ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก ร่วมเรียนรู้เพื่อป้องกัน

14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก ร่วมเรียนรู้เพื่อป้องกัน HealthServ.net
14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก ร่วมเรียนรู้เพื่อป้องกัน ThumbMobile HealthServ.net

เบาหวานเป็นภัยร้ายแรงขนานแท้สำหรับมนุษย์ยุคปัจจุบัน เป็นแล้วชีวิตก็จะไม่ง่ายเหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะเบาหวาน เป็นสะพานไปสู่โรคอื่นๆ อีกมากมายสารพัด และที่สำคัญเหตุของเบาหวานไม่ใช่แค่ "กินหวาน" อย่างที่เคยรับรู้มาแต่เก่าก่อนเท่านั้น แต่เหตุของเบาหวานมาในหลายรูปแบบเหลือเกินอย่างที่เราไม่รู้ ไม่เคยรู้ จึงไม่ตระหนักและระวังตัว

14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก ร่วมเรียนรู้เพื่อป้องกัน HealthServ
14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก เกิดขึ้นก็เพื่อให้ประชากรโลก ตระหนักและใส่ใจกับ โรคเบาหวาน ให้มากขึ้น ให้ตระหนักว่า โรคเบาหวาน คือภัยเงียบแต่ร้ายกาจสุดๆ ที่จ้องคุกคามมนุษยชาติ เป็นอันดับต้นๆ ที่ไล่หลังโรคยอดฮิตอย่างมะเร็ง หรือโรคหัวใจมาติดๆ 

วันเบาหวานโลก มีกิจกรรมจัดขึ้นทั่วโลก กว่า 400 กิจกรรม ใน 96 ประเทศทั่วโลก [worlddiabetesday.org] นับเป็นอีกมหกรรมรณรงค์ด้านสุขภาพที่แพร่หลายและได้รับความร่วมใจพร้อมเพรียงกันทั่วโลก 

นั่นเพราะทั่วโลกมองเป็นภาพเดียวกันว่า โรคเบาหวาน เป็นปัญหาระดับโลก ปัญหาที่คุกคามประชากรโลก

The International Diabetes Federation (IDF) องค์กรกลางที่เป็นเจ้าภาพในการรณรงค์ต่อสู้กับโรคเบาหวาน ชูประเด็น "EDUCATION TO PROTECT TOMORROW"  หรือ "เรียนรู้เพื่อป้องกัน" โดยมุ่งหวังกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐ ทำงานให้หนักขึ้นเพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ ที่จะนำให้ประชากรได้ตระหนักถึงโรค สาเหตุปัญหา และทางออกทางแก้ เพื่อไม่ให้ประชากรโลกในอนาคต ต้องจมอยู่กับโรคนี้เกินกว่าที่จะยอมรับได้อีกต่อไป




โรคเบาหวาน คืออะไร 
 
จะอธิบายโรคเบาหวาน ต้องอธิบายจากภาวะปกติของร่างกายก่อน กล่าวคือ ปกติแล้ว เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น เมื่อนั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน "อินซูลิน" ออกมา เพื่อจะนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลส์ ให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะลดลง
 
แต่เมื่อใด ที่ร่างกายไม่สามารถทำงานในกลไกปกติ เช่นนั้นได้ กล่าวคือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งฮอร์โมน "อินซูลิน" ออกมาจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ ก็เป็นผลให้ ระดับน้ำตาลในเลือดคงอยู่ในระดับสูง และอาจสูงขึ้นเกินปกติได้อีกด้วย และยิ่งเกิดขึ้นนานๆ ต่อเนื่องเรื้อรังไปอีกนั่นเอง 
 
การที่ร่างกาย ไม่สามารถ หลั่งฮอร์โมน "อินซูลิน" ออกมาได้ตามปกตินั้น แสดงว่าเกิดความผิดปกติกับ "ตับอ่อน" ที่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่หลั่งสารนี้  ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า "ดื้ออินซูลิน" ขึ้น เป็นภาวะที่อินซูลินออกฤทธิ์ได้ได้ไม่เต็มที่ นั่นเอง 
 
 
 
โรคเบาหวานมี 4 ชนิด

ดังนี้
 
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่วนใหญ่พบในเด็ก ต้องรักษาด้วยการให้ยาอินซูลิน 
 
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดพบบ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานร่วมด้วย การรักษาระยะแรกๆ ใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ถ้าเป็นนานๆ เรื้อรัง อาจต้องใช้ยาอินซูลิน 
 
โรคเบาหวานชนิดที่ 3 ขณะตั้งครรภ์ ตรวจพบในช่วงตั้งครรภ์ และหายไปหลังจากคลอด 
 
โรคเบาหวานชนิดที่ 4 จากเหตุจำเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด หรือการทานยาที่มีสารสเตียรอยด์
 
 
 
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 
 
พิจารณาความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ดูจาก ปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร อยู่ที่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ระดับน้ำตาลสะสม 5.7-6.4% 
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ  ไตรกลีเซอร์ไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 
- ระดับคอเลสเตอรอล เอสดีแอล (SDL) น้อยกว่า 35  มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีโรคอ้วน รอบเอวเกินมาตรฐาน คือ มากกว่า 90 ซม.ในชาย หรือ 80 ซม.ในหญิง ดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กก./ตร.ม.
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานมาก่อน เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง 
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือรับยาความดันโลหิตอยู่
- มีโรคหัวใจหรือหลอดเลือด 
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม จากโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อความเข้าใจที่รอบด้าน ของตระหนักรู้ใน "โรคเบาหวาน" และเพื่อเรียนรู้ป้องกันก่อนจะสายเกินไป

 


 

สัญญาณเตือน โรคเบาหวาน

วิธีสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณเตือน โรคเบาหวาน มาเยือนคุณหรือไม่ 
กินเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย แผลหายช้ากว่าปกติ อ่อนเพลียมาก น้ำหนักลด หายใจหอบเหนื่อย คลื่นไส้อาเจียน ซึมลงหรือหมดสติ หากคุณหรือคนในครอบครัวมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว

ผู้เป็นเบาหวาน ควรระวังและควบคุมเรื่องอาหาร

 

9 สัญญาณเตือนเสี่ยงโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน เพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ

9 สัญญาณเตือนเสี่ยงโรคเบาหวาน ได้แก่
1. ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
2. คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
3. หิวบ่อย กินจุกว่าเดิม
4. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
5. เป็นแผล แต่หายช้ากว่าปกติ
6. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
7. มีอาการตาพล่ามัว มองไม่ชัดเป็นช่วงๆ
8. ผิวหนังแห้งและคัน
9. รู้สึกชาบริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

อาหารไม่หวาน ก็ก่อเบาหวานได้ จริงหรือ?

อาหารบางประเภทแม้ไม่มีรสหวาน แต่หากรับประทานในปริมาณมากจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้

Checklist เสี่ยงเบาหวาน โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เนื่องในวันเบาหวานโลกประจำปีนี้เรามาเช็คตนเองกันดีกว่าครับว่ามีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานไหม ซึ่งถ้ามีเพียง 1 ข้อก็มีโอกาสเป็นเบาหวานได้
1. อายุ 35 ปีขึ้นไป 
2. อ้วน (มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25) 
3. มีคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน 
4. มีโรคความดันโลหิตสูง 
5. มีระดับไขมันในเลือดสูง 
6. มีโรคหัวใจและหลอดเลือด 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด