ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สาเหตุอาการปวดฟันแบบต่างๆ และวิธีรักษา

สาเหตุอาการปวดฟันแบบต่างๆ และวิธีรักษา HealthServ.net
สาเหตุอาการปวดฟันแบบต่างๆ และวิธีรักษา ThumbMobile HealthServ.net

อาการปวดฟันเป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ของคนทุกคน สามารถเกิดได้กับทุกชนชั้นวรรณะ

สาเหตุอาการปวดฟันแบบต่างๆ และวิธีรักษา HealthServ
 
อาการปวดฟันเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ที่พบบ่อยมีดังนี้ 
1. ฟันผุหรือหักร้าวจนถึงโพรงประสาทฟัน มักทำให้ปวดมาก ปวดจนนอนไม่หลับ 

การรักษา   โดยการรักษารากฟันหรือถอนฟันชี่นั้นออกไป 

2. ฟันผุไม่ถึงประสาทฟัน  แต่มีอาหารไปอัดอยู่แล้วไปกดโดนเหงือกทำให้ปวด 
อาการปวดแบบนี้จะปวดเมื่อเวลารับประทานอาหารแล้วเศษอาหารไปติดที่ซอกฟัน 
ทำให้ปวดตื้อๆอยู่นานๆ 

การรักษา  โดยการอุดฟันที่ผุนั้น 

3. โรคเหงือก [periodontal disease] ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากคราบหินปูนนั่นเอง 
ทำให้เหงือกอักเสบ บวม และปวดได้ บางครั้งอาจมีหนองเกิดร่วมด้วย 

การรักษา  โดยการขูดหินปูน เกลารากฟัน และอาจจำเป็นต้องมีการรักษาอื่นร่วมด้วย 
ถ้าเป็นมากอาจต้องถอนฟันออกไป 

4. การสบฟันผิดปกติ [malocclusion]   มักจะปวดเมื่อเคี้ยวอาหารหรือขณะฟันกระทบกัน 
การรักษา  โดยการกรอแก้ไขการสบฟัน[occlusal adjustment]   และแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ 
ฟันสบกันผิดปกติ 

5. โรคทางระบบประสาท [trigeminal neuralgia] มักจะปวดฟันมากกว่า 1 ซี่ร่วมกับ 
การปวดเหงือกและผิวหนังบริเวณแก้ม 

การรักษา  โดยการรับประทานยา บางครั้งอาจมีการผ่าตัดร่วมด้วย 

6. สาเหตุอื่นๆ เช่น ฟันที่เคยรักษารากฟันมานานแล้ว 
เมื่อมีอาการปวดฟันเกิดขึ้น ผมแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดได้ครับ 
แต่ห้ามนำยาแก้ปวดทุกชนิดไปแปะหรืออัดไว้ตรงฟันที่ปวดนะครับ เพราะอาจทำให้ 
เป็นแผลพุพองได้  หลังจากนั้นก็ให้มาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและแก้ไข 
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้แม้ว่าจะหายปวดไปแล้วก็ตาม เพราะการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 
ผลการรักษาย่อมประสบความสำเร็จมากกว่า จริงไหมครับ
 
โดย  ทพ.ณพงษ์ พัวพรพงษ์
 
  
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด