ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน

แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน HealthServ.net
แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน ThumbMobile HealthServ.net

คู่มือแนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital health station) ในชุมชน จัดทำโดยกรมควบคุมโรค ทำขึ้นขึ้นเพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต้ามบริบทของพื้นที่และเครือข่ายที่รับผิดชอบ หากมีข้อคิดเห็นประการใด กรุณาแจ้งกลุ่มพัฒนาความร่วมมือในประเทศและระหว่างประเทศ กองโรคไม่ติดต่อ เพื่อจะดำเนินการพัฒนาหรือแก้ไขปรับปรุงต่อไป

 

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 2 ใน 3 ของประชากรไทย ส่งผลต่อทั้งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ อีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึงและประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเองระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ําตาลในเลือดนอกสถานพยาบาลมีสมุดบันทึกข้อมูลสุขภาพออนไลน์ด้วย Application บนมือถือของประชาชนและเชื่อมต่อข้อมููลกับสถานพยาบาล


คู่มือแนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital health station) ในชุมชน จัดทำโดยกรมควบคุมโรค ทำขึ้นขึ้นเพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต้ามบริบทของพื้นที่และเครือข่ายที่รับผิดชอบ หากมีข้อคิดเห็นประการใด กรุณาแจ้งกลุ่มพัฒนาความร่วมมือในประเทศและระหว่างประเทศ กองโรคไม่ติดต่อ เพื่อจะดำเนินการพัฒนาหรือแก้ไขปรับปรุงต่อไป
การพัฒนาสถานีสุขภาพดิจิทัล
 
การจัดการสุขภาพจำเป็นต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับบุคคล และมีข้อมููลระดับชุมชนเพื่อการตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรหรือกํำ หนดนโยบายที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี ในการจัดการปัญหาโรคและภัยสุขภาพซึ่งมีประเด็นกํำลังคน ด้านสุขภาพซึ่งนอกจากในแง่ จำนวนของบุคลากรที่เหมาะสม ความรู้ รวมถึึงทักษะ แรงจููงใจและรับผิดชอบงานให้บริการสุขภาพก็มีส่วนที่ทํำ ให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้นได้ อีกทั้งยุทธศาสตร์ที่ 6 ของแผนการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ 5 ปี พ.ศ. 2560 - 2564 : พัฒนาระบบสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างบููรณาการกลยุทธ์ 6.3 พัฒนาบุคลากรทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้ ซึ่งมีเป้าประสงค์ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล(Digital Health Station) ในชุมชน
 
ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้มี้ีนโยบายลดความแออัดของการมารับบริการโรคไม่ติดต่อทํำ ให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาลด้วย Application บนมือถือของประชาชน และเชื่อมต่อข้อมููลกับสถานพยาบาล จึึงสมควรขยายการบริการดิจิทัลสุขภาพนี้ให้ประชาชนเข้าถึึงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสููง และประเมินความเสี่ยงของตนเองด้วยตัววัด 7 รายการ คือ
 
ดัชนีมวลกาย
รอบเอว
ระดับความดันโลหิต
ระดับน้ำตาลในเลือด
การสูบบุหรี่
การดื่มสุรา
ภาวะซึมเศร้า
 
ซึ่งประชาชนสามารถพยากรณ์โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดของตนเองได้ด้วย Diabetes risk score และ CVD risk score
 
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาวิชาการสนับสนุน และแนวทาง จึงได้จัดทำแนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน และเกณฑ์ประเมินสมรรถนะ เพื่อให้ป้ระชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจวัดค่าบ่งชี้สุขภาพเบื้องต้น ประเมินสถานะสุขภาพของตนเอง และส่งต่อข้อมูลผ่านอุปกรณ์ดิจิทัล เพื่อการดููแลและติดตามสุขภาพของตนเองร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยได้นําต้นแบบของจังหวัดบุรีรัมย์ นำมาพัฒนาเป็นรููปแบบจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน นอกจากนี้การจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน จำเป็นต้องมีการจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือ โดยขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด