ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ H1N1 2009

สาเหตุเกิดจาก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนทั้งในมนุษย์และสุกร เกิดจากการผสมสาร พันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก เชื้อในฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย มีชีวิตอยู่ที่มือได้นานประมาณ 5 นาที แต่สามารถมีชีวิตอยู่ตามพื้นผิวและสิ่งของเครื่องใช้ได้นานอย่างน้อย 2 ถึง 8 ชั่วโมง ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม หากความชื้นต่ำ อากาศแห้งและเย็น เชื้อจะอยู่ได้นานขึ้น

ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ H1N1 2009

สาเหตุเกิดจาก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนทั้งในมนุษย์และสุกร เกิดจากการผสมสาร พันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก เชื้อในฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย มีชีวิตอยู่ที่มือได้นานประมาณ 5 นาที แต่สามารถมีชีวิตอยู่ตามพื้นผิวและสิ่งของเครื่องใช้ได้นานอย่างน้อย 2 ถึง 8 ชั่วโมง ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม หากความชื้นต่ำ อากาศแห้งและเย็น เชื้อจะอยู่ได้นานขึ้น
 

การแพร่ติดต่อ

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอช1เอ็น1 ที่เป็นสาเหตตุพบอยู่ในฝอยละอองน้ำมูก และเสมหะของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไอจามจะแพร่ไปยังคนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ในระยะ 1 เมตร หรือ ประมาณหนึ่งช่วงแขน หากผู้ป่วยใช้มือป้องจมูกเวลาไอจาม เชื้อจะติดอยู่ที่มือและไปปนเปื้อน สิ่งของเครื่องใช้ คนอื่น ๆ ที่มาจับต้องสิ่งของเหล่านั้น เช่น ผ้าเช็ดมือ ราวบันได ปุ่มลิฟต์ โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ หรือใช้มือมาแคะจมูก ขยี้ตา หรือดื่มน้ำจากแก้วน้ำเดียวกัน หรือรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้ป่วยโดยไม่ใช้ช้อนกลาง ก็จะมีโอกาสติดเชื้อได้ ผู้ป่วยจะแแพร่เชื้อได้มากสุดในช่วง 3 วันแรกของการป่วยและแพร่เชื้อได้ลดลงเมื่ออาการทุเลาขึ้น ส่วนใหญ่มักแพร่เชื้อได้ ไม่เกิน 7 วัน
 

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

  • อยู่ไกลจากผู้ป่วยอย่างน้อยหนึ่งช่วงแขน เพื่อไม่ให้ถูกไอจามรดโดยตรง หรือสูดฝอยละอองเชื้อโรคเข้าไป
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดมือ แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ และใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหารกับผู้อื่น
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และล้างมือหลังจากสัมผัสพื้นผิว สิ่งของเครื่องใช้ที่อาจปนเปื้อนเชื้อ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มลิฟต์ โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์
  • ฝึกนิสัยไม่ใช้มือแคะจมูก จับปาก ขยี้ตา หรือจับต้องใบหน้า หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ควรใช้กระดาษทิชชูจะปลอดภัยกว่า
  • ไม่ควรเข้าไปในสถานที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดมาก หากจำเป็น ผู้เป็นกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง ควรป้องกันตนเองอย่างดี เช่น สวมหน้ากากอนามัย และเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ 
  • รักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรค
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และสัมผัสแสงแดดยามเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไข่ นม ผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก เช่น ฝรั่ง
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มากพอ
  • พักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ
  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เที่ยวไปในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
อาการป่วย
 หลังจากได้รับเชื้อ 1 ถึง 4 วัน (เฉลี่ย 2 วัน) ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสีย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (95%) อาการไม่รุนแรง อาการจะคล้ายกันกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สายพันธ์เก่า แต่เนื่องจากเชื้อนี้สามารถทำให้เกิดปอดบวมได้มากกว่าเชื้อสายพันธุ์เก่า จึงพบว่ามีผู้ป่วยส่วนหนึ่ง (5%) มีอาการป่วยรุนแรง
 

ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนมาก (70%) เป็นผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ ไต เบาหวาน พิการทางสมองและปัญญา ฯลฯ) หญิงตั้งครรภ์ (เสี่ยงป่วยรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า) ผู้เป็นโรคอ้วน ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ผู้ป่วยรับยากดภูมิต้านทาน ฯลฯ) เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี อย่างไรก็ตามยังมีผู้เสียชีวิตส่วนน้อย (30%) ที่มีสุขภาพดีก่อนป่วย ยังไม่พบปัจจัยเสี่ยง ที่ชัดเจน องค์การอนามัยโลกและหลายประเทศกำลังเร่งศึกษาหาสาเหตุ
 

สัญญาณอันตราย

คือ มีไข้สูงไม่ลดลงภายใน 2 วัน (เด็กอาจมีอาการชัก) ไอมากจนเจ็บหน้าอก ไอมีเลือดปน หรือหายใจถี่ หอบ เหนื่อย ไม่ทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ ซึมมาก อ่อนเพลียมาก นอนซม อาเจียนหรือ ท้องร่วงมาก มีอาการขาดน้ำ ผิวหนังมีสีม่วงคล้ำ
 
ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้
รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อรับการรักษาและยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด
 

การรักษา

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง คือ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ ไต เบาหวาน ฯลฯ) หญิงมีครรภ์ ผู้เป็นโรคอ้วน ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ผู้ป่วยรับยากดภูมิต้านทาน ฯลฯ) เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เมื่อป่วย เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ อาจป่วยรุนแรง ให้รีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันทีเมื่อเริ่มป่วย แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะให้ผลการรักษาดี
 

การดูแลรักษาผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงที่บ้าน

หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึมหรืออ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวที่บ้านได้ โดยปฏิบัติดังนี้
  • ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้าน ไม่ออกไปนอกบ้านเป็นเวลาประมาณ 7 วันหลังวันเริ่มป่วย หรืออาจเร็วกว่า แต่ต้องหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
  • ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง
  • เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อย หรือน้ำธรรมดา เป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดลดไข้บริเวณหน้าผากซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัว และห่มผ้าให้อบอุ่นทันที
  • ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
  • พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้เพียงพอ
  • นอนพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก

การป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นในบ้าน

  • ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกบ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
  • รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม แล้วทิ้งทิชชูลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
  • เมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น ให้สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านประมาณ      1-2 เมตร
  • ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ต้องถอดหน้ากากอนามัยลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
ด้วยความปรารถนาดี รพ.วิภาวดี
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด