News ข่าวสุขภาพ ข่าวโควิด บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
แพคเกจสุขภาพ
ตำแหน่งงาน น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
การบำบัดทดแทนไตโดยวิธีการล้างช่องท้องถาวร HealthServ.net
การบำบัดทดแทนไตโดยวิธีการล้างช่องท้องถาวร HealthServ.net

เป็นเวลามากกว่า 50 ปีที่วงการแพทย์ทราบว่าเยื้อบุช่องท้องสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกรองของเสียแทนไตได้ โดยการใช้น้ำยาที่คล้ายเลือดเป็นตัวพาเอาของเสียออก จึงมีการรักษาโรคไตวายทั้งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ด้วยการล้างช่องท้องมานานแล้ว แต่ต้องทำเป็นครั้งคราว แต่ละครั้งต้องใส่สายเข้าช่องท้องด้วย Trocath ทิ้งไว้ 2-3 วัน เมื่ออาการดีขึ้นก็เอาออกเรียกว่า Intermitteut Peritoneal Dialysis




วิธีนี้มีอันตรายจากการใส่ Trocath เข้าช่องท้อง อาจแทงทะลุลำไส้ มีเลือดออก และทิ้งไว้นานจะติดเชื้อในช่องท้อง อันตรายจากการติดเชื้อ จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทำ ต้องใช้แรงงานพยาบาลมาก ในการเปลี่ยนน้ำยา ในประเทศที่เจริญแล้ว จะไม่ทำวิธีนี้แล้ว แต่ในประเทศไทยยังนิยมทำเพราะ สามารถทำโดยแพทย์ทั่วไป แพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษ น้ำยามีขายทั่วไป ทำได้ในโรงพยาบาลทุกขนาด

แต่เนื่องจากมีผลแทรกซ้อน ดังกล่าวข้างต้น ใช้กำลังคนในการเฝ้าดูแลเปลี่ยนน้ำยา ใช้น้ำยาจำนวนมาก และการรักษา ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะอัตราการขจัดของเสียต่ำ เมื่อหยุดทำ ของเสียก็เพิ่มกลับดังเดิม
 

การล้างช่องท้องถาวร


ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ยังมีการรักษาที่ได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพ คือ การล้างช่องท้องถาวร หรือ CAPD ย่อมาจาก Continuous Ambulatory Peritaneal Dialysis เป็นวิธีการรักษาที่พัฒนามาจากการล้างช่องท้องชั่วคราว โดยการใส่ท่อถาวร เข้าช่องท้อง ท่อนี้จะฝังโดยมีปลายหนึ่งเข้าช่องท้อง อีกปลายหนึ่งต่อกับถุงน้ำยาด้านนอก โดยยึดติดไว้กับผนังหน้าท้อง อย่างถาวร

เราจะฝึกให้ตัวผู้ป่วยเองหรือญาติ เปลี่ยนน้ำยาเองโดยวิธีดังนี้

  • ต่อถุงน้ำยาเข้ากับสายถาวรที่ผ่าตัดฝังไว้ในช่องท้อง
  • ปล่อยน้ำยาเข้าจนน้ำยาหมดถุงปิดไว้
  • ระหว่างนี้จะมีการขับของเสีย และน้ำที่เกินออกโดยเยื้อบุช่องท้อง ของเสียและน้ำที่เกินจะเข้าไปอยู่ในน้ำยา
    ตลอดเวลาผู้ป่วยสามารถทำงานได้ เมื่อครบเวลา 4-6 ชั่วโมง จะปล่อยน้ำยาออก และเปลี่ยนเอาถุงน้ำยาใหม่ใส่เข้าไปในช่องท้อง
  • วันหนึ่งจะใช้น้ำยา 6-8 ลิตร

โดยวิธีนี้ของเสียและน้ำที่เกิน จะถูกขับออกตลอดเวลา มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เหมือนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แต่มีข้อดีกว่า ดังต่อไปนี้ 
  1. ผู้ป่วยทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางมาหน่วยไตเทียม และเสียเวลาฟอกเลือด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4-6 ชั่วโมง 
  2. ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และไม่ต้องอาศัยพยาบาลผู้เชียวชาญไตเทียม 
  3. รับประทานอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะผัก ผลไม้ เพราะมีการล้างของเสียออกตลอดเวลา ไม่เกิดภาวะโปแตสเซียมเกินจนเป็นพิษต่อหัวใจ 
  4. ผู้ป่วยสูงอายุ ที่หัวใจทำงานไม่ดี การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แต่ละครั้งมีผลต่อหัวใจ อาจมีความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นผิดปกติ 
  5. ผู้ป่วยสูงอายุ หรือเส้นเลือดแข็ง หรือเด็กเล็กที่มีหลอดเลือดขนาดเล็ก จะมีปัญหาเรื่อง Vascular access ที่ใช้ฟอกเลือด การล้างช่องท้องถาวร ไม่ต้องใช้เส้นเลือดจึงเหมาะสมกว่า 

พลตรีแพทย์หญิงอุษณา ลุวีระ 
แพทย์อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด

[ทั้งหมด]

เนื้อหามีผู้อ่านล่าสุด

ตรวจสอบรายชื่อแพทย์

ตรวจสอบรายชื่อแพทย์ เลขที่ใบอนุญาต สถานพยาบาล

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บริการ ด้านสุขภาพในทุกมิติ
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @healthserv

เพิ่มเพื่อน @healthserv
เพิ่มเพื่อน @healthserv
https://lin.ee/WSunSYA

โปรดเข้าใจว่า HealthServ.net ไม่ได้เป็นสถานพยาบาล ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการวิชาชีพด้านแพทย์ใดๆ จึงไม่สามารถให้คำปรึกษาในด้านการแพทย์ การรักษาใดๆ ได้ในทุกๆ กรณี - HealthServ.net เป็นสื่อที่เสนอเนื้อหาด้านสุขภาพ ได้แก่ บทความ ข่าวสาร รวมถึง ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแพคเกจ/บริการจาก รพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการต่างๆ ในประเทศไทย เท่านั้น รายละเอียดเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับบริการ-ราคา-เงื่อนไข-วิธีการบริการ โปรดสอบถามไปยังรพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการนั้นๆ โดยตรง