ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

จากกัญชาของกลาง สู่ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์

จากกัญชาของกลาง สู่ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ Thumb HealthServ.net
จากกัญชาของกลาง สู่ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ThumbMobile HealthServ.net

ปปส สนับสนุน 3 หน่วยงาน 1)โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร 2)โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 3)คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงาน ป.ป.ส. สนับสนุนการใช้กัญชาของกลางเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัย มีหน่วยงานที่ได้ขอรับการสนับสนุนกัญชาแล้ว จำนวน 10 หน่วยงาน และมี 3 หน่วยงาน ที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติ ได้แก่
  1. โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร
    ขอรับการสนับสนุนของกลางกัญชา จำนวน 7 กิโลกรัม ซึ่งเป็นกัญชาที่สำนักงาน ป.ป.ส. ส่งตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน ชนิดโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และไม่พบการปนเปื้อน ดังนั้น จึงเป็นกัญชาที่มีวัตถุประสงค์เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โรงพยาบาลฯ จึงนำกัญชาดังกล่าวไปเพื่อใช้ในการผลิตเป็น 16 ตำรับยา ได้แก่ ยาศุขไสยาศน์ ยาทำลายพระสุเมรุ ยาทัพยาธิคุณ ยาแก้สันฑฆาต ยาไฟอาวุธ รวม 5 ตำรับยา สำหรับผู้ป่วย 1,600 ราย ให้ทันต่อความต้องการของสถานบริการของรัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวในการรักษาโรค
  2. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
    ขอรับการสนับสนุนของกลางกัญชา จำนวน 662 กิโลกรัม ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมาได้มารับกัญชาไปแล้ว จำนวน 30 กิโลกรัม เพื่อนำไปทดลองสกัดและตรวจวิเคราะห์ก่อนว่าผ่านมาตรฐานความปลอดภัยที่จะนำไปใช้ได้ ซึ่งทางโรงพยาบาลสามารถดำเนินการสกัดได้ด้วยวิธี Supercritical Fluid Extraction จึงขอรับส่วนที่เหลือ จำนวน 632 กิโลกรัมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกัญชาดังกล่าวไปทำยาพัฒนาจากสมุนไพร (น้ำมันกัญชา) เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยการคำนวณปริมาณกัญชา จำนวน 662 กิโลกรัม จะได้น้ำมันกัญชาที่มีค่า THC ร้อยละ 5 บรรจุขวดละ 5 กรัม จำนวนถึง 127,104 ขวด ซึ่งสามารถจะรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก
  3. คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ขอรับการสนับสนุนของกลางกัญชา จำนวน 10 กิโลกรัม เพื่อดำเนินการในโครงการวิจัย นำมาพัฒนายาต้นแบบใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคทันตกรรม และโรคพาร์กินสัน ซึ่งในช่วงแรกของการศึกษาวิจัย จะเริ่มจากการพัฒนาวิธีการสกัด และวิธีวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือเฉพาะ เพื่อค้นหากระบวนการที่เหมาะสมในการสกัดและควบคุมคุณภาพ
WorkPoint news

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด