ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เอนไซม์ กุญแจแห่งชีวิต

เอนไซม์ กุญแจแห่งชีวิต HealthServ.net

เอนไชม์คือโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นในร่างกาย เอนไชม์ถือเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญใน กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย นอกจากนี้เอนไซม์ยังถือว่ามีบทบาทในกระบวนการเผาผลาญอาหาร (metabolism), วินิจฉัยโรค (diagnosis)

เอนไซม์ กุญแจแห่งชีวิต ThumbMobile HealthServ.net
“เอนไซม์” กุญแจแห่งชีวิต
ภญ. พิมพรรณ ลาภเจริญ
เอนไซม์บำบัดอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับดูแลสุขภาพ
 
เอนไชม์คือโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นในร่างกาย เอนไชม์ถือเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญใน
กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย นอกจากนี้เอนไซม์ยังถือว่ามีบทบาทในกระบวนการเผาผลาญอาหาร
(metabolism), วินิจฉัยโรค (diagnosis) นอกจากนี้ยังมีนำเอนไซม์มาใช้การบำบัดรักษาโรค (therapeutics)
หลายชนิด ได้แก่
 
  1. โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและการย่อยอาหาร (digestive therapy) เช่น เอนไซม์ Pepsin เอนไซม์Amylase เอนไซม์Lipase และเอนไซม์Pancreatin เป็นต้น
  2. ใช้ในการละลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy) เช่น เอนไซม์Streptokinase, เอนไซม์ Serrapeptase, และเอนไซม์Nattokinase เป็นต้น
  3. ลดการอักเสบ (anti-inflammatory therapy) เช่น เอนไซม์bromelain เอนไซม์papain, เอนไซม์Trypsin/Chymotrypsin และเอนไซม์Collagenase เป็นต้น
  4. รักษาโรคมะเร็ง (oncolytic therapy) เช่น เอนไซม์ Asperaginase และเอนไซม์Diptherial เป็นต้น

เอนไซม์โบรมีเลน (bromelain) จากสับปะรด

สับปะรด (Ananas comosus L.) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ใน family Bromeliaceae เนื้อในผลสี
เหลือง ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว นอกจากจะรับประทานทานแล้วชื่นใจ ในสับปะรดยังมีเอนไซม์ที่มัประโยชน์
คือเอนไซม์โบรมีเลน ซึ่งจัดเป็นเอนไซม์ประเภท โปรตีเอส (protease) สามารถเร่งปฏิกิริยาการย่อยโปรตีนให้
มีขนาดโมเลกุลเล็กลงได้ ที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับผลจากการใช้เอนไซม์โบรมีเลนทางการแพทย์หลายข้อบ่งใช้ ดังนี้ 1
 
  • มีผลดีต่อโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและระบบไหลเวียนเลือด (Cardiovascular and Circulation) มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า โบรมีเลนสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina pectoris) และภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischemic attack, TIA) ได้ 2
  • สามารถบรรเทาอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ได้ มีการศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวด 103 ราย ให้รับประทานเอนไซม์สูตรผสม (โบรีมเลนร่วมกับทริปซินและรูโตซิด, bromelain 90 mg, trypsin 48 mg, rutosid 100 mg) เป็นเวลา 6 สัปดาห์เปรียบเทียบกับยาต้านอักเสบ diclofenac (diclofenac sodium 50 mg) ผลการศึกษาพบว่า มีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน 3
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า เอนไซม์โบรมีเลนมีส่วนในการเสริมสร้างระบบ
ภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity)4 มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดและละลายลิ่มเลือด (Blood Coagulation and
Fibrinolysis) 5,6 บรรเทาอาการท้องเสีย (Diarrhea) 7 มีผลต่อเซลล์มะเร็ง (Cancer Cells) 8 ช่วยเร่งการ
หายของแผลผ่าตัด 3,9 ตลอดจนช่วยบรรเทาอาการของแผลไฟไหม้ (Debridement Burns) 10 ได้อีกด้วย
  1. Rajendra Pavan, Sapna Jain, Shraddha, and Ajay Kumar. Properties and Therapeutic Application of Bromelain: A Review. Biotechnology Research International. Vol 2012
  2. C. Neumayer, A. F¨ugl, J. Nanobashvili et al., “Combined enzymatic and antioxidative treatment reduces ischemiareperfusion injury in rabbit skeletal muscle,” Journal of Surgical Research, vol. 133, no. 2, pp. 150–158, 2006.
  3. N. M. Akhtar, R. Naseer, A. Z. Farooqi,W. Aziz, and M. Nazir,“Oral enzyme combination versus diclofenac in the treatment of osteoarthritis of the knee—a double-blind prospective randomized study,” Clinical Rheumatology, vol. 23, no. 5, pp. 410–415, 2004.
  4. H. Barth, A. Guseo, and R. Klein, “In vitro study on the immunological effect of bromelain and trypsin on mononuclear cells fromhumans,” European Journal ofMedical Research, vol. 10, no. 8, pp. 325–331, 2005.
  5. H. Lotz-Winter, “On the pharmacology of bromelain: an update with special regard to animal studies on dosedependent effects,” Planta Medica, vol. 56, no. 3, pp. 249–253, 1990.
  6. S. J. Taussig and S. Batkin, “Bromelain, the enzyme complex of pineapple (Ananas comosus) and its clinical application: an update,” Journal of Ethnopharmacology, vol. 22, no. 2, pp. 191– 203, 1988.
  7. D. S. Chandler and T. L. Mynott, “Bromelain protects piglets from diarrhoea caused by oral challenge with K88 positive enterotoxigenic Escherichia coli,” Gut, vol. 43, no. 2, pp. 196– 202, 1998.
  8. K. Chobotova, A. B. Vernallis, and F. A. A.Majid, “Bromelain’s activity and potential as an anti-cancer agent: current evidence and perspectives,” Cancer Letters, vol. 290, no. 2, pp. 148–156, 2010.
  9. G. C. Tassman, J. N. Zafran, and G.M. Zayon, “A double-blind crossover study of a plant proteolytic enzyme in oral surgery,” The Journal of Dental Medicine, vol. 20, pp. 51–54, 1965.
  10. L. Rosenberg, Y. Krieher, E. Silverstain et al., Selectivity of a Bromelain Based Enzymatic Debridement Agent: A Porcine Study, Elsevier, 2012.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด