ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เครื่อง CPAP ตัวช่วยสำหรับคนนอนกรน

เครื่อง CPAP ตัวช่วยสำหรับคนนอนกรน HealthServ.net
เครื่อง CPAP ตัวช่วยสำหรับคนนอนกรน ThumbMobile HealthServ.net

การนอนกรน เกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจตีบแคบลง เนื่องจากกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในบริเวณนั้นมีการหย่อนตัวลง เวลาลมผ่านช่องแคบนี้กล้ามเนื้อจะเกิดการสั่นกระพือ เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น และบางครั้งกล้ามเนื้อที่หย่อนตัวลงนี้อาจหย่อนลงมามากจนปิดช่องทางเดินหายใจ จนอาจเกิดเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้


 
          CPAP (อ่านว่า ซี-แพบ) ย่อมาจากคำว่า Continuous Positive Airway Pressure คือเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องโดยเครื่องจะอัดอากาศแรงดันบวกให้แก่ผู้ใช้ เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น ไม่ให้ตีบแคบขณะที่เรานอนหลับ โดยตัวเครื่องจะเป่าลมผ่านท่อสายยางไปสู่จมูกผ่านทางหน้ากาก ใช้สำหรับรักษาผู้ที่มีอาการนอนกรนระดับปานกลาง (Moderate) ถึงรุนแรง (Severe) เป็นวิธีการรักษาโรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ผลสำเร็จในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ใช้ เพราะการใช้เครื่อง CPAP ต้องอาศัยการปรับตัวในช่วงแรก และอาจพบปัญหาขณะที่ใช้เครื่องได้ เช่น คัดจมูก ปากแห้ง คอแห้ง ลมรั่วจากหน้ากาก ลมแรงเกินไป เป็นต้น
 
          เครื่อง CPAP จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำการรักษาและการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับตนเอง เนื่องจากแต่ละคนมีปัญหาการนอนกรนที่แตกต่างกันจำเป็นต้องใช้แรงดันที่แตกต่างกัน
 
 
ปัญหาที่อาจพบได้บ่อยขณะที่ใช้เครื่องมีดังนี้
 
     - คัดจมูก
    - ปากแห้ง คอแห้ง
     - ลมรั่วจากหน้ากาก
     - ลมแรงเกินไป
 
 เมื่อเริ่มต้นใช้เครื่องหากพบปัญหาเหล่านี้ ผู้ป่วย ไม่ควรละทิ้งเครื่อง ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยแก้ไข เพราะการใส่เครื่องในช่วงแรกอาจยังไม่คุ้นเคย ต้องอาศัยการปรับตัวให้ชินกับเครื่องระยะหนึ่ง แล้วจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อ หลับได้ดีขึ้น ไม่มีนอนกรนหรือ หยุดหายใจ แล้ว

แนวทางเลี่ยงลดการนอนกรน


ศูนย์โรคการนอนหลับ (SleepCenter.mahidol.ac.th) โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนทั่วไป เพื่อช่วยลด/บรรเทาอาการนอนกรน ไว้ดังนี้
 
  1. การลดน้ำหนัก ในรายที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน จะช่วยให้ โรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับดีขึ้น อาการกรน น้อยลงและ นอนหลับได้ดีขึ้น การรักษาอื่นที่ได้รับได้ผลมากขึ้น
  2. งดดื่มแอลกอฮอล์ ช่วง 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะ  แอลกอฮอล์จะทำให้การนอนหลับแย่ลง และ ยังกดการหายใจทำให้ กรนมากขึ้น และโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ จะเป็นมากขึ้น
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานยานอนหลับ เพราะยานอนหลับ กดการหายใจทำให้ กรนมากขึ้น และโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ จะเป็นมากขึ้น หากผู้ป่วยมีนอนไม่หลับร่วมด้วยจะ ควรปรึกษาแพทย์ มากกว่า
  4. พยายามนอนตะแคง อาการจะน้อยกว่านอนหงาย
  5. หากง่วงนอนขณะขับรถควรหยุดขับ จอดข้างทางเพื่อพัก หรือเปลี่ยนคนขับ พึงระวังไว้ว่ามีอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วม ง่วงไม่ขับ
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด