ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แผนกตรวจพิเศษ โรงพยาบาลศุภมิตร

เปิดบริการทุกวัน

เวลา 8.00น. - 20.00น.

โทร. 03 552 3777

ต่อ 3113

รพ. ศุภมิตร สุพรรณบุรี

ชั้น 2

แผนกตรวจพิเศษ แผนกตรวจพิเศษ โรงพยาบาลศุภมิตร แบ่งการให้บริการเป็น 3 ประเภท 1. ส่องกล้องทางเดินอาหารและลำไส้ 2. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) 3. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST: Exercise Stress Test) ส่องกล้องทางเดินอาหารและลำไส้ เน้นการให้บริการและดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องของระบบทางเดินอาหารโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ทางด้านระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ โดยทีมแพทย์และพยาบาลให้ข้อมูลในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจพิเศษทางระบบทางเดินอาหาร มีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่้อง รวมถึงให้คำปรึกษาภายหลังการตรวจเพื่อป้องกัน ไม่ให้มีอาการเกิดขึ้นอีก​ ​ การบริการด้านการแพทย์ การส่องกล้องตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารส่วนต้นและส่วนปลาย การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscope) การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ( Endoscopy ) การตรวจหัวใจด้วยความถี่สูง Echo ตรวจเพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ และดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆที่เข้า-ออกหัวใจ อาการแบบไหนที่ควรตรวจ Echocardiogram ผู้ที่มีอาการบวมและหอบเหนื่อย อาการบวมเกิดจากโรคหัวใจ ตับ ไต เป็นต้น ผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจวาย เช่น น้ำท่วมปอด การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย การตรวจสมรรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยให้ผู้ป่วยออกกำลลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เดินสายพานเลื่อน หรือ ปั่นจักรยาน เพื่อทดสอบว่า เมื่อหัวใจมีความต้องการใช้ออกซิเจนจากเลือดมากขึ้นในขณะออกกำลังกายจะเกิดภาวะทดเลือดหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันอยู่ก็จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอเมื่อต้องออกกำลังกายและมีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงไป บางรายจะเกิดอาการเสียดจุกแน่นหน้าอก และอาจเป็นอันตรายได้หากผู้ป่วยไม่ได้ทราบก่อนว่า "คุณเป็นโรคหัวใจ" ขอบ่งชี้ในการทดสอบ เพื่อวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน (ตีบมากๆ) ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสที่จะเป็น โดยดูจาก เพศ อายุ ปัจจัยเสี่ยงลักษณะอาการแน่นหน้าอก
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด