ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รพ.ในจ.ภาคเหนือ ปรับตัวปรับแผนรับมือวิกฤต PM 2.5 เพื่อปกป้องดูแลประชาชนอย่างไร

รพ.ในจ.ภาคเหนือ ปรับตัวปรับแผนรับมือวิกฤต PM 2.5 เพื่อปกป้องดูแลประชาชนอย่างไร HealthServ.net
รพ.ในจ.ภาคเหนือ ปรับตัวปรับแผนรับมือวิกฤต PM 2.5 เพื่อปกป้องดูแลประชาชนอย่างไร ThumbMobile HealthServ.net

วิกฤต PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน มีความรุนแรงส่งผลต่อประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลต่างๆ ที่เป็นหน่วยดูแลรักษาพยาบาลประชาชนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โรงพยาบาลหลายแห่งได้เร่งดำเนินการ ปรับตัว ปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

ศิริราชมูลนิธิ มอบเครื่องฟอกอากาศโรงพยาบาลในภาคเหนือ


ศิริราชมูลนิธิ และบริษัทเอกชน นำส่งเครื่องฟอกอากาศทางการแพทย์ประสิทธิภาพสูง รวม 10 เครื่อง ให้กับโรงพยาบาลในภาคเหนือ ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ได้แก่ รพ.เชียงราย รพ.แม่สาย รพ.แม่จัน รพ.เชียงของ และรพ.พาน เพื่อนำไปใช้ในห้องคลอดสำหรับเด็กแรกคลอด  พร้อมกับการระดม ทีมศิริราช ทีมเชียงราย และทีมวิศวกรอาสา จะประชุมระดมสมองสร้างห้องปลอดฝุ่นตามโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นที่หลบภัยของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาล ให้ทันใช้งานก่อนที่สุขภาพของพวกเขาจะเสื่อมทรุดไปมากกว่านี้ - นิธิพัฒน์ เจียรกุล 28 มีนาคม 2566
 


จ.เชียงาย


โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงาย
 
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ย้ำชัดว่า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน จึงเร่งดำเนินการทั้งเชิงแนะนำ รณรงค์แก่ประชาชน ชุมชน และภาคปฏิบัติภายในโรงพยาบาล ดูแลผู้มารับบริการ หลายมาตรการ มาตรการ 4 ข้อเพื่อช่วย ลดปริมาณ PM 2.5 ได้แก่ 
  1. ป้องกันฝุ่นจากภายนอกเข้าไปภายในที่พักอาศัย โดย ปิดประดู-หน้าต่าง หรือใช้วัสดุปิดช่อง/รูที่อากาศภายนอกจะเข้าได้
  2. หากมีพัดลมระบายอากาศ ให้ปิดพัดลมระบายอากาศ
  3. การวางเครื่องพอกอากาศ ให้วางไว้ตรงข้ามแอร์ โดยห่างจากผนัง 10 เชนติเมตรเพื่อให้เครื่องพอกอากาศดูดอากาศได้อย่างสะดวก อากาศไหลเวียนได้ดี และไม่แนะนำให้วางในบริเวณที่ขึ้น เช่น หน้าห้องน้ำ
  4. ใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ทุกครั้งที่อยู่ในพื้นที่เปิด / ที่โล่งแจ้ง
 
       ส่วนมาตรการภายในโรงพยาบาลต่อผู้มาใช้บริการนั้น ได้จัด ห้องปลอดฝุ่นในโรงพยาบาล 2 จุด จุดที่ 1 ห้องสมุด ชั้น 1 อาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก  และ จุดที่ 2 ห้องประชุมพระราชปัญญาโมลี ชั้น 1 อาคารสงฆ์อาพาธ และได้เตรียมหน้ากากแจกให้ผู้มารับบริการ อีกด้วย
 
       รพ.แนะนำให้ประชาชนสังเกตอาการตนเอง หากมีความผิดปกติ หายใจเร็วถี่ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงรี๊ด หอบเหนื่อย ไอบ่อย แน่นหน้าอก ติดต่อพบแพทย์ที่ คลินิกมลพิษ หรือ คลินิกมลพิษออนไลน์
 
 
 
โรงพยาบาลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย
 
อ.แม่สาย มีค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน อย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากเกินมาตรฐานในเดือนเมษายน (เกิน 300) โรงพยาบาลจัดทำห้อง Clean room ในห้องคลอด และผู้ป่วยนอก  พร้อมออกแนะนำ ให้ประชาชนเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ใส่หน้ากากป้องกันหากมีความจำเป็น ปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติ จัดกิจกรรม “Big cleaning Day ” จัดโครงการ อสม. เคาะประตูบ้าน เตือนภัย PM2.5 ให้ความรู้เรื่องหมอกควัน ให้แก่กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป 
 
บริการคลินิกมลพิษ (Pollution Clinic) สำหรับท่านมีอาการ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ 
 
เปิดให้บริการ CLEAN ROOM “ที่พักผ่อน ปลอดมลพิษ” เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. ติดต่อสอบถามโทร.053-731300
 
 
7 เมษายน 2566 ได้รับบริจาคเครื่องฟอกอากาศ จำนวน 3 เครื่อง พัดลมไอเย็น เอ็มคูล รุ่น MKF-05 จำนวน 19 เครื่อง จากบริษัทเอกชน ผ่าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย 
 
31 มีนาคม 2566 รับบริจาค เครื่องฟอกอากาศ  KI-AP1470W จำนวน 3 เครื่อง ไปติดตั้ง ณ ตึกผู้ป่วยในเด็กและหลังคลอด ห้องคลอดและเด็กหลังคลอด
 
28 มีนาคม 2566 รับมอบ เครื่องฟอกอากาศ  EKEAIR  รุ่น S2  จำนวน 2 เครื่อง ในนาม ศิริราชมูลนิธิ-ทุนต่อลมหายใจ และได้นำไปติดตั้ง ณ ห้องแม่และเด็กหลังคลอด และ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่สาย
 

 
 
โรงพยาบาลแม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย
 
4 เมษายน 2566 ออกประกาศมาตรการเพื่อสุขภาพชาวอ.แม่จัน ส่วนโรงพยาบาลดำเนินการเพื่อดูแลผู้มารับบริการ โดยสนับสนุนหน้ากากให้ และจัดห้องปลอดฝุ่นในโรงพยาบาล 2 จุด 1) ห้องรับรองชั้น 1 อาคารผู้ป่วยนอก 2) ห้อง Clean room กลุ่มงานปฐมภูมิ ห้องเบอร์ 19  ติดต่อรพ.แม่จัน 053-771300 

 
 
โรงพยาบาลพาน อ.พาน จ.เชียงราย
 
ค่าฝุ่นในอ.พาน 4 เมษายน 2566  ตรวจวัดที่ อบต.ป่าหุ่ง 336  ต.ม่วงคำ 167  รพ.สต.331 ถือว่ารุนแรง รพ.ได้ออกคำแนะนำ งดทำกิจกรรมนอกบ้าน สวมหน้ากากหากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีอาการผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์ 
28 มีนาคม 2566 รพ.พาน รับมอบเครื่องฟอกอากาศกำจัดฝุ่น จำนวน 2 เครื่อง บริจาคจากศิริราชมูลนิธิ-ทุนต่อลมหายใจ  มูลค่า 920,000  พญ.อัมพวัน ศรีครุฑรานันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพาน รับมอบ
 



 

จ.เชียงใหม่

ปัญหาฝุ่นควัน ไฟป่าและมลพิษในจ.เชียงใหม่ยังคงรุนแรงต่อเนื่อง มีค่าเกินค่ามาตรฐาน (อยู่ระหว่าง 112-398 มคก./ลบ.ม) ตลอด 24 ชั่วโมง (ข้อมูล ณ 6 เมษายน) 
 
6 เม.ย. 66 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ออกประกาศให้หน่วยงานรัฐทำงานที่บ้าน (Work from Home) ในส่วนภารกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชน และขอความร่วมมือหน่วยงานรัฐอื่นๆ และเอกชน ให้ทำเช่นกัน หากจัดประชุมให้ใช้การประชุมผ่านออนไลน์แทน ลดการออกนอกเคหสถาน งดกิจกรรมกลางแจ้ง ประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ขอให้งดออกนอกบ้าน  เรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาเปิดบริการห้องปลอดฝุ่นให้แก่ประชาชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่มีห้องปลอดฝุ่น ให้พิจารณาหยุดการเรียนการสอน  สวนสาธารณะในความดูแลของหน่วยงานภาครัฐ ให้พิจารณาปิดพื้นที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
 
 
โรงพยาบาลนครพิงค์

นพ.วรเชษฐ เต๋ชะรัก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพิงค์ ได้นำคณะผู้บริหาร ทีมช่างและงานสิ่งแวดล้อม ลงสำรวจปริมาณฝุ่นในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (NICU) พบว่าแม้จะมีค่าฝุ่นต่ำกว่าภายนอกอาคารแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูง จึงได้แก้ปัญหา เบื้องต้นด้วยการติดตั้งไส้กรอง HEPA ในเครื่องปรับอากาศ  เปลี่ยน,ล้างไส้กรอง และติดตั้งเครื่องฟอกอากาศเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น โดยจะเร่งดำเนินการไปตามหอผู้ป่วยต่างๆ รวมถึงการแจกหน้ากาก N95 ให้กับผู้ป่วย โดยในช่วงแรกจะเน้นไปที่หอผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ทารก,เด็กเล็ก หอผู้ป่วยวิกฤต เป็นลำดับแรก
 
      อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลนครพิงค์มีอาคารจำนวนมาก มีพื้นที่ส่วนให้บริการกว้างขวาง จึงทำให้การแก้ไขปัญหาในทุกจุดเป็นเรื่องยาก หากสถานการณ์วิกฤตหมอกควันยังไม่ดีขึ้น ก็คงเลี่ยงผลกระทบได้ยาก ดังนั้นจึงขอแนะนำประชาชนที่มีความจำเป็นต้องมารับบริการในช่วงนี้ ให้สวมหน้ากากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง N95 หรืออย่างน้อยหน้ากากอนามัยที่มีมาตรฐาน หากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ที่มารับยาโรคประจำตัว ท่านสามารถขอรับยาทางไปรษณีย์ หรือสอบถามเพื่อขอรับบริการแบบทางไกล (TeleMedicine) จากเจ้าหน้าที่ที่จุดตรวจนั้นๆ ได้โดยตรง
 

 
 

จ.แม่ฮ่องสอน


โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ 
 
รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองในอ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จาก รพ.ศรีสังวาลย์ ในรอบ 1 สัปดาห์ (ตั้งแต่ 27 มีนาคม - 4 เมษายน) มีค่าเฉลี่ยฝุ่นที่ 396 มคก./ลบ.ม.  เป็นระดับที่ "มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก" (สูงสุดวันที่ 30 มีนาคม 805  วันที่ 31 มีนาคม 764 วันที่ 29 มีนาคม 585)  รพ.ได้ออกคำเตือน ประชาชนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกอย่าง ใส่หน้ากาก และพบแพทย์หากมีปัญหาสุขภาพ
 
รพ.ศรีสังวาลย์ จัดทำห้องปลอดฝุ่น 11 ห้อง ได้แก่ ห้องไตเทียม ห้องอภิบาลทารกแรกเกิด ห้อง ICU ห้องทำงานกลุ่มอาชีวเวชกรรม ห้องคลินิก ANC ห้องประชุมราชอัยยิกานุสรณ์ ห้องตรวจพบแพทย์คลินิกพิเศษ ห้องกายภาพบำบัด ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ห้องประชุม และห้องทำงาน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
 
 
มาตรการ บรรเทาผลกระทบให้กับผู้มารับบริการในโรงพยาบาล ดังนี้
1. ให้บริการห้องปลอดฝุ่น (Clean room) สำหรับผู้มารับบริการ ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก สามารถเข้ามาใช้บริการได้ 
2. ปรับระบบแรงดันอากาศในบริเวณห้องตรวจผู้ป่วยนอก เพื่อให้แรงดันอากาศภายในบริเวณห้องตรวจ สูงกว่าแรงดันอากาศภายนอกอาคาร
3. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศเพิ่มบริเวณห้องตรวจผู้ป่วยนอก และห้องฉุกเฉิน
4. เพิ่มจุดพ่นละอองฝอยในบริเวณโดยรอบโรงพยาบาล และอาคารบริการ 
5. เปิดบริการคลินิกมลพิษ ณ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม สามารถมาขอรับคำปรึกษา และรับคำแนะนำได้
 
โรงพยาบาลได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานป้องกันและบันเทาสาธารณภัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และลดฝุ่นละอองในอากาศ
 
 
ในพื้นที่ชุมชน รพ.ศรีสังวาลย์ ลงพื้นที่แจกหน้ากากอนามัย และประชาสัมพันธ์การดูแลสุขภาพ การป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เบื้องต้น ให้กับพี่น้องประชาชนชาวแม่ฮ่องสอน ณ บริเวณตลาดสายหยุด อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอนามัย ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และผู้ป่วยติดเตียงที่จะประสบปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ
 
 
 
โรงพยาบาลแม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง
 
27 มีนาคม 2566 เวลา 9.00 น. พระอาจารย์ชัยฮวด (OOI  CHYE HUAT) อุปสันโต เจ้าสำนักสงฆ์ศิริห้วยมะน้ำ ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน พร้อมศิษยานุศิษย์จากประเทศมาเลเซีย บริจาครถพยาบาล มูลค่า 2,200,000 บาท และเครื่องช่วยหายใจ มูลค่า 450,000 บาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น จำนวน 2,650,000 บาท (สองล้านหกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) แก่โรงพยาบาลแม่สะเรียง เพื่อใช้ในกิจการของโรงพยาบาล โดยมีนายสุรเชษฐ์ พุ้ยน้อย นายอำเภอแม่สะเรียง นายบัณฑิต ดวงดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สะเรียง นายดำรงค์ นันยบุตร สาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง และรวมไปถึงเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลแม่สะเรียง เข้าร่วมรับมอบในครั้งนี้


*ภาพจาก ThaiPBS
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด