมมือ
• คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)
• เครือข่ายธุรกิจนวัตกรรมร้อยแก่นสารสินธุ์
• Bayern Innovativ GmbH, Germany
 
 
• ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism Platform)
สนช. ได้กำหนดแผนการดำเนินงานในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ภายใต้กลุ่มธุรกิจชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับนวัตกรรม
ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศด้วยนวัตกรรม โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ การบำบัดรักษาสุขภาพด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ การพัฒนารูปแบบการบริการและสถานที่บริการ และการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการต่างๆ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การบริการ วัฒนธรรมภูมิปัญญาไทย และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนั้น ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้จึงถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศ ไทยในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์เฉกเช่นปัจจุบัน
 
ดังนั้น เพื่อสร้างความแตกต่างในธุรกิจท่องเที่ยว สนช. จึงได้ผสมผสานแนวคิดระหว่างภูมิปัญญาไทย และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเป็นโครงการนวัตกรรมในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ประกอบด้วยการผนวกรวมกันระหว่างกิจกรรมการ ท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีกิจกรรมการส่งเสริมและบำบัดรักษาสุขภาพเป็นกิจกรรมสำคัญของการท่อง เที่ยว ทั้งนี้ สนช. ได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็น 2 รูปแบบได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อการควบคุมน้ำหนัก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อชะลอวัย โดยกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนานวัตกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (products) การพัฒนานวัตกรรมด้านบริการ (services) และการพัฒนานวัตกรรมด้านเครื่องมือทางการแพทย์ (devices)
 
ในปีงบประมาณ 2553 สนช. ได้ร่วมรังสรรค์โครงการนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 8 โครงการ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 4,878,000 บาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 33,009,740 บาท อาทิ
•โครงการชุดตรวจโรคแบบรวดเร็วสำหรับโรคไข้เลือดออก
•โครงการ "สรีรารมย์" ออร์แกนิคเมดิคัลสปา
•โครงการสารสกัดคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ
•โครงการ "ภูโคลนไมโครแคปซูล"โคลนพอกหน้าและผิวตัว
•โครงการระบบเชื่อมต่อข้อมูลรังสีวิทยาทางไกล
 
เครือข่ายความร่วมมือ
• การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
• สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• หอการค้าจังหวัด อาทิ หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก หอการค้าจังหวัดสุโขทัย หอการค้าจังหวัดอุตรดิตถ หอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ หอการค้าจังหวัดตาก
• สถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด