ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เนื้อหมูแช่ฟอร์มาลีนหรือไม่ ดูยังไง

เนื้อหมูแช่ฟอร์มาลีนหรือไม่ ดูยังไง HealthServ.net
เนื้อหมูแช่ฟอร์มาลีนหรือไม่ ดูยังไง ThumbMobile HealthServ.net

จากข่าวทลายโรงงานผลิตแปรรูปเนื้อสัตว์ใน อ.ศรีราชา ที่พบว่าใช้สารฟอร์มาลีนและสารเคมีต้องห้ามกับอาหารจำนวนมาก และวัตถุดิบเหล่านั้นคาดว่าจะส่งต่อให้กับร้านอาหารในพื้นที่อีกด้วย เป็นเหตุการที่ทำเอาผู้บริโภคช็อคไม่น้อย

 
 
คำถามสำคัญสำหรับผู้บริโภคเวลานี้ก็คือ

"จะรู้ได้อย่างไร หรือมีวิธีสังเกตอย่างไร ว่าเนื้อหมู ที่กำลังจะซื้อ หรือสั่งมารับประทานนั้น ไม่แช่ฟอร์มาลีน หรือ ไม่อันตราย "
 
 
เพจดัง Drama-addict ให้ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์มาก ดังนี้
 
"วิธีสังเกต ให้ดูลักษณะเนื้อนั้นๆ อาจจะมีลักษณะ บางส่วนเปื่อยยุ่ย แต่บางส่วนของเนื้อยังดูสดใหม่อยู่  และเนื้อจะดูมีสีสดผิดปรกติ และถ้าดมดูอาจได้กลิ่นฉุนแสบจมูก หากกินเข้าไปจะคลื่นไส้อาเจียน เพราะมันไประคายเคืองทางเดินอาหาร อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร อ้วกเป็นเลือด ขี้เป็นเลือด ถ้ารับเข้าไปเยอะๆ ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ "  [อ่าน/แสดงความคิดเห็นได้ที่เพจ

*ภาพจากเพจ Drama-addict 

 
 

พิษของฟอร์มาลินต่อสุขภาพ 

ด้าน รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี ได้ให้ความรู้ เพิ่มเติมผ่านเพจ Weerachai Phutdhawong เกี่ยวกับ พิษของฟอร์มาลินต่อสุขภาพว่า ความเป็นพิษต่อร่างกาย ขึ้นกับรูปแบบที่ได้รับ

หากเป็น พิษแบบเฉียบพลัน ถ้าได้รับสูงเกิน 0.1 ppm ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา จมูกและทางเดินหายใจ

แต่ถ้าได้รับปริมาณเข้มข้นสูงเกิน 100 ppm อาจทำให้หมดสติ และตายในที่สุด เนื่องจากที่ความเข้มข้นสูงๆ

สารฟอร์มาลีนจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดฟอร์มิค (Formic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายระบบการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย 
 
อาการเรื้อรัง หากได้รับปริมาณน้อยแต่ระยะยาวจะทำให้เกิดผลเสียกับระบบต่างๆ ของร่างกาย หรือก่อให้เกิดมะเร็งได้
 

วิธีสังเกตง่ายๆ 

อาหารที่มักพบสารฟอร์มาลินปนเปื้อน ได้แก่อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้ ซึ่งวิธีสังเกตง่ายๆ คือ
 
  • ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ หากถูกแสงแดด หรือลมเป็นเวลานาน แล้วยังสดอยู่ก็ไม่ควรซื้อ
  • ถ้าเป็นอาหารทะเลที่เนื้อแข็งบางส่วน เปื่อยยุ่ยบางส่วน ไม่ควรซื้อ
  • ถ้าเป็นผัก ผลไม้ที่มีลักษณะแข็ง เขียว กรอบหรือสดผิดปกติ ให้ดมที่ใบ ผลหรือหักก้านดม ถ้ามีกลิ่นแสบจมูกแสดงว่ามีฟอร์มาลินปนเปื้อน

เมื่อซื้ออาหารมาแล้วควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง (ในอัตราส่วน ด่างทับทิมประมาณ 20 เกล็ด ผสมน้ำ 4-5 ลิตร) ประมาณ 5-10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ เพราะฟอร์มาลีนทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมแล้วได้เกลือฟอร์เมตซึ่งละลายน้ำได้
 
 

แนะนำวิธีกำจัดฟอร์มาลีนออกจากผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ก่อนนำมาปรุงอาหาร

 
คำแนะนำในการกำจัดฟอร์มาลีนออกจากผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ (ปลา) คือ

เมื่อซื้ออาหารมาแล้วควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง (ในอัตราส่วน ด่างทับทิมประมาณ 20 เกล็ด ผสมน้ำ 4 – 5 ลิตร) ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ เพราะฟอร์มาลีนทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมแล้วได้เกลือฟอร์เมตซึ่งละลายน้ำได้ [คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล]

โดยสำหรับผัก ให้แช่อย่างน้อย 10 - 15 นาที
สำหรับผลไม้ ให้แช่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
สำหรับเนื้อสัตว์และปลา ให้แช่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง 30 นาที

แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง 


 

4 วิธีเลือกซื้อ เนื้อหมู ปลอดภัย
 

สสส.ได้เผยแพร่ 4 วิธีเลือกซื้อ เนื้อหมู ปลอดภัย ไว้แล้ว ดังนี้
 
1. เนื้อหมูสด ไม่มีสีแดงคล้ำ
ต้องไม่มีเลือดคั่ง หรือมีเลือดปนผิดปกติ
2. ร้านค้าควรมีใบรับรอง 
ว่ามีการนำเนื้อหมูมาจากโรงงานที่มีมาตรฐาน ไม่เป็นหมูตายเอง แล้วชำแหละขาย 
ควรสังเกตว่าจะมีต้องมี สัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" ไม่ว่าจะในตลาดสด หรือในห้างก็ตาม
 
3. ยึดหลัก 5 ประการ อาหารปลอดภัย
- รักษาความสะอาด
- แยกอาหารปรุงสุก อาหารสด
- ปรุงอาหารให้สุกให้ทั่วถึง
- เก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- ใช้น้ำสะอาดและวัตถุดิบปลอดภัยในการปรุง
 
4. เนื้อหมูควรปรุงสุก 100%
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด