ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Industry Insight โรงพยาบาลเอกชน

Industry Insight โรงพยาบาลเอกชน HealthServ.net
Industry Insight โรงพยาบาลเอกชน ThumbMobile HealthServ.net

Industry Insight โรงพยาบาลเอกชน

Industry Insight โรงพยาบาลเอกชน
สิงหาคม 2563
 
ผู้วิเคราะห์ กันย์สินี ศิลปวาณิชย์
ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี
Email: Kansini.sil@tmbbank.com
 
บทสรุปผู้บริหาร
  • คาดรายได้โรงพยาบาลเอกชนปี 2563 ลดลงกว่า 9% จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงปี 2564-2565 ในอัตราเฉลี่ย 12% ต่อปี
  • คาด Medical Tourism จะกลับมาโตในปี 2564 เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะกลับมาในไทยหลังจากสถานการณ์การระบาดของCovid-19ในทั่วโลกคลี่คลาย โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับปี 2563
  • มีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับตัวเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ ได้แก่ การควบคุมราคา, การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษา, การรักษามาตรฐานโรงพยาบาล และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยต่างชาติที่ผ่านการคัดกรอง Covid-19 
 
เหตุการณ์/ประเด็นที่ต้องติดตาม
  • การเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทย หลังการระบาดของ Covid-19 คลี่คลายลง
  • วัคซีนป้องกัน Covid-19จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับตลาด
     
Medical tourism
  • กรมการค้าภายในออกมาตรการกำหนดเพดานราคายา และค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
  • กำไรสุทธิของโรงพยาบาลในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการในไตรมาส1/2563 ลดลงกว่า 68.5% ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้กลุ่มลูกค้าต่างชาติหายไป
 
ปัจจัยสนับสนุน
  • มาตรฐานโรงพยาบาลไทยอยู่ในระดับสากล
  •  การประกันสุขภาพเป็นที่นิยมมากขึ้น
  • การสร้างเครือข่ายระหว่างกันของ ร.พ. เอกชน ขนาดใหญ่
  • ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
  • ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคสำคัญมากขึ้น เช่น หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
 
ปัจจัยเสี่ยง
  • การแข่งขันรุนแรงจาก ร.พ. เอกชน ด้วยกันเอง รวมทั้ง ร.พ.ภาครัฐ ที่เปิดคลินิกนอกเวลามากขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
  • จำนวนคนไข้ลดลง จากอุบัติเหตุลดลง และคนหลีกเลี่ยงไปโรงพยาบาลหากไม่จำเป็น
  • จำนวน Medical Tourism ลดลงจากการการระบาดของ Covid-19
  • คู่แข่งด้าน Medical Hub จากประเทศอื่นสูงมากขึ้น
  • สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก
 
ตลาดในประเทศ
  • หลังจากการแพร่ระบาด Covid-19 ลดลง จำนวนผู้ป่วยจะกลับมาใกล้เคียงกับก่อนการระบาด เพราะผู้ป่วยยังคงต้องการรักษาพยาบาลเหมือนเดิม
  • อายุขัยของชาวไทยมีแนมโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ความต้องการรักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น
  • ตั้งแต่ปี 2551 อัตราการเกิดโรคสำคัญอย่าง ความดันโลหิตสูงเบาหวาน มะเร็ง ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  •  การรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นอาจจะชะลอตัวจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซา
  • ประชาชนมีประกันสุขภาพมากขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2558 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 9% และโรงพยาบาลเอกชนร่วมมือกับบริษัทประกันมากขึ้น
  • โรงพยาบาลหลายแห่งชะลอการลงทุนขนาดใหญ่ เนื่องจากรายได้ที่หดตัวในช่วงการระบาดของ Covid-19
  • การแข่งขันค่อนข้างสูง โดยคู่แข่งมีทั้งโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐที่เปิดคลินิกพิเศษ และนายทุนจากต่างประเทศ
 
ตลาดต่างประเทศ
  • คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาในช่วงปี 2564
  • รายได้จาก Medical Tourism ในปี 2561 เท่ากับ 3.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8% ของรายได้โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด โดยรายได้หลักมาจากชาวกัมพูชา จีน และลาว
  • ไทยมีจำนวนโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน JCI มากที่สุดเป็นอันดับ 2ของเอเชีย รองจากจีน
  • ต่างชาติมองว่าโรงพยาบาลในไทยได้รับมาตรฐานสากล และราคาสมเหตุสมผล รวมทั้งจัดการโรคระบาดได้ดี อาจทำให้ต่างชาติกลับมารับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นหลังการระบาดของ Covid-19
  • มีการแข่งขันด้าน Medical Tourism สูงขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซียที่ดึงลูกค้าชาวอินโดนีเซียไปมากขึ้น
 
TMB Analytics Views
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี มองว่าหลังการระบาดของ Covid-19 คลี่คลายลง ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจะกลับมาเติบโตได้เฉลี่ยปีละ 12% เหมือนกับช่วงก่อนการระบาด เนื่องจากมีปัจจัยหนุนทั้งจากคนไข้ภายในประเทศ และคนไข้ชาวต่างชาติ
  • การแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศค่อนข้างสูง ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจควรจะปรับตัว เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ดังนี้
 
  1. ควบคุมราคาให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากในปัจจุบันเศษฐกิจอยู่ในสภาวะซบเซา ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลลดลง
  2. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษา เช่น ใช้หุ่นยนต์ หรือใช้ Telemedicine มาช่วยในการตรวจรักษาผู้ป่วยทางไกลจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการรักษามากขึ้น สาหรับผู้ป่วยเคสติดตามผล
  3. รักษามาตรฐานของโรงพยาบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เข้าใช้บริการในประเทศและต่างประเทศ นอกจากจะสามารถรักษาฐานผู้ป่วยปัจจุบันได้แล้ว ยังสามารถดึงดูดผู้ป่วยใหม่และนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้มากขึ้น
  4. อำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยต่างชาติที่ผ่านการคัดกรอง Covid-19 แล้ว โดยโรงพยาบาลมีบริการประสานกับทางสถานทูตเพื่อนำผู้ป่วยต่างประเทศที่ประสงค์มาทาการรักษาที่ไทย พร้อมทั้งจัดหาสถานที่พักให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยในที่ได้รับความอนุญาตจากภาครัฐ เพื่อให้เกิดความสะดวกสำหรับผู้ป่วยต่างชาติ
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด