ผลกระทบของการรักษาโรคมะเร็งต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
รับประทานอาหารได้น้อยลงไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบร่างกายที่เกิดขึ้นจากการรักษา
มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก กลืนลำบาก แสบปากและเจ็บเมื่อรับประทานอาหาร
ยาที่รักษามะเร็งมีผลลดความอยากอาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนไป ทำให้รับประทานอาหารน้อยลง การดูดซึมสารอาหารลดลงนำไปสู่ปัญหาการขาดสารอาหาร ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภูมิต้านทานลดลงติดเชื้อง่ายและไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้
ปัญหาที่พบเสมอในผู้ป่วยมะเร็งคือ ได้รับโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการรักษาโรค ต่อต้านการติดเชื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกายในการที่จะป้องกันการนำกล้ามเนื้อไปใช้เป็นพลังงาน
กินอย่างไรเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำ
ผู้ได้รับเคมีบำบัด ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก ควรปรุงอาหารให้สุกเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่เกิดจากอาหารในผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ (โดยทั่วไปจะเกิดประมาณ 10-14 วันหลังรับยา)
อาหารควรผ่านการพลาสเจอไรซ์ การสเตอริไรซ์ เช่น นมกล่อง นมกระป๋อง
อาหารทางการแพทย์แบบผงผ่านการสเตอริไรซ์แล้วสามารถทานได้
เนื้อสัตว์ทุกชนิดต้องผ่านความร้อนให้สุกก่อนทั้งสิ้น
เต้าหู้ควรนำไปต้มอย่างน้อย 5 นาทีก่อนนำมาปรุงอาหาร
เครื่องปรุงอื่นๆเช่น ซอส น้ำตาล สามารถใช้ได้ พวกที่ใช้ไม่หมดและไม่ใช่ของแห้งหลังจากเปิดใช้ควรใส่ตู้เย็น
เครื่องดื่มหรืออาหารที่มีการใส่ยีสต์ ควรผ่านความร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง
น้ำและเครื่องดื่มควรผ่านการต้ม
น้ำในขวดบริโภคผ่านการขึ้นทะเบียน อย. สามารถดื่มได้
อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหาตามอาการ
ในผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรปรับการกินอาหาร
ตามอาการที่ปรากฏ ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การรับรสเปลี่ยน ปากแห้ง เจ็บปาก อิ่มเร็ว ท้องเสีย ท้องผูก ดังนี้