ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

8 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เบียดกันตาย (Crowd crush)

8 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เบียดกันตาย (Crowd crush) HealthServ.net
8 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เบียดกันตาย (Crowd crush) ThumbMobile HealthServ.net

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงได้นำเอาบทความของ BILL CHAPPELL, NPR ในหัวข้อ 8 tips to follow if you’re trapped in a crushing crowd มาให้ทุกคนได้ศึกษา ในกรณีที่ท่านอาจจะต้องพบเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันในลักษณะนี้

 
จากเหตุการณ์เบียดกันตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ ในงานฉลองวันฮาโลวัน ที่ย่านอิแทวอน ในกรุงโซล เมื่อวันที่ 30 ต.ค.65 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 150 ราย
 
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงได้นำเอาบทความของ BILL CHAPPELL, NPR  ในหัวข้อ 8 tips to follow if you’re trapped in a crushing crowd มาให้ทุกคนได้ศึกษา ในกรณีที่ท่านอาจจะต้องพบเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันในลักษณะนี้
 
1. อย่าเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีความแออัด หรืออาจจะถูกเบียดอัดจากฝูงชนรอบตัว
 
2. หากเริ่มรู้สึกอึดอัด หรือจุดที่คุณอยู่แออัดมากเกินไป ให้รีบออกจากจุดที่แออัดทันที
 
3. พยายามทรงตัวให้ยืนให้ได้ อย่าล้มโดยเด็ดขาด เพราะเมื่อคุณล้มลง ฝูงคนโดยรอบจะเบียดเข้ามาจนทำให้คุณไม่สามารถลุกขึ้นได้ และนั่นอาจจะทำให้คนอื่นสะดุดล้มมาทับคุณเพิ่มอีก
 
4. การขาดอ๊อกซิเจนเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเหตุการณ์เบียดกันตาย ดังนั้นเมื่อคุณรู้สึกถึงแรงเบียด ให้คุณพยายามตั้งแขนขึ้นมาในลักษณะตั้งการ์ด เพื่อให้บริเวณปอดมีพื้นที่สำหรับการหายใจ 
 
5. ห้ามออกแรงดันสวนกลับไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงดันของฝูงชน พยายามทรงตัวเดินไปตามแรงดันของฝูงชน
 
6. หลีกเลี่ยงการเดินเข้าหากำแพง หรือทางตัน เนื่องจากแรงเบียดจะอัดคุณให้ติดกับกำแพงได้
 
7. เรียนรู้วิธีการสังเกตความหนาแน่นของฝูงคน โดยดูจากจำนวนคนต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร  กรณี 5 คนต่อตารางเมตร ถือว่าเริ่มมีความหนาแน่น, กรณี 6 คนต่อตารางเมตร ถือว่าเป็นจุดอันตราย และกรณี 8 คนต่อตารางเมตร จะเริ่มพบผู้บาดเจ็บ
 
เคล็ดลับ: หากรู้สึกว่ามีคนกำลังแตะไหล่ของคุณทั้งสองข้าง หรือรู้สึกว่าร่างกายถูกสัมผัสจากคนรอบข้างหลายจุดพร้อมๆ กัน ลักษณะนี้จะถือว่ามีความหนาแน่น 6 คนต่อตารางเมตรหรือมากกว่านั้น กรณีนี้ยังถือว่ามีเวลาที่จะเอาตนเองออกจากจุดนั้นได้
 
8. ให้พยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เนื่องพฤติกรรมการช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน จะทำให้เกิดบรรยากาศในเชิงบวก ลดความเลวร้ายของสถานการณ์นั้นให้น้อยลง



เพจตำรวจสอบสวนกลาง
 
8 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เบียดกันตาย (Crowd crush) HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด