ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วัคซีนโควิดซิโนแวคขึ้นทะเบียนจีนแล้ว เข้าไทย 2 ล้านโดส ประเดิมล็อตแรก ก.พ.นี้

วัคซีนโควิดซิโนแวคขึ้นทะเบียนจีนแล้ว เข้าไทย 2 ล้านโดส ประเดิมล็อตแรก ก.พ.นี้ Thumb HealthServ.net
วัคซีนโควิดซิโนแวคขึ้นทะเบียนจีนแล้ว เข้าไทย 2 ล้านโดส ประเดิมล็อตแรก ก.พ.นี้ ThumbMobile HealthServ.net

วัคซีนโควิดซิโนแวคขึ้นทะเบียนจีนแล้ว เข้าไทย 2 ล้านโดส ประเดิมล็อตแรก ก.พ.นี้

วัคซีนโควิดซิโนแวคขึ้นทะเบียนจีนแล้ว เข้าไทย 2 ล้านโดส ประเดิมล็อตแรก ก.พ.นี้ HealthServ
ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เผยล่าสุดวัคซีนโควิดจากซิโนแวคเข้าไทยก่อน 2 ล้านโดส แบ่งเป็นก.พ. 2 แสนโดส มี.ค. 8 แสนโดส และเม.ย.อีก 1 ล้านโดส ส่วนแอสตราฯ ตามแผนเดิม 26 ล้านโดสเดือน มิ.ย. ขณะที่โควิดของจอห์สสันแอนด์จอห์นสัน ไม่ทำสัญญา เพราะมีเหตุผล ย้ำไม่เคยเลือกบริษัทเดียว แต่เปิดกว้างหาที่ก่อประโยชน์กับไทยมากที่สุด

เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ร่วมแถลงผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 คณะกรรมการได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยจัดตั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ สะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 อ.แม่สอด จ.ตาก เพิ่มอีก 1 แห่ง เป็นด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ด่านที่ 69 ของประเทศ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ไทยจะได้วัคซีนจากบริษัทซิโนแวคเข้ามาก่อน จำนวน 2 ล้านโดส แบ่งเป็น ก.พ. 2 แสนโดส มี.ค. 8 แสนโดส และเม.ย. 1 ล้านโดส สำหรับการฉีดให้กับแรงงานต่างด้าวนั้น ในเรื่องของค่าใช้จ่ายคงต้องมีการพูดคุยกับนายจ้าง และกระทรวงแรงงานต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการจัดหานั้นตอนนี้มีหลายบริษัทเข้ามาคุย เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน แต่เราไม่อาจจะทำสัญญาเพราะมีข้อตกลงที่ยังไม่อาจยอมรับ เช่นให้ไทยสั่งซื้อในจำนวนมาก และกว่าจะได้มาล็อตแรกก็ปลายๆ ไตรมาส 3 ซึ่งไปทับซ้อนกับของแอสตราเซเนกาพอดี ถ้าจะสั่งต้องให้เกิดประโยชน์จริงๆ ซึ่งเรามีเวลาพิจารณา และในวันที่ 9 ก.พ. จะมีการหารือร่วมกับทางการรัสเซียด้วย อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ปิดกั้น พยายามโน้มน้าวให้มีการมาขึ้นทะเบียนในประเทศไทยให้ได้มากที่สุด เพื่อจะขายให้ทางเอกชนได้ เพราะอนาคตโรคโควิด-19 อาจจะเป็นต้องได้รับวัคซีนต่อเนื่อง
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ขณะนี้วัคซีนของซิโนแวคขึ้นทะเบียนในจีนแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์กับไทยด้วย ตอนนี้ก็ทยอยส่งเอกสารเข้ามาแล้ว ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีแนวโน้มขึ้นทะเบียนเร็ว 

นพ.โอภาส กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกลยุทธ์การบริหารจัดการการให้และกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย 2 ระยะ คือ
  • ระยะต้น จากบริษัทซิโนแวค จำนวน 2 ล้านโดส
    ดำเนินการฉีดให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด โดยให้กับกลุ่มเป้าหมายคือบุคคลากรการแพทย์ที่ทำงานกับผู้ป่วย บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมป้องกันโรค ประชากรที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ 60 ปี และกลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด คือ สมุทรสาคร รวมถึงพื้นที่ควบคุมสูงสุด เช่น กทม. ปริมณฑล และพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง เช่น ตาก ชลบุรี ทั้งนี้ใน 2 แสนโดสแรกนั้นจะให้เป็นเข็มแรกไปก่อน แล้วเมื่อล็อตมี.ค.ที่จะเข้ามาอีก 8 แสนนั้นหากมาถึงในช่วงเวลาที่พอดีก็ให้เป็นเข็ม 2 และเข็มแรกต่อไป
  • และระยะที่ 2 เมื่อวัคซีนมากขึ้นและเพียงพอ
    เพื่อรักษาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ สร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากรและฟื้นฟูประเทศให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ฉีดให้กับ 7 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนทั่วไป, แรงงานในภาคอุตสาหกรรม, ผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์, ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบิน/ ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ, นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ, กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1 ในจังหวัดที่เหลือ และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ
  • ส่วนแผนในระยะถัดไป เมื่อได้วัคซีนจากแอสตราฯ 61 ล้านโดสก็จะดำเนินการฉีดให้เสร็จใน 4 เดือน คือต้องฉีดให้ได้ประมาณ 5 ล้านคนต่อเดือน ก่อนจะขยับเป็น 10 ล้านคนต่อเดือน ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อยู่แล้ว ส่วนการสำรวจความเห็นบุคลากรในพื้นที่สมุทรสาครก็พบว่ามีความต้องการฉีด 90% 
ด้าน นพ.นคร กล่าวว่า สำหรับการจัดหาวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา ยังเป็นไปตามแผนคือเดือน มิ.ย. นี้จำนวน 26 ล้านโดส ส่วนที่มีการหารือเพื่อให้ทางบริษัทจัดหาเข้ามาให้ก่อน เช่น จำนวน 50,000 โดส นั้ นแม้จะสะดุดเพราะปัญหาจากภายนอกประเทศที่เราควบคุมไม่ได้ แต่ตนยังไม่ได้บอกว่าจะไม่ได้ใน ก.พ.นี้ เพียงแต่อยู่ระหว่างหารือกัน ซึ่งต้องขอเวลาในการทำงาน อย่างไรก็ตามในช่วง 2-3 เดือนนี้การผลิตวัคซีนในโลกไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดไม่ว่าจะเป็นการจัดหาวัคซีนตามกลไกใดก็ตาม และถ้าดูตามแผนกระจายของประเทศต่างๆ ก็จะเห็นความจำกัดในการฉีดวัคซีนแค่ล้านเศษ ซึ่งถ้าอยากเห็นผลของวัคซีนในการควบคุมโรคต้องใช้วัคซีนจำนวนมาก การฉีดจำนวน 1-2 ล้านโดส ไม่มีประโยชน์ แต่จะมีประโยชน์สำหรับการควบคุมการระบาดในวงจำกัด ส่วนประเทศที่มีการระบาดในวงกว้างจะยังไม่ได้ผล
 
ทั้งนี้ การจัดหาวัคซีนไม่ได้ดูแค่เปอร์เซ็นต์ประสิทธิผลของวัคซีนอย่างเดียว แต่ต้องดูข้อมูลอื่นๆ ด้วย ต้องดูตามบริบทของประเทศ ดูเทคนิคการผลิตที่เหมาะสมกับประชากรด้วย โดยชนิดไวรัลเว็คเตอร์ ซึ่งพิจารณาแล้วก็เหมาะสมกับคนไทย แต่ตอนนี้ก็ดูของบริษัทอื่นๆ ด้วย เช่น โนวาแว็ค ดังนั้นอย่าเพิ่งกังวลใจกับตัวเลขวัคซีน 61 ล้านโดสว่าจะไม่พอ ตนยืนยันว่าพอ ตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ มีความผกผัน แปรผันของสถานการณ์ตลอดเวลา

Hfocus 
8/2/2021

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด