ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สปสช.ยกเครื่องระบบปฐมภูมิในพื้นที่ กทม. เปิดให้สิทธิว่างลงเบียนหน่วยบริการ 1 พ.ย.นี้

สปสช.ยกเครื่องระบบปฐมภูมิในพื้นที่ กทม. เปิดให้สิทธิว่างลงเบียนหน่วยบริการ 1 พ.ย.นี้ HealthServ.net
สปสช.ยกเครื่องระบบปฐมภูมิในพื้นที่ กทม. เปิดให้สิทธิว่างลงเบียนหน่วยบริการ 1 พ.ย.นี้ ThumbMobile HealthServ.net

สปสช.ปรับระบบบริการปฐมภูมิใน กทม. มีหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจำ และเพิ่มหน่วยร่วมให้บริการ ทำงานเป็นเครือข่าย ให้ประชาชนเข้ารับบริการที่จุดไหนก็ได้ พร้อมเตรียมเปิดให้ผู้ที่เป็นสิทธิว่างลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการวันที่ 1 พ.ย. 2563 นี้

สปสช.ยกเครื่องระบบปฐมภูมิในพื้นที่ กทม. เปิดให้สิทธิว่างลงเบียนหน่วยบริการ 1 พ.ย.นี้ HealthServ
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 พ.ย. 2563 นี้ สปสช.จะปรับระบบบริการปฐมภูมิในพื้นที่ กทม. พร้อมเปิดให้ประชาชนที่เป็นสิทธิว่างได้ลงทะเบียนหน่วยบริการประจำ โดยครั้งนี้ สปสช.ตั้งเป้าหมายจะมีหน่วยบริการปฐมภูมิเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 500 แห่ง 
 
 
  นพ.จเด็จ กล่าวว่า ระบบบริการที่ปรับใหม่นี้ จากเดิมที่มีหน่วยบริการปฐมภูมิหรือคลินิกทั่วๆ ไปและหน่วยบริการประจำ ซึ่งบางครั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการประจำก็เป็นหน่วยเดียวกัน และหากจำเป็นต้องส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ก็จะมีโรงพยาบาลรับส่งต่อคอยรับช่วงอีกทอดหนึ่ง แต่ในระบบใหม่นี้ นอกจากจะมีหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการประจำแล้ว ยังได้เพิ่มหน่วยร่วมให้บริการ อาทิเช่น คลินิกที่เปิดในเวลาที่ประชาชนสะดวก เช่น หลังเลิกงาน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เสร็จงานจากโรงพยาบาลมาเปิดคลินิกช่วงเย็น 2-3 ชั่วโมง ซึ่งก่อนหน้านี้คลินิกลักษณะนี้ไม่เข้าข่ายเข้าร่วมโครงการกับ สปสช. แต่ในระบบใหม่นี้จะรวมเข้าไปด้วย โดยทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยมีหน่วยบริการประจำ อาทิ ศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. เป็นแม่ข่ายคอยช่วยเหลือในเรื่องคุณภาพบริการ ซึ่งในกลุ่มของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิทั้ง 3 แบบนี้ ประชาชนสามารถเข้าไปรับบริการที่จุดไหนก็ได้ และหากจำเป็นต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ในระดับโรงพยาบาลรับส่งต่อก็จะปรับจากเดิมที่มีโรงพยาบาลเดียว เป็นกลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อ ซึ่งจะมีประมาณ 2-3 แห่งในแต่ละพื้นที่นั้น เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่คนไข้ในการเข้ารับบริการในจุดที่สะดวกหรือใกล้บ้านมากขึ้น
 
 
ขณะเดียวกัน ในกรณีที่ประชาชนเข้ารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ในเครือข่ายกันก็ไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัวเนื่องจากมีการเชื่อมโยงข้อมูลด้วยเครือข่ายสารสนเทศถึงกันหมด และหากต้องไปนอนโรงพยาบาล หน่วยบริการในเครือข่ายก็จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันเอง ทำให้ลดภาระของผู้ป่วยในการเดินทางไปรับเอกสารจากหน่วยปฐมภูมิไปยังโรงพยาบาลรับส่งต่อ
 
 
นพ.จเด็จ กล่าวอีกว่า สำหรับขั้นตอนการเตรียมการในขณะนี้ สปสช.อยู่ระหว่างรับสมัครคลินิกเข้าร่วมโครงการ โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครในวันที่ 12 ตุลาคม นี้ ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป โดยทางศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. จะช่วยชี้เป้าในแต่ละพื้นที่ว่าคลินิกไหนที่น่าสนใจ รวมทั้งยังเปิดให้ประชาชนสามารถเสนอรายชื่อคลินิกในดวงใจเข้ามาด้วย เพื่อที่ สปสช.จะได้เข้าไปเจรจาให้เข้าร่วมโครงการ ทั้งหมดนี้จะดำเนินการโดยเร็วและจัดระบบให้เรียบร้อยภายในเดือนนี้ จากนั้นวันที่ 1 พ.ย. 2563 จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนหน่วยบริการประจำ โดยรูปแบบการลงทะเบียนก็จะจัดทางเลือกให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยจะประชาสัมพันธ์รายละเอียดและวิธีการให้ทราบอีกครั้งในเร็วๆ นี้ และเมื่อลงทะเบียนแล้วรู้สึกไม่สะดวกที่จะไปรับบริการในภายหลัง ก็สามารถขอลงทะเบียนย้ายหน่วยบริการประจำได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป
 
 
"ในช่วงนี้ก็อยากประชาสัมพันธ์ถึงคลินิกใน กทม.ว่าให้ท่านแต่งตัวรอได้เลย ไม่ว่าจะเป็นคลินิกที่เปิดทั้งวันหรือเปิดเฉพาะตอนเย็น 3-4 ชั่วโมง ก็สามารถเข้ามาสมัครได้ ซึ่งปกติคลินิกที่ผ่านเกณฑ์ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็แทบจะผ่านเกณฑ์หมดแล้ว เพียงแต่ สปสช.อาจมีบางรายการที่อยากให้ท่านจัดบริการเพิ่ม เช่น การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเพิ่มเติมให้ประชาชน" นพ.จเด็จ กล่าว
 
 
11 ตุลาคม 2563

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด