ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปวดหลังอย่านอนใจ ภาวะกระดูกพรุนจะมาเยือน

ปวดหลังอย่านอนใจ ภาวะกระดูกพรุนจะมาเยือน HealthServ.net
ปวดหลังอย่านอนใจ ภาวะกระดูกพรุนจะมาเยือน ThumbMobile HealthServ.net

ปัญหาโรคกระดูกพรุน กำลังเป็นภัยร้ายที่คุกคามผู้คนทั่วโลก ภายใน 50 ปี คาดว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนถึงนาทีละ 2 คน

 พ.อ.นพ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา เตือนปวดหลังอย่านอนใจ ภาวะ กระดูกพรุน จะมาเยือน
 
จริงอยู่ที่ว่า การไม่มีโรคถือเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ใช่ว่าสังขารของคนเราจะควบคุมกันได้ดั่งใจนึก พ.อ.นพ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา ผู้อำนวยการแพทย์ โรงพยาบาลวิภาวดี เตือนว่า ปัญหาโรคกระดูกพรุน กำลังเป็นภัยร้ายที่คุกคามผู้คนทั่วโลก ภายใน 50 ปี คาดว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนถึงนาทีละ 2 คน
 
คุณหมอวีระยุทธแจกแจงให้ฟังว่า ปัญหาใหญ่ของโรคกระดูกในปัจจุบัน คือ ภาวะกระดูกพรุนและหักง่าย ซึ่งมีคนไข้มารักษาที่โรงพยาบาลเกือบทุกวัน หลายๆคนต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น กระดูกสะโพกหัก บางคนมาหาหมอเพราะปวดหลัง หลังโก่ง หรือปวดกระดูกมากจนเดินไม่ได้ ซึ่งพวกนี้เป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะกระดูกพรุนทั้งนั้น โรคนี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ขนาดองค์การอนามัยโลก ยังส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนแก่ประชาชนทั่วไป โดยเชื่อว่าภายใน 50 ปี จะมีผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนทั่วโลกถึงนาทีละ 2 คน 
 
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน คุณหมอบอกว่า มีสาเหตุได้จากหลายๆกรณีแต่คนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนและหักง่าย คือ คนที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคไทรอยด์ และผู้ป่วยเรื้อรังที่ขาดสารอาหาร หรือได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มคนที่ขาดการออกกำลังกาย กินยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง ผู้สูงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ทิ้งแล้ว คนที่ดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็ล้วนแต่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งนั้น 
 
อย่างไรก็ดี คุณหมอกล่าวย้ำว่า คนส่วนใหญ่ยังคงมองข้ามความสำคัญของโรคกระดูกพรุน และมักปล่อยทิ้งไว้จนสายเกินแก้ จึงค่อยมาหาหมอ หลายๆคนมีปัจจัยเสี่ยงแต่ไม่รู้ตัวไม่ได้รักษา อย่างเช่น ได้รับอุบัติเหตุเล็กน้อย นั่งรถกระแทก พวกนี้ก็อาจทำให้กระดูกหักได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกหัก อาจรุนแรงถึงขั้นพิการเดินไม่ได้ด้วยซ้ำ
 
ถ้าจะให้ดีอย่าปล่อยให้ “โรคกระดูกพรุน” เป็นระเบิดเวลาที่ซุกซ่อนอยู่ในตัว สังเกตร่างกายตัวเองดีๆ หากมีสัญญาณบ่งชี้แม้เพียงเล็กน้อย ควรไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกทันที ที่ “ศูนย์กระดูกและข้อ” โรงพยาบาลวิภาวดี โทร 0-2561-1111 , 0-2941-2800 กด 1
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด