เป็นการสะท้อนได้อย่างดีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เป็นเพียงกระแสชั่วคราวที่มาไวไปไว แต่กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปและกระจายวงกว้างมากขึ้น แต่ก่อน
จะชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะคว้าโอกาสจากอาหารแห่งอนาคตนี้ได้อย่างไรมาเริ่มต้นทำความรู้จักกับ Plant-based Food ให้มากขึ้นก่อน
Plant-based Food หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช เป็นอาหารกลุ่มโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) ที่ใช้วัตถุดิบจากพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น ถั่ว เห็ด สาหร่าย ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ โดยมีการพัฒนารสชาติ กลิ่น และสีสัน ให้เหมือนผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ไม่อยากรับประทานเนื้อ เรียกได้ว่า ด้วยนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การอาหารที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก จึงทำให้รูปแบบของ Plant-based Food ในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น
ทั้งนี้ หากจะให้แบ่งประเภทของ Plant-based Food จะพบว่า มีที่ได้รับความนิยมและมีโอกาสทางการตลาดอยู่ 4 กลุ่ม ได้แก่
Plant-based Meat
เนื้อสัตว์จากพืช ทำมาจากพืชประมาณ95 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนผสมอื่นที่ไม่ใช่พืชประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยมีผลิตออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น เนื้อเบอร์เกอร์ ไส้กรอก หรือจะเป็น
เนื้อหมูจากพืช รวมถึงอาหารทะเลก็มีด้วย
Plant-based Milk & Dairy
นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทำจากถั่วหรือธัญพืชต่างๆ เช่น นมมะพร้าว นมถั่วเหลืองนมอัลมอนด์ นมข้าวโพด รวมถึง โยเกิร์ตนมจากพืช ชีสจากพืช และไอศกรีมจากพืช เป็นต้น
Plant-based Meal
อาหารปรุงสำเร็จจากพืช ทั้งในรูปแบบอาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง รวมถึงอาหารที่เก็บได้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องแช่เย็น
Plant-based Egg
ไข่จากพืช ทำจากถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบหลักเพื่อสร้าง Texture ก่อนผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการแต่งสีและกลิ่นให้เหมือนไขตอบโจทย์กลุ่มคนดูแลสุขภาพและผู้บริโภคที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากไข่