ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน Preimplantation Genetic Testing (PGT)
เป็นการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อน ร่วมกับการรักษาด้วยกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว (IVF) โดยการสุ่มดูดเซลล์ของตัวอ่อนที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนที่จะทำการย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ
บางคนอาจจะกังวลว่าการทำเด็กหลอดแก้ว อาจเป็นการเพิ่มโอกาสครรภ์เสี่ยงได้เมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ หรือไม่
ในกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วแล้วตั้งครรภ์แฝด หากทำที่คลินิกมักพบปัญหาเรื่องการฝากครรภ์ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลจะไม่รับเคสแฝดจากที่อื่น เนื่องจากมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อาจมีภาวะเบาหวาน ความดันได้ง่าย หรือโรคประจำตัวอื่น ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการมีครรภ์แฝด
หากคุณแม่มีภาวะครรภ์เสี่ยงในช่วงทารกอยู่ในครรภ์ ทีมสูตินรีแพทย์จะเป็นทีมหลักที่ดูแล จนกระทั่งอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ทีมบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด NICU จะเข้าไปเป็นทีมเสริมเพื่อช่วยวางแผนและให้คำปรึกษา หลังทารกคลอด ทีม NICU จะมีหน้าที่หลักในการดูแล ซึ่งเรามีทีม NICU ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงมาก
การทำเด็กหลอดแก้วในแต่ละช่วงอายุ มีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์
คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีประสบการณ์ในการช่วยให้คู่สมรสประสบความสำเร็จในการมีบุตร โดยมีอัตราความสำเร็จของการทำ IVF ในปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 90% ในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี