ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาหารสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

อาหารสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างไตทางหน้าท้อง จำเป็นต้องบริโภคพลังงานและโปรตีนให้เพียงพอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสูญเสียโปรตีนไประหว่างฟอกเลือดล้างไตประมาณ 1-2กรัม และ6-12กรัมต่อวัน ตามลำดับ ผู้ป่วยต้องรับประทานโปรตีนเพื่อชดเชยส่วนที่เสียไป โปรตีนเพิ่ม1.1-1.4กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องควรรับประทานโปรตีนและพลังงานให้เพียงพอ อาจจะทำให้ผู้ป่วยขาดโปรตีนและพลังงาน หรือ Protein Energy Wasting (PEW)ได้
ภาวะขาดโปรตีนและพลังงาน
กลไกลการเกิดภาวะ PEW นั้น เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย และต่อมไร้ท่อ การเพิ่มขึ้นของของเสีย การอักเสบของร่างกาย โรคร่วมเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ รวมถึงการฟอกเลือดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะ PEWได้ นอกจากจะทำให้อ่อนแรงแล้ว ยังส่งผลถึงดัชนีภาวะโภชนาการในเลือด เช่น Albumin , Pre - albumin และ cholesterol กล้ามเนื้อลดลง ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต การติดเชื้อทำให้ผุ้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง
รายงานจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่า ผู้ป่วยที่เข้าการบำบัดทดแทนไต ที่จำนวนภาวะ  PEW สูงถึงร้อยละ8-33เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ไม่ว่าจะเป็นวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตทางหน้าท้อง จำเป็นต้องรักษาภาวะกรด-ด่างในเลือดให้อยู่ในระดับเหมาะสม และที่สำคัญจะต้องรับประทานอาหารให้เพียงพอทั้งพลังงานและโปรตีน  โดยเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี จากเนื้อสัตว์ เช่น ไข่ขาว ปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ โปรตีน ที่ควรได้รับต่อวัน ไข่ขาว4-6ฟองต่อมื้อ หรือเนื้อสัตว์ ไขมัน มื้อละ4-6ช้อนโต๊ะ จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
โปรตีนอัลบูมิน โปรตีนอัลบูมินในเลือดมีความสำคัญต่อการป้องกันการบวนน้ำ สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ควรบริโภคให้เพียงพอ จึงจะเกิดประโยชน์
ฟอสฟอรัส พบมากในนมแลพผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง และเนื้อสัตว์บางชนิด ถ้าฟอรัสผิดปกติ จะส่งผลต่อกระดูกทำให้กระดูกเปราะบางหักง่าย และภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
กรดไขมันโอเมก้า3 เนื้อปลา ช่วยลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงจากหัวใจและหลอดเลือด ควรรับประทานปลาอย่างน้อย1มื้อต่อวัน ปริมาณ100กรัม เพิ่มได้รับโอเมก้า3
น้ำและของเหลว ชั่งน้ำหนักตอนเช้าทุกวัน น้ำหนักควร เพิ่มไม่เกิน0.5 กิโลกรัม/วัน ถ้าเพิ่ม1กิโลกรัม/วัน แสดงว่ามีภาวะ ต้องจำกัดน้ำ
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด