ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เอะใจซักหน่อย สงสัยให้มาก ป้องกันมิจฉาชีพดูดทรัพย์จากมือถือได้

เอะใจซักหน่อย สงสัยให้มาก ป้องกันมิจฉาชีพดูดทรัพย์จากมือถือได้ HealthServ.net

เตือนประชาชน เอ๊ะ! ก่อนกดลิงค์ในสื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องและจากผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ สกัดมิจฉาชีพใช้โปรแกรมควบคุมโทรศัพท์ดูดเงินจากแอปธนาคาร ครม.ผ่าน พ.ร.ก.ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีย้ำความมุ่งมั่นรัฐบาลแก้ไขปัญหาจริงจัง

เอะใจซักหน่อย สงสัยให้มาก ป้องกันมิจฉาชีพดูดทรัพย์จากมือถือได้ ThumbMobile HealthServ.net
 
วันที่ 26 มกราคม 2566 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เกิดกรณีมิจฉาชีพแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายการสื่อสารช่องทางต่างๆ หลอกลวงให้ประชาชนให้กดลิงค์แล้วล็อคโทรศัพท์ด้วยโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือจากทางไกล ก่อนดำเนินการโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของผู้หลงเชื่อ
 
ดังนั้น จึงขอเตือนประชาชนทุกท่านโดยเฉพาะผู้ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ให้ระมัดระวัง ตรวจสอบลิงค์ที่ถูกส่งต่อ หรืออยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ช่องทางต่างๆ ก่อนจะกดดูหรือส่งต่อลิงค์  เช่น การส่งมาทาง SMS ทางโทรศัพท์, หรือแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมิจฉาชีพได้ส่งลิงค์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Open Chat ที่ผู้คนที่มาพบกันไม่รู้จักกันมาก่อนและอาจไม่มีการคัดกรองคนก่อนเข้ากลุ่ม, กลุ่มไลน์ที่เป็นบุคคลที่รู้จักกันแต่ไม่ได้มีการตรวจสอบลิงค์ก่อนแชร์เข้ามาในกลุ่ม หรือการแฝงตัวเป็นการส่งข้อความจาก Official Account ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานราชการที่มีความน่าเชื่อถือ
 
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการโฆษณาในเฟซบุ๊คทั้งการให้สินเชื่อ การชวนทำงาน การให้บริการต่างๆ ที่ต้องมีการติดตั้งแอปพลิเคชันลงบนมือถือก่อน ตลอดจนแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ หรือหน่วยงานราชการติดต่อไปทางโทรศัพท์โดยสร้างสถานการณ์ต่างๆ ให้บุคคลที่ได้รับการติดต่อนั้นหลงเชื่อ จากนั้นจะหลอกลวงให้ กดลิงค์ หรือติดตั้งแอปพลิเคชันลงในโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถเข้าควบคุมมือถือของเหยื่อได้
 
“ลิงค์ที่มิจฉาชีพเผยแพร่จะมีลักษณะเชิญชวนให้ผู้ที่อ่านแล้วรีบกดลิงค์เข้าไปดู เช่น การให้สิทธิประโยชน์ การแจกของฟรี เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในที่สนใจ รวมถึงข้อความที่ทำให้เกิดความกังวล หรือตกใจกลัว เมื่อหลงเชื่อและกดเข้าไปในลิงค์แล้วมิจฉาชีพจะล็อคโทรศัพท์มือจากโปรแกรมควบคุมเครื่องจากทางไกล ทำให้เจ้าของเครื่องไม่สามารถดำเนินการต่างๆ จากนั้นจะเข้าไปในแอปพลิเคชันธนาคารและโอนเงินออกจากบัญชีของเจ้าของเครื่อง ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนตรวจสอบทุกลิงค์ก่อนที่จะมีการกดเข้าไปดู ต้องเป็นลิงค์ที่น่าเชื่อถือ ไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกส่งมาจากบุคคลแปลกหน้า และขอให้เตือนบุคคลในครอบครัว บุคคลใกล้ชิดให้ตระหนักถึงภัยที่กำลังแพร่ระบาดนี้” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
 
 น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า  การเร่งให้ความรู้และแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันความเสียหาย ขณะที่รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาภัยอาชญากรรมที่มาพร้อมกับการเติบโตของโลกออนไลน์อย่างจริงจัง โดยล่าสุดที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 66 ได้อนุมัติร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. .... ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้ดำเนินมาตรการปราบปรามการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างมมีประสิทธิภาพและลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด