ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โภชนบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

โภชนบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

โรคไขมันในเลือดสูงเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์
ขาดการออกกำลังกาย
การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินความจำเป็นของร่างกาย
โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
พันธุกรรม
ไขมันในเลือดที่สำคัญ
ไตรกลีเซอไรด์ ร่างกายสร้างขึ้นได้เองจากน้ำตาล แป้ง แอลกอฮอล์ และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร ถ้ารับประทานมากเกินไปสามารถทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
คอเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แหล่งคอเลสเตอรอลในอาหารที่พบมาก เช่น ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม เครื่องในสัตว์ นม เนย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 
2.1 คอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-C) หากมีระดับสูงเกินไปจะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน
2.2 คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
เป้าหมายในการควบคุมไขมัน
ไตรกลีเซอไรด์ < 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
คอเลสเตอรอลรวม < 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
LDL-C < 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
HDL-C > 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้ชาย ในผู้หญิง > 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
การเลือกรับประทานอาหาร
เลี่ยงการรับประทานไขมันสัตว์ เช่น มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูติดมัน หนังสัตว์ มันไก่ หากจะรับประทานเนื้อไก่ ให้เลือกส่วนอกและส่วนที่ไม่ติดหนัง ใช้เนื่อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย เช่น เนื้อปลา อกไก่ เนื้อสันนอก สันใน เป็นต้น
เลี่ยงการรับประทานไขมันจากมะพร้าว เช่น กะทิข้น ควรเลี่ยงการรับประทานเมนูแกงกะทิ เช่น แกงเผ็ด แกงแพนง แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ ควรใช้กะทิธัญพืชหรือนมพร่องมันเนยแทน
เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต สมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ไม่จำกัด เครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย
เลี่ยงการใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และไขมันจากสัตว์ เช่น มันไก่ มันหมูหลอมเป็นน้ำมันเพื่อนำมาปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าวทั้งผัดและทอดอาหาร โดยไม่ใช้ไฟแรงเกินไป หรือใช้น้ำมันพืชยี่ห้ออื่นๆ ตามชอบ
เลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุ้กกี้ พาย  ขนมปัง มันฝรั่งทอด น้ำมันทอดซ้ำ
ลดการบริโภคอาหารที่เติมน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ขนมไทย เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง (สังเกตปริมาณน้ำตาลจากฉลากโภชนาการ)
เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
งดหรือลดการสูบบุหรี่
เลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชขัดสีน้อย
เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำ แกงเลียง แกงส้ม แกงป่า แกงจืด ต้มยำน้ำใส ปลา+นึ่งผัก ปลาย่าง อาหารผัดน้ำมันน้อย อาหารทอดไม่อมน้ำมัน
อาหารอมน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปลาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด
เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง ปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ปลาทะเลดังกล่าวมีโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี รับประทานอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันตับปลา หากรับประทานในปริมาณที่มากก็สามารถทำให้อ้วนได้
เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ เช่น นมพร่องมันเนย
ข้อแนะนำในการเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร
น้ำมันมะกอก (Extravirgin olive oil) =  ทำสลัด
น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า น้ำมันมะกอก (Pure olive oil) 
น้ำมันงา น้ำมันดอกทานตะวัน         =  ปรุงอาหารทั่วไป
น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันข้าวโพด =  ห้ามทอดอาหาร
น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มเคอร์เบิล =  ปรุงอาหารทั่วไป
น้ำมันปาล์มโอเลอิน         =  ทอดในอุณหภูมิสูง ทอดน้ำมันท่วม
ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงควรงดน้ำมันชนิดที่ 4 และ 5
 
ไขมัน MUFA เป็นไขมันธรรมชาติ พบในน้ำมันพืชบางชนิด ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันร้าย (LDL-C) ไม่มีผลต่อไขมันดี (HDL-C) พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เรพซีด น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ถั่วอัลมอนด์ ถั่วลิสง
ไขมัน PUFA เป็นไขมันจากธรรมชาติ พบมากในน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดไขมันร้าย (LDL-C) แต่ลดไขมันดี (HDL-C) ด้วย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด