ก้าวต่อไปของกัญชาสู่ชุมชน โดยการขับเคลื่อนผ่านสถาบันกัญชาทางการแพทย์
ผลจากการประชุม จึงปรากฏแนวทางดำเนินการหลายๆ ประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่
- สถาบันฯ มุ่งหวังให้ตลาดเติบโตอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ครอบคลุมทุกภาคส่วนและการมีส่วนร่วมทั้งจากต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ กระบวนการดำเนินการต่างๆจากรัฐจึงต้องรอบคอบและรัดกุม
- สถาบันฯ ได้เสนอให้เขตสุขภาพมีบทบาทนำมากขึ้น สามารถกำหนดเป้าหมาย แนวทางและวิธีการที่เหมาะสมได้ "ตามบริบทสุขภาพ และความรู้ที่ตนเองมี" ซึ่งนอกจากตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ที่มีต่างกันแล้ว ยังจะทำให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในระบบสุขภาพด้วย ทั้งความต้องการทางการแพทย์ การตลาด ชุมชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ เพื่อดูแล วางแผนให้เกิดความเหมาะสมของการปลูก การใช้ผลผลิตที่ได้
- ความต้องการทางการแพทย์ แต่ละเขตสุขภาพดูเรื่องความต้องการทางการแพทย์ ว่ามีผู้ป่วยกลุ่มใดที่มีความเหมาะสมที่จะใช้กัญชา และจะใช้ในรูปแบบใด เพื่อให้เกิดการผลิตยาที่มีประสิทธิภาพ พอเพียงกับความต้องการ และกำหนดทิศทางร่วมกับเกษตรกรในการผลิต (ปลูก)
- ดูแลเกษตรกรและผู้ประกอบการรายเล็ก เดินหน้าการจัดทำโครงการ 6 ต้น เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการรายเล็ก ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิตยาที่มีคุณภาพ รวมทั้งได้ใช้ส่วนที่ไม่ใช่ยาเสพติด (ใบ ก้าน ลำต้น ราก) ในการใช้ดูแลสุขภาพตนเอง สร้างรายได้และสร้างโอกาสในการมีผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองได้ วางเป้าหมายจะขยายผลให้ครอบคลุมทั้งประเทศภายในปี 2564
- ผู้ประกอบการรายใหญ่ สถาบันฯ พยายามแก้กฎหมายให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่จะสามารถดำเนินงานได้คล่องตัวขึ้น