ธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ หมายถึง สถานบริการที่ไม่ใช่โรงพยาบาล มีการให้บริการ ที่พำนัก บริการยาแก่ผู้สูงอายุที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเป็นประจำ โดยทั่วไปจะครอบคลุม การให้บริการอาหาร การดูแลความสะอาดเสื้อผ้าและที่พัก ตลอดจนความสะอาดของร่างกาย พร้อมทั้งติดตามดูแลสุขภาพเบื้องต้นอย่างใกล้ชิด แต่ ไม่ได้ให้การรักษาพยาบาล หากมีความเจ็บป่วยจะบริการนำส่งต่อแผนกคนไข้ของ โรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อรับการรักษาพยาบาลต่อไป
ปัจจุบันธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุมีการแบ่งประเภทการให้บริการอยู่ 2 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1 แบ่งตามระยะเวลาที่ผู้สูงอายุเข้ารับบริการ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1) การบริการแบบไปเช้า-เย็นกลับ (Day Care) สำหรับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้และมีญาติรับ-ส่ง
2) การบริการแบบสถานบริการดูแลระยะยาว (Long Stay) ที่ผู้สูงอายุอาศัยในสถานบริการนั้นเลยหรืออาศัยในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยญาติที่ไม่มีเวลาดูแลจะนำผู้สูงอายุมาฝากดูแล และมาเยี่ยมเป็นครั้งคราว
มิติที่ 2 แบ่งตามความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการ แบ่งเป็น 2
ประเภทคือ
1) ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้
2) ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพา ทุพพลภาพ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีโรคเรื้อรังหรือ
ต้องการผู้บริบาลและการรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิด
การขออนุญาตประกอบธุรกิจ
ในกรณีที่มีการดำเนินงานเป็นรูปแบบ “สถานพยาบาล” ต้องมีการขออนุญาตใน รูปแบบสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ พ.ร.บ. สถานพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ค. 2547 และเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกอบ กิจการสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 โดยยื่นคำขอและแจ้งได้ที่ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ (one stop service) ชั้น 1 อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพหรือสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด